กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

พี่เลี้ยง จ.ปัตตานี ถอดบทเรียนการทำงานปี 60

by twoseadj @27 ก.ย. 60 11:13 ( IP : 223...188 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,179 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 98,713 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,622 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 94,179 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 70,318 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 125,990 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 185,695 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 173,067 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 121,185 bytes.

พี่เลี้ยง จ.ปัตตานี ถอดบทเรียนการทำงานสนับสนุนพื้นที่ กองทุนสุขภาพตำบล ปี 60 ที่ผ่าน และสะท้อนการทำงานร่วมปีต่อไป ณ ห้องขวัญจุฑา 1โรงแรมปาร์ควิว อ.เมืองปัตตานี จ.ปัตตานี ซึ่งกระบวนการประกอบด้วยการแบ่งกลุ่มของผู้ที่เกี่ยวข้องกับกองทุนสุขภาพตำบล เช่น ที่ปรึกษากองทุน ผอ.รพ.สต. เจ้าหน้าที่กองทุน ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพตำบล ผลการระดมความคิดเห็น ดังนี้

1.ประเด็น ก่อนมีระบบพี่เลี้ยง (coaching team)
- พี่เลี้ยงมีศักยภาพและความเข้าใจไม่เท่าเทียมกัน และมีอับดุลกอเดร์
- การใช้ระบบเอกสารอย่างเดียว
- กองทุนฯไม่ทราบระยะเวลาทำงานที่ชัดเจน - ไม่มีเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน
- ขาดศักยภาพของคณะกรรมการ เช่น ระเบียบ - ไม่มีแผนสุขภาพฯ
- ที่ปรึกษากองทุนฯ ไม่มาร่วมประชุม
- มีีปัญหาการบริหารกองทุนฯ โทร.ตรง เขต

**2.มีระบบพี่เลี้ยง (coaching team) **
- พี่เลี้ยงมีศักยภาพและความเข้าใจไม่เท่าเทียมกัน และมีอับดุลกอเดร์ แต่มีทีมผู้ช่วยมากขึ้น
- การเบิกเงินสนับสนุนกองทุนแก่พี่เลี้ยง 5,000 บาท พบว่า ยังไม่ได้รับและตรงกัน
- การใช้ระบบโปรแกรมออนไลน์ส่งผลให้เลขานุการกองทุนฯเข้าใจมากยิ่งขึ้น แต่บางแห่งไม่มีเจ้าหน้าที่โดยตรง หรือย้ายไป ส่งผลต่อการทำงาน
- พี่เลี้ยงสามารถลงสนับสนุนกองทุนและติดตามการทำงานของกองทุนฯได้เร็ว และสามารถกระตุ้นการทำงาน
- การจัดทำแผนสุขภาพต้องให้พี่เลี้ยง แต่การบริหารกองทุนฯในพื้นที่มีการแบ่งสัดส่วนงบประมาณเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่สอดคล้องกับสภาพปัญหาด้านสุขภาพของพื้นที่
- พี่เลี้ยง ยังไม่ลงสนับสนุนพื้นที่
- กองทุนสุขภาพตำบล ไม่ยอมรับพี่เลี้ยง

3.อนาคต ระบบพี่เลี้ยง (coaching team)
- มีระบบพี่เลี้ยงติดตาม กระตุ้น ควบคุมกำกับ แก่กองทุนสุขภาพตำบล
- มีระบบการประชุมร่วมกับคณะกรรมการกองทุนฯ ซึ่งสามารถเพิ่มเติม ส่วนขาดของคณะกรรมการ --->ออกแบบการทำงานให้สอดคล้องกับความต้องการ
- ต้องการให้มีระบบพี่เลี้ยงดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง
- จำนวนพี่เลี้ยงต่อคน ไม่ควรเกิน 3-4 แห่ง ต้องรับสมัครพี่เลี้ยงเพิ่มเติม
- สปสช.เขต 12 สงขลา ต้องออกแบบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เช่นใช้งบประมาณแก่ศูนย์ประสานงาน หรือ ใช้งบประมาณจากงบบริหารกองทุนฯ เช่น การจัดทำแผนสุขภาพ จัดทำโครงการ ระเบียบและประกาศฯ การใช้ระบบโปรแกรมออนไลน์ การให้คำปรึกษาฯ(coaching team) การประเมินผลแบบเสริมพลังฯ ถอดบทเรียน เป็นต้น
- ให้มีการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯอย่างต่อเนื่อง เพื่อสามารถให้คำปรึกษาที่ดี - ต้องการให้พี่เลี้ยงสนับสนุนการใช้โปรแกรม
- จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระดับอำเภอ
- ให้พี่เลี้ยงลงสนับสนุนฯ 2 ครั้ง/ปี
- ให้พี่เลี้ยงทำงานต่อเนื่อง 4-5 ปี
- ให้จังหวัดจัดประชุม workshop โดยพี่เลี้ยง จ.
- มีเว็บบอร์ด ถาม-ตอบในเว็บฯ - มีคำสั่งเป็นหนังสือแจ้งจากเขต ไปยังกองทุนสุุขภาพตำบล - องค์ประกอบของคณะทำงานพี่เลี้ยง ต้องประกอบด้วย ท้องถิ่นอำเภอ สาธารณสุขอำเภอ
- การประกวดกองทุนฯดีเด่น