กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารสะอาด ปลอดภัยได้มาตรฐาน สู่รั้วตลาดซุ้มหลวงเสด็จ
รหัสโครงการ 60-L8402-2-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2
วันที่อนุมัติ 26 กรกฎาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิษฐา คงทอง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสุชีพ นาคสั่ว
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.173,100.263place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 108 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันได้มีการให้ความสำคัญเรื่องอาหารปลอดภัยมากขึ้น และได้มีการนำไปเป็นนโยบายสำคัญในระดับประเทศ เนื่องด้วย“อาหาร”เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญต่อการดำรงชีวิต การบริโภคอาหารเพื่อให้ร่างกายเจริญเติบโตและสามารถดำรงอยู่โดยปกติสุขดังนั้นการบริโภคอาหารจึงควรต้องพิจารณาด้านความสะอาด ปลอดภัย ปราศจากเชื้อโรคและการปนเปื้อน ด้วยอาหารอาจเป็นพาหะหรือตัวนำอันตรายที่เรามองไม่เห็นเข้าสู่ร่างกาย พิษภัยที่เกิดขึ้นอาจเป็นเพียงแค่คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย แล้วก็หายไปในระยะเวลาสั้นๆแต่บางกรณีอาจมีอาการรุนแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ หรืออาจเกิดการสะสมของสารพิษจนเกิดการเจ็บป่วยได้ในอนาคต ซึ่งการเจ็บป่วยแต่ละครั้งมีผลกระทบต่อร่างกายและเศรษฐกิจทั้งของรัฐและผู้ป่วย โดยรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆในการรักษาพยาบาล โรคระบบทางเดินอาหารอันเกิดจากอาหารเป็นพิษนั้นสามารถป้องกันได้ เนื่องจากสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารที่เป็นอันตราย ซึ่งหากรู้จักเลือกรับประทานอาหาร ก็สามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยได้ทางหนึ่ง ปัญหาความไม่ปลอดภัยจากการรับประทานอาหารเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจแบ่งได้ดังนี้ 1)การเกิดอาหารเป็นพิษเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ 2)การเกิดสารประกอบที่เป็นอันตรายจากการผลิตหรือปรุงอาหาร 3)การใช้วัตถุเจือปนอาหารผิดวัตถุประสงค์ หรือปริมาณไม่เหมาะสม ซึ่งหากได้มีการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ผู้ที่มีหน้าที่ในการจัดเตรียมและประกอบอาหาร การสร้างทัศนคติที่ดี และหากมีการตรวจประเมินร้านและแผงจำหน่ายอาหารอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถที่จะลดจำนวนและแก้ไขปัญหาการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหาร รวมถึงการยกระดับร้านและแผงจำหน่ายอาหารให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภค สะอาดถูกสุขลักษณะได้มาตรฐาน ทั้งยังเป็นการสร้างชื่อเสียงแก่ตำบล ดังนั้น เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคด้านอาหารให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการแผงจำหน่ายอาหาร พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานของร้านและแผงจำหน่ายอาหาร จึงต้องมีการให้ความรู้ สร้างทัศนคติ ปลูกฝั่งจิตสำนึกที่ดีแก่ผู้ประกอบการ รวมถึงพัฒนาแผงจำหน่ายอาหารในตลาดซุ้มหลวงเสด็จให้ถูกตามหลักสุขาภิบาล อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาข้างต้น อีกทั้งเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานแผงจำหน่ายอาหารในพื้นที่ตลาดซุ้มหลวงเสด็จให้มีคุณภาพ เกิดความปลอดภัยในการบริโภค และสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสุขภาพผู้บริโภคด้านอาหารให้ได้รับประทานอาหารที่ปลอดภัย

ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

90.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการแผงจำหน่ายอาหาร ในเขตพื้นที่ตลาดซุ้มหลวงเสด็จให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุรับประทานอาหารที่ปลอดภัยขาภิบาลอาหาร

ผู้ประกอบกิจการแผงจำหน่ายอาหารมีทัศนคติ (Attitude) ที่ดีในเรื่องสุขาภิบาลอาหารไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
3 เพื่อป้องกันและระงับโรคติดต่อระบบทางเดินอาหาร จากร้านและแผงจำหน่ายอาหาร ในเขตพื้นที่ตำบลคูหาใต้

มีการตรวจพบสารปนเปื้อน (Ecoli) ไม่เกินร้อยละ 10 ของตัวอย่างทั้งหมดที่ได้ดำเนินการสุ่มตรวจ

10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ 1.2 เขียนโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ
    1.3 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และแผ่นผับในการให้ความรู้
  2. ขั้นดำเนินการ
    2.1 จัดอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 เกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ชุดตรวจสารปนเปื้อน ปนเปื้อน (Ecoli) โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขัน
    2.2 ประสานงานผู้ประกอบการร้านอาหารในแผงจำหน่ายอาหาร เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการตรวจแผงจำหน่ายอาหาร 2.3 ลงพื้นที่สุ่มตรวจครั้งที่ 1 โดยการประเมินแผงจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมทั้งตรวจการปนเปื้อน (Ecoli) จากมือผู้สัมผัสอาหาร ภาชนะใส่อาหาร และภาชนะสัมผัสอาหาร เพื่อตรวจสอบ Ecoli โดยทีมประเมินประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขันและเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลคูหาใต้ 2.4 แจกแผ่นผับเกี่ยวกับสุขาภิบาลอาหาร 2.5 ลงพื้นที่สุ่มตรวจครั้งที่ 2 โดยการประเมินแผงจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์มาตรฐาน พร้อมทั้งตรวจการปนเปื้อน (Ecoli) จากมือผู้สัมผัสอาหาร ภาชนะใส่อาหาร และภาชนะสัมผัสอาหาร เพื่อตรวจสอบ Ecoli โดยทีมประเมินประกอบด้วย อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ที่ 2 เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนขันและเจ้าหน้าที่จากเทศบาลตำบลคูหาใต้
  3. ขั้นประเมินผล 3.1 สรุปปัญหาและหาแนวทางแก้ไข 3.2 สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ และประเมินผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบกิจการแผงจำหน่ายอาหารมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร
  2. ผู้ประกอบกิจการแผงจำหน่ายอาหารมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องสุขาภิบาลอาหาร
  3. ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย การเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินอาหารลดลง และไม่ผู้ป่วยด้วยโรคอุจจาระร่วงอย่างแรง และอหิวาตกโรค ที่เกิดจากการได้รับเชื้อในพื้นที่ตำบลคูหาใต้
  4. ผู้บริโภคมีความมั่นใจในการบริโภคอาหารในร้านที่ผ่านเกณฑ์ และสร้างชื่อเสียงแก่ตำบลคูหาใต้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2560 16:54 น.