กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงปี(รพ.สต.บ้านทุ่งยาว)
รหัสโครงการ 2561-L3351-01-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนกกลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนา คงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๑ มีความต่อเนื่องจากแนวคิดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๘ – ๑๐โดยยังคงยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และ “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” และ“สร้างสมดุลการพัฒนา” ในทุกมิติ แต่การประยุกต์ใช้แนวคิดดังกล่าว และสร้างความมั่นใจว่าการพัฒนาจะเป็นไปในแนวทางที่ยั่งยืนและสร้างความสุขให้กับคนไทย ซึ่งตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๑-๒๕๕๔)ได้ให้ความสำคัญกับการบริโภคที่ไม่เหมาะสมขาดการออกกำลังกายนำไปสู่การเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยกำหนดเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพคนว่า“ลดอัตราเพิ่มของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้๕อันดับแรกคือโรคหัวใจความดันโลหิตสูงเบาหวานมะเร็งและหลอดเลือดในสมองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลิตภาพแรงงานและลดรายจ่ายด้านสาธารณสุข”เนื่องจากมีปัจจัยสาเหตุครอบคลุมทั้งเรื่องของพฤติกรรมบริโภคปัจจัยเสี่ยงจากสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตซึ่งโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานก็เป็นปัญหาสุขภาพที่ประชาชนไทยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมเช่นการบริโภคอาหารที่ไม่เป็นประโยชน์ขาดการออกกำลังกายโดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวเองว่ามีความผิดปกติหรือเป็นโรคแล้วไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสมจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเกิดเสียชีวิตฉับพลันหรืออาจเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้เช่นโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกโรคไตวายและตาบอด


มีข้อมูลยืนยันว่าโรคเหล่านี้เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆทั้งสุขภาพเศรษฐกิจและสังคมในปี๒๕๕๐มีการวัดความดันโลหิตประชาชนไทยอายุ๔๐ ปีขึ้นไปจำนวน๒๐.๗ล้านคนพบว่ามีความดันโลหิตผิดปกติ๒.๔ล้านคน (๑๑ % )ซึ่งจะทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจร้อยละ๒๕และโรคหลอดเลือดสมองตีบและแตกร้อยละ๔๐โดยที่ประชาชนจำนวนมากไม่รู้ตัวว่าตนเองมีความผิดปกติจะทราบก็ต่อเมื่อเกิดผลแทรกซ้อนขึ้นแล้วซึ่งอาจเสียชีวิตฉับพลันหรือเกิดความพิการที่ไม่อาจแก้ไขได้ โรคเบาหวานก็เช่นเดียวกันเนื่องจากภาวะทุพโภชนาการโดยเฉพาะในแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่อหลายสิบปีก่อนและพฤติกรรมการบริโภครวมถึงการขาดออกกำลังกายทำให้คนไทยป่วยด้วยโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้นในปีพ.ศ.๒๕๕๑มีผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จำนวน๓๓๘,๕๕๑รายเสียชีวิต๗,๗๒๕รายคาดว่าทั่วประเทศจะมีผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานประมาณ๓ ล้านคนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆผู้ป่วยร้อยละ๕๐และไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาที่เหมาะสมจึงมีความเสี่ยงเกิดปัญหาแทรกซ้อน ปัญหาดังกล่าวข้างต้นเป็นปัญหาของสถานีอนามัยบ้านทุ่งยาวดังนั้นจึงจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรคเบาหวานและคามดันโลหิตสูงเพื่อตอบสนองการแก้ปัญหาดังกล่าวต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจคัดกรองซ้ำทุกคน

กลุ่มเสี่ยงจากการคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและตรวจคัดกรองซ้ำทุกคน

2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองซ้ำแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ต้องส่งตัวรักษาต่อได้รับการส่งตัวรักษาต่อทุกคน

กลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและคัดกรองซ้ำแล้วยังอยู่ในเกณฑ์ต้องส่งตัวรักษาต่อได้รับการส่งตัวรักษาต่อทุกคน

3 เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ ๗ โรคเบาหวานไม่เกินร้อยร้อยละ ๓

อัตราป่วยรายใหม่ด้วยโรคความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ ๗โรคเบาหวานไม่เกินร้อยร้อยละ ๓

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,500.00 1 19,500.00
26 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้ 0 19,500.00 19,500.00

1.ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ กลุ่มเสี่ยง 2.บริการตรวจคัดกรองซ้ำกับกลุ่มเสี่ยงหลังจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมฯ 3.ส่งตัวรักษาต่อกับกลุ่มเสี่ยงที่ตรวจคัดกรองซ้ำซึ่งผลการตรวจคัดกรองยังเสี่ยงพบแพทย์ที่ศูนย์แพทย์ชุมชนหรือโรงพยาบาลแม่ข่าย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและไม่เกิดโรคความดันโลหิตสูงโรคเบาหวานและมีสุขภาพดีอัตราป่วยด้วยโรคเรื้อรังลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:32 น.