กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออก หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอนอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
รหัสโครงการ 61-L5221-2-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางดารา ช่วยเรือง
พี่เลี้ยงโครงการ อบต.ท่าบอน
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.842,100.342place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2561 31 ม.ค. 2561 12,700.00
2 1 ก.พ. 2561 28 ก.พ. 2561 3,000.00
3 5 ม.ค. 2561 30 ก.ย. 2561 3,500.00
รวมงบประมาณ 19,200.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี โดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดเว้น2ปี สถานการณ์ระบาดของโรคไข้เลือดออกอาจมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้ในทุกพื้นที่ ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศมานานแล้ว โดยมียุงลายเป็นพาหะ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุข ณ 31 ธันวาคม 2560 พบว่ามีผู้ป่วยโรคติดต่อไข้เลือดออกทั้งหมด 51,583 คิดเป็นอัตราป่วย 78.84 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกจำนวน 60 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชากร การกระจายการเกิดโรคไข้เลือดออกรายภาค พบว่าภาคใต้มีอัตราป่วยสูงเป็นอันดับที่ 1 ของประเทศ เท่ากับ 12,464 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 134.75 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 26 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.21 และจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงสุดของภาคใต้ จำนวน 2,988 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 212.53 ต่อประชากรแสนคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 5 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.17 ในส่วนของอำเภอระโนดพบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 75 คน คิดเป็นอัตราป่วยร้อยละ 126.16ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต และตำบลท่าบอน, ตำบลบ้านขาว, ตำบลระโนด, ตำบลระวะ, ตำบลบ้านใหม่, ตำบลวัดสน, ตำบลแดนสงวน, อัตราป่วยเท่ากับ 191.5 , 172.71 , 170.11 , 134.32 , 125.5 , 109.34 , 89.68 , 63.32, 46.26 , 40.31 , 36.46 , ต่อแสนประชากร ตามลำดับ อาชีพที่มีจำนวนผู้ป่วยสูงสุดคือนักเรียน จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 30 ราย กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 25 - 34 ปี จำนวนผู้ป่วยเท่ากับ 17 ราย
จากสถิติของฝ่ายควบคุมโรคติดต่อคลินิกใกล้ใจ โรงพยาบาลระโนด พบว่า ตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา เป็นตำบลหนึ่งที่พบผู้ป่วยทุกปี จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ พบว่า ตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งหมด 11 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 130.56 ต่อประชากรแสนคน ซึ้งสูงกว่าค่า Median ย้อนหลัง 5 ปี ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต หมู่บ้านที่มีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนสูงสุดคือหมู่ที่ 3 บ้านท่าบอน 3 ราย รองลงมาคือ หมู่ที่ 7 บ้านขี้นาก จำนวน 2 ราย , หมู่ที่ 4 บ้านศาลาหลวงบน จำนวน 2 ราย , หมู่ที่ 10 บ้านมาบปรือ จำนวน 2 ราย ,หมู่ 2 บ้านอู่ตะเภา จำนวน 1 ราย และ หมู่ที่ 1 บ้านรับแพรก จำนวน 1 ราย ตามลำดับ ในส่วนของ หมู่ที่ 5 บ้านหัวคุ้ง , หมู่ที่ 8 บ้านคลองเป็ด , หมู่ที่ 6 บ้านศาลาหลวงล่าง และ หมู่ที่ 9 บ้านมาบบัว ยังไม่พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และจาการสำรวจลูกน้ำยุงลายในพื้นที่เดือนตั้งแต่เดือน มกราคม – ธันวาคม 2560 หมู่ที่ 1 และ หมู่ที่ 2 ตำบลท่าบอน จำนวน 500 หลังคาเรือน ยังพบมีค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุง HI = 10.16 , CI = 0 จากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกข้างต้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน จึงคิดแนวทางในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยกิจกรรม5 สเป็นกลยุทธ์อีกวิธีหนึ่งที่เน้นให้ประชาชนในชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพชุมชนกิจกรรมที่ทำแล้วเห็นผลเร็วและชัดเจนจึงมีแนวคิดที่จะมีการดำเนินกิจกรรม 5 สได้แก่สะสางสะดวกสะอาดสุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น ลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ โดยอาศัยความร่วมมือประชาชน องค์กร หน่วยงานต่างๆ ดังนั้นทางชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลท่าบอน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุง มุ่งป้องกันไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออกต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยความร่วมมือของประชาชนในชุมชน และทุกภาคส่วน

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน และบริเวณบ้าน (ค่า HI < 10 , CI = 0)

500.00
2 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,500.00 1 6,500.00
5 ม.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561 0 3,500.00 6,500.00
22 ก.พ. 61 จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น รถโมบายเคลื่อนที่ แผ่นพับโรคไข้เลือดออก ป้ายประชาสัมพันธ์ 0 3,000.00 -

วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชมรมพัฒนาสุขภาพตำบลระโนดเพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 2. เขียนโครงการเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอนเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เจ้าหน้าที่ ทีมSRRT อสม.แกนนำชุมชน. 4. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานตามโครงการ ขั้นดำเนินการ 1. จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกและกำจัดแหล่ะเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย แก่ ทีม SRRT/แกนนำชุมชน/นักเรียน/ประชาชนที่สนใจ จำนวน 100 คน
2. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น รถโมบายเคลื่อนที่ แผ่นพับโรคไข้เลือดออก ป้ายประชาสัมพันธ์ 3. สำรวจค่าดัชนีความชุกของลูกน้ำยุงลายสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน 2561
ขั้นสรุปโครงการ ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการให้องค์การบริหารส่วน ตำบลท่าบอน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้านชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
  2. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. สามารถเฝ้าระวังและควบคุมโรคในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2560 15:57 น.