กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

สสส.สตูล เปิดรับโครงการสร้างสุขภาวะ ปี 61

by twoseadj @5 ก.พ. 61 13:10 ( IP : 113...115 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
photo  , 921x517 pixel , 35,438 bytes.

หน่วยจัดการ จังหวัดสตูล สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) เปิดรับสมัครชุมชนจัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพขนาดเล็ก  ดำเนินงานใน 8 ประเด็น ได้แก่
1. การจัดการขยะ
2. การดูแลผู้สูงอายุ
3. เพิ่มการกินผัก ผลไม้ในโรงเรียน
4. การปลูกและบริโภคผักปลอดภัยในชุมชน
5. การจัดการจุดเสี่ยงอุบติเหตุจราจร
6. งานบุญปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
7. การลด ละ เลิกยาสูบโดยชุมชนเป็นฐาน
8. การเพิ่มกิจกรรมทางการด้วยศิลปวัฒนธรรม

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- พื้นที่รับทุนเป็นหมู่บ้าน และโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาฯ
- ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้อำนวยการโรงเรียน
- ดำเนินงานระยะเวลา 10 เดือน
- งบประมาณ 50,000  บาท
- หมดเขตรับใบสมัคร  20 กุมภาพันธุ์ 2561

กรุณาส่งใบสมัครมาที่  nodesatun@gmail.com (รับช่องทางเดียว)ภายในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ.261
ติดต่อสอบถาม : คุณหนุ่ย 091-4616837 คุณธิดา : 089-5999428  คุณเทศ : 089-2950297

Comment #1
Vorob (Not Member)
Posted @6 พ.ค. 62 21:31 ip : 213...71

นอกจากการแถลงข่าว “เก้าปี ก้าวหน้า” เพื่อสรุปผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา และผลงาน 9 ปี ของ “สถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ” โดย “ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล” ในฐานะประธานกรรมการสถาบันแล้ว ในงานดังกล่าวยังได้มีการจัดเสวนาในหัวข้อ “ประเทศไทยตามแนวพระราชดำริ” โดยมี “ดร.วิรไท สันติประภพ” ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย, “ดร.ปรเมธี วิมลศิริ” ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และ “ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา” ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ร่วมถอดรหัสปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

3 หลักการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

เบื้องต้น “ดร.วิรไท” กล่าวว่า ท่ามกลางปัญหาของประเทศทั้งเรื่องความเหลื่อมล้ำ หนี้ครัวเรือน ความสามารถในการแข่งขัน ปัญหาเรื่องการศึกษา และอื่น ๆ อีกหลากหลายปัญหา และถ้าหากมองลึกลงไป การหาทางออกมีหลากหลายวิธี แม้ว่าปัญหานั้นจะใหญ่มากน้อยเพียงใดก็ตาม อย่างการนำหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ตลอดจนแนวพระราชดำริเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้แก้ไขปัญหาของประเทศได้

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในมุมมองของผมไม่ใช่การประยุกต์ใช้กับนโยบายเศรษฐกิจในระดับมหภาค แต่ถือเป็นแกนหลักสำคัญ (core) เพราะปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย 3 ประเด็นหลัก คือ ความมีเหตุมีผล ความสมเหตุสมผล, การพอประมาณ และการสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่ง 3 เรื่องถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะตอบโจทย์การไขปัญหาในภาพใหญ่ของเศรษฐกิจฐานรากของไทยได้”

เรื่องความสมเหตุสมผลเป็นหลักที่สำคัญประการหนึ่งในการบริหารงานนโยบายเศรษฐกิจ สิ่งที่เราทำต้องมีเหตุผล มีหลักการที่ชัดเจน โดยเฉพาะนโยบายต่าง ๆ ที่มีทั้งผลดีผลเสียต่อคนหลากหลายกลุ่มต่างกัน จึงจำเป็นต้องใช้เหตุผลที่มองถึงผลรวมของประเทศไทย และประชาชน ที่จะได้รับประโยชน์จากนโยบายนั้น ๆ อีกทั้งความมีเหตุผลนี้ยังสอดคล้องกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ส่วนหลักที่สองนั้นเป็นเรื่องของความพอประมาณ ซึ่งในมุมของนักเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับเศรษฐกิจมหภาค จะมองถึงศักยภาพของระบบเศรษฐกิจ และการขยายตัวของเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับศักยภาพ ตรงนี้เปรียบเหมือนรถยนต์ที่วิ่งได้ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าเร่งเครื่องมากเกินไปและต่อเนื่องตลอดเวลา ไม่หยุด ก็จะทำให้เครื่องร้อน เช่นเดียวกับระบบเศรษฐกิจ ถ้าเร่งเกินไปจะทำให้เกิด over heat และมีผลข้างเคียงตามมา อาจจะทำให้เครื่องสะดุดลง ฉะนั้นแล้วเรื่องของความพอประมาณจึงถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของการบริหารเศรษฐกิจมหภาค

ส่วนสุดท้ายที่ถือเป็นอีกหนึ่งที่สำคัญสำหรับโลกในยุคปัจจุบัน คือ การสร้างภูมิคุ้มกัน เพราะโลกในวันข้างหน้าจะเป็นโลกที่ satang dee มาก ที่จะมีทั้งความผันผวน, ความไม่แน่นอน, ความสลับซับซ้อน และความคลุมเครือ ผลที่เกิดขึ้นจะไม่ชัดเจนเหมือนเดิม ฉะนั้นแล้วการสร้างภูมิคุ้มกันจึงเป็นเรื่องที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นในการบริหารเศรษฐกิจเชิงมหภาค โดยเฉพาะการสร้างกันชน ทั้งทุนสำรองระหว่างประเทศ ดุลบัญชีเดินสะพัด รวมถึงการกำจัดจุดเปราะบางภายในประเทศอย่างหนี้ครัวเรือน ซึ่งถ้าเราไม่มีการสร้างภูมิคุ้มกัน ก็จะไม่สามารถเอาตัวรอดจากสิ่งเปราะบางนี้ได้ เชื่อว่าหากนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแกนหลักในการบริหารเศรษฐกิจมหภาคแล้ว จะนำประเทศไปสู่ความยั่งยืนได้

Comment #2
Vorob (Not Member)
Posted @6 พ.ค. 62 21:33 ip : 213...71

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง