กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบริการสุขภาพชาวหาดใหญ่ ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
รหัสโครงการ 61-L7258-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุข
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 ธันวาคม 2560 - 14 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 154,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอาบทิพย์ ตันติมา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.01,100.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจข้อมูล Health Data Center ย้อนหลัง๓ ปี (พ.ศ. ๒๕๕๘ – พ.ศ. ๒๕๖๐) พบว่า ประชาชนในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ มีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคเรื้อรังที่สำคัญ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้แก่โรคความดันโลหิตสูงมีอัตราป่วยรายใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘พ.ศ. ๒๕๕๙และ พ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน๖๐๐, ๖๒๓ และ ๗๖๙ รายตามลำดับ โรคเบาหวานมีอัตราป่วยรายใหม่พ.ศ. ๒๕๕๘พ.ศ. ๒๕๕๙และพ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน๓๐๙, ๒๓๖ และ ๓๐๗ รายตามลำดับและโรคหัวใจและหลอดเลือดมีอัตราป่วยรายใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘พ.ศ. ๒๕๕๙และพ.ศ. ๒๕๖๐ จำนวน ๒๑, ๔๒ และ ๑๑๘ รายตามลำดับซึ่งการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นผลจากวิถีการดำเนินชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหลายอย่าง เช่นการรับประทาน หวาน มัน เค็ม ที่มีรสจัดการขาดการออกกำลังกายความเครียดสะสมในการทำงาน ความเครียดจากวิถีชีวิตคนในเมืองการสูบบุหรี่และการดื่มสุราที่มากเกินขนาด การป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในประชาชนจึงมีความสำคัญและจำเป็นยิ่ง โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีความเสี่ยงที่โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งประชาชนกลุ่มนี้หากไม่ได้รับความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมการใช้ชีวิตทั้งด้านกายและจิตใจ อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังหรือโรคอื่นๆตามมา เมื่อเป็นโรคเรื้อรังแล้วผลกระทบจะเกิดขึ้นทั้งตนเองและครอบครัว การดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนไป ต้องเข้าโรงพยาบาลบ่อยๆ ทำให้คุณภาพชีวิตจะลดลง เวลา และรายได้ลดลง ในด้านงบประมาณของประเทศจะต้องมีผลต่อความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในด้านการแพทย์มากขึ้น การส่งเสริมและการป้องกันการเกิดโรคโดยการให้ความรู้ด้านสุขภาพแบบองค์รวมแก่กลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงจึงเป็นความสำคัญในการแก้ปัญหาที่แท้จริง ประชาชนได้รู้เท่าทันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สามารถป้องกันตนเองให้ห่างไกลโรคเรื้อรังได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้
ศูนย์บริการสาธารณสุขหาดใหญ่ชีวาสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว มีแนวคิดบูรณาการองค์ความรู้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม โดยเน้นการให้ความรู้ด้านแพทย์แผนไทย การพยาบาล วิทยาศาสตร์การกีฬา โภชนาการและกายภาพบำบัด เพื่อป้องกันและลดสภาวะเสี่ยงจากอุบัติการณ์ของผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรวมทั้งส่งเสริมการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีเพื่อที่จะสามารถดูแลตัวเองและบุคคลในครอบครัวได้อย่างเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพตนเองทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจร้อยละ ๘๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 154,000.00 7 151,750.00
1.สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จากฐานข้อมูล Health Data Center ของสาธารณสุขจังหวัดสงขลา 0 0.00 0.00
2.ประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน 4 เขต 0 3,000.00 3,000.00
ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านคณะกรรมการชุมชนเทศบาลนครหาดใหญ่ 0 0.00 0.00
4.จัดกิจกรรมโครงการ 0 148,000.00 147,250.00
5.ประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน 4 เขต 0 1,500.00 1,500.00
5.ติดตามผลการดำเนินโครงการ 0 0.00 0.00
สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ 0 1,500.00 0.00

ขั้นตอนและวิธีดำเนินงาน ๑. สำรวจข้อมูลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อประเมินปัญหาสุขภาพของประชาชนชาวหาดใหญ่ ๒. เขียนโครงการ ๓. เสนอโครงการเพื่อขอรับงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่เพื่อรอการอนุมัติ ๔. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๕. ประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน ๔เขตครั้งที่๑( ชี้แจงโครงการขอความร่วมมือในการหากลุ่มเป้าหมาย) ๖. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านคณะกรรมการชุมชนแก่กลุ่มเป้าหมาย ๗. ประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน ๔เขตครั้งที่๒(รวบรวมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ชี้แจงการดำเนินงานในโครงการ รับทราบปัญหา ข้อเสนอแนะ หาแนวทางการการดำเนินงานและการแก้ปัญหาร่วมกัน ) ๘. แผนดำเนินงาน โดยทำกิจกรรม ๑๒ ครั้ง ครั้งละ ๓๐ คน ในการดำเนินการให้ความรู้ จะแบ่งเป็น ๕หัวข้อ ประกอบด้วย - บรรยายความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อ - บรรยายความรู้เรื่องโภชนาการ - บรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง อารมณ์และสมาธิ - บรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การแพทย์แผนไทยช่วยอย่างไรให้ห่างไกลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
- บรรยายและฝึกปฏิบัติ เรื่อง การออกกำลังกาย ๙. ทำแบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลังบรรยาย และทำแบบประเมินความพึงพอใจ
๑๐. ประชุมร่วมกับตัวแทนคณะกรรมการชุมชน ๔เขตครั้งที่๓( นำเสนอผลการทำโครงการ ปัญหาอุปสรรค หาแนวทางการทำงานร่วมกันในการทำกิจกรรมครั้งต่อไป ) ๑๐. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ ๑๑. รายละเอียดกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย
งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน ๑๕๔,๐๐๐ บาท

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ม.ค. 2561 14:49 น.