กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว)
รหัสโครงการ 2561-L3351-02-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 14 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 มกราคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 21,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดิษฐ์ อินไหม
พี่เลี้ยงโครงการ นางลัญฉนา คงสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.615,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 59 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) โรคไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญระดับประเทศ กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดให้เป็นโรคที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ จากรายงานการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงพบว่า (มกราคม – ธันวาคม๒๕๕๓)จังหวัดพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ต้นๆของประเทศและอำเภอเมืองพัทลุงมีอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นอันดับที่ ๒ของจังหวัดพัทลุงมีจำนวนผู้ป่วย ๒๔๒รายโดยพบผู้ป่วยมากที่ตำบลพญาขันควนมะพร้าวเขาเจียกลำปำชัยบุรีท่ามิหรำส่วนตำบลโคกชะงายมีผู้ป่วยจำนวน๑๐รายคิดเป็นอัตราป่วย๓๗๑.๔๗ /๑๐๐,๐๐๐ประชากร สำหรับในพื้นที่รับผิดชอบของหมู่ที่ ๑,๗,๙ตำบลโคกชะงายมีรายงานผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกในปี๒๕๕๗จำนวน ๗ ราย คิดเป็นอัตราป่วย๒๖๖.๒๖ต่อแสนประชากร ปี ๒๕๕๘ จำนวน ๕ ราย คิดเป็นอัตราป่วย ๑๙๐.๔๐ ต่อแสนประชากร ปี๒๕๕๙มีผู้ป่วย๔รายคิดเป็นอัตราป่วย๑๕๒.๓๒ต่อแสนประชากรไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต (ข้อมูลระบาดวิทยาสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองพัทลุง) ขณะที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุงกำหนดเป้าหมายอัตราป่วย๘๐ ต่อแสนประชากรจากการศึกษาการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก๓ปีย้อนหลังคาดว่าในปี ๒๕๕๖มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกขึ้นมาอีกดังนั้นในการควบคุมโรคไข้เลือดออกให้หยุดการระบาดได้นั้นต้องรณรงค์ให้ประชาชนในพื้นที่เกิดความตระหนักตื่นตัวต้องตรวจสอบค้นหาแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในบริเวณบ้านของตนเองต้องช่วยกันรับผิดชอบตัวเองครอบครัวและชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนหนาแน่น แหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมักพบภายในบ้านหรือบริเวณบ้าน และเป็นภาชนะที่มีน้ำขังได้ เช่น อ่างน้ำ โอ่งน้ำ แจกัน ยางรถยนต์จานรองขาตู้กับข้าว ฯลฯ ซึ่งการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ ต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทั่วไป องค์กรท้องถิ่นผู้นำชุมชนและประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือป้องกันไม่ให้ยุงกัดเพราะเนื่องจากยุงลายสวนสามารถนำโรคไข้เลือดออกได้ด้วยซึ่งสามารถป้องกันได้โดยทายากันยุงหรือสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด ดังนั้นเพื่อให้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค สถานีอนามัยบ้านทุ่งยาวร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นจึงรวมพลังกันรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อหยุดยั้งการระบาดของโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 .เพื่อให้ทุกหลังคาเรือนมีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

ร้อยละของหลังคาเรือนมีการที่มีการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย

2 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และมี ส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

ร้อยละของประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และมี ส่วนร่วมในการแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกในชุมชน

3 เพื่อลดอัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายต่อหลังคาเรือน ไม่เกิน ๑๐

ค่า CI ไม่เกิน 10

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,400.00 1 21,400.00
25 มิ.ย. 61 รณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 21,400.00 21,400.00

1.ประสานงานกับองค์กรกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านองค์กรสุขภาพภาคประชาชน 2.จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร่วมกับองค์กรสุขภาพภาคประชาชนองค์กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านโดยแจกทรายอะเบทสำรวจและทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายรถประชาสัมพันธ์ 3.เผยแพร่ความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกทางหอกระจายข่าวต่อเนื่อง
4.ตรวจประเมินลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ประเมินระหว่างตำบล

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.อัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ประชาชนส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรกำนัน/ผู้ใหญ่บ้านมีส่วนร่วมในการดำเนินป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนตลอดถึงประชาชนสามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ต.ค. 2560 15:39 น.