กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยไข้เลือดออก ม.9 (ชมรมส่งเสริมสุขภาพ บ้านหัวยาง)
รหัสโครงการ 60-L8402-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมส่งเสริมสุขภาพ บ้านหัวยาง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2559
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2559 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,545.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรมส่งเสริมสุขภาพ บ้านหัวยาง
พี่เลี้ยงโครงการ นางปรีดา เพชรสวัสดิ์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากยุงเป็านพาหะของโรค นอกจากเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น ไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อและแพร่กระจายได้รวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูฝน ซึ่งถ้าไม่มีการดูแลรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วแล้ว อาจจะทำให้ผู้ป่วยมีอันตรายรุนแรงถึงชีวิตได้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2559 ข้อมูลจากสำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่าจำนวนผู้ป่วย 26,564 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 40.60 คนต่อแสนประชากร จำนวนผู้ป่วยตาย 21 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย 0.08 คนต่อแสนประชากร โดยพบมากที่สุดในพื้นที่ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งมะขาม เขตรับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งมะขาม จำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 142.85 คนต่อแสนประชากร และยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีการควบคุม และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ประกอบกับโรคไข้เลือดออกเป็นอันตราย สามารถทำให้เสียชีวิตได้ รวมทั้งส่งผลทางสังคม ทางด้านเศรษฐกิจ และทางด้านจิตใจของประชาชน ชมรมส่งเสริมสุขภาพ หมู่ที่ 9 บ้านหัวยาง เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก หมู่ที่ 9 บ้านหัวยาง เพื่อลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ครัวเรือนในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.ทุ่งมะขาม ได้รับการพ่นหมอกควันกำจัดยุงลายทุกหลังคาเรือน

2 เพื่อลดอัตราการป่วยของโรคไข้เลือดออกในชุมชน

อัตราป่วยไข้เลือดออกลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 เมื่อเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี

3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยและผู้สงสัยป่วยได้รับการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกราย

4 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ค่าอัตราความชุกลูกน้ำยุงลายไม่เกินค่ามาตรฐาน (HI < 10, CI < 10)

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.เก็บรวบรวมข้อมูล ปัญหาไข้เลือดออก ในชุมชนและรอบชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียง 2.อบรมฟื้นฟูให้ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และแนวทางป้องกัน ควบคุมด้วยนวัตกรรมใหม่ให้แก่แกนนำในชุมชน จำนวน 30 คน ดังนี้ 2.1 ผู้นำชุมชน 2.2 กรรมการหมู่บ้าน 2.3 ข้าราชการบำนาญ 2.4 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) 2.5 อาสาสมัครสาธารณสุขตัวน้อย (เด็กๆในชุมชน) โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งมะขาม 3.รณรงค์ เผยแพร่ความรู้ โดยการประชาสัมพันธ์ทางสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ใบความรู้ แผ่นผับ ป้ายประชาสัมพันธ์ (ไวนิล) ในชุมชน และเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน 4.ประสานงานกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคูหาใต้ และ รพ.สต.ทุ่งมะขาม พ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย สอบสวนการระบาดของโรคไข้เลือดออก กรณีมีผู้ป่วยหรือผู้ป่วยสงสัย ในพื้นที่บ้านหัวยาง 5.จัดกิจกรรม Big Cleaning Day ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน ทุกวันเสาร์ 6.อบรมสาธิตนวัตกรรมการป้องกันยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยวิธีการ ดังนี้ 6.1 ตะไคร้หอมไล่ยุง 6.2 ปูนแดง น้ำขิง กำจัดลูกน้ำยุงลาย 6.3 ขวดพลาสติก กับดักยุงลาย 6.4 ผลมะกรูด (ใส่ในน้ำไล่ยุง) แทนการใช้สารเคมี 7. กิจกรรมรณรงค์เคาะประตูบ้านเพื่อตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดความร่วมมือของเครือข่ายสุขภาพในการดำเนินกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 3.ประชาชนมีความรู้ สามารถควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในครัวเรือนและชุมชนได้ 4.แหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนพื้นที่ ได้รับการควบคุมและกำจัดอย่างถูกต้อง 5.นักเรียน มีความรู้และสามารถดูแล ควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 11:17 น.