กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการทันตกรรมเชิงรุก SMART Children ประจำปีการศึกษา 2561
รหัสโครงการ 61-L5282-3-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ
วันที่อนุมัติ 18 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 18,840.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายศักดิ์ตะวัน สันเกาะ
พี่เลี้ยงโครงการ ผู้ช่วยเลขานุการกองทุนหลักประกันสุขภาพ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอุใดเจริญ อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.903,99.932place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 225 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ได้ดำเนินงานร่วมกับโรงพยาบาลควนกาหลง ในการดำเนินงานโครงการ “รอยยิ้มสดใส เด็กอุใดฟันดี” เป็นประจำทุกปี และในปี 2561 นี้ เป็นปีที่ 5 สำหรับการดำเนินงานโครงการ ตลอดระยะ 4 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่ปี 2557 - 2560) พบว่าเด็กปฐมวัยมีภาวะฟันน้ำนมผุ จำเป็นต้องได้รับบริการด้าน ทันตกรรมอย่างเร่งด่วน เพื่อป้องกันการผุลุกลาม ประกอบกับผลสำรวจของกลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลควนกาหลง ในปี พ.ศ. 2560 ในภาพรวมของอำเภอควนกาหลง พบว่า เด็กเริ่มมีฟันผุตั้งแต่ฟันน้ำนมเริ่มขึ้น โดยกลุ่มเด็กอายุ 18 เดือน (1.5 ปี) พบฟันผุร้อยละ 19.44 (ปราศจากฟันผุร้อยละ 80.56) และเมื่อเด็กอายุ 3 ปี ผลการสำรวจ พบว่า การผุของฟันเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 67.43 (ปราศจากฟันผุร้อยละ 32.57) สำหรับในพื้นที่ตำบลอุใดเจริญพบฟันผุในเด็กอายุ 3 ปี ร้อยละ 51.52 (ปราศจากฟันผุร้อยละ 48.48) สำหรับโรงพยาบาลควนกาหลง ได้รับการจัดสรรงบประมาณในการให้บริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัยในอำเภอควนกาหลงเป็นประจำทุกปี แต่มีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ ปกติจะออกให้บริการทันตกรรมสำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เพียงปีละ 1 แห่งเท่านั้น ซึ่งในพื้นที่อำเภอควนกาหลงมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด อปท. รวมทั้งสิ้น 22 แห่ง จำแนกเป็น 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลทุ่งนุ้ยจำนวน7แห่ง 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลควนกาหลงจำนวน10แห่ง 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตตำบลอุใดเจริญจำนวน5แห่ง

ทำให้การเข้าถึงบริการทันตกรรมไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ ดังนั้น เพื่อให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ มีอัตราการผุของฟันลดลงอย่างต่อเนื่อง กองการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม และกลุ่มงาน ทันตกรรม โรงพยาบาลควนกาหลง จึงประสานความร่วมมือกันเพื่อดำเนินงานโครงการทันตกรรมเชิงรุก SMART Children ประจำปีการศึกษา 2561 ขึ้น เพื่อมิให้เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีภาวะการผุของฟันลุกลามจนทำให้เกิดเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อพัฒนาการ และสุขภาพช่องปากของเด็ก โดยจะเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2561
เป็นปีแรกและจะดำเนินการเสนอโครงการต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี สำหรับการบูรณะฟันในเด็กปฐมวัย จะใช้เทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื่อใช้ในการบูรณะฟันกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการรักษาแบบปกติได้ โดยทันตบุคลากรไม่ต้องได้รับการฝึกฝนมากนัก เป็นลักษณะของการให้บริการทันตกรรม เชิงรุกสามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคดังกล่าวนี้ ได้มีการพัฒนาวัสดุ ทางทันตกรรมที่ชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดีมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูง ซึ่งฟลูออไรด์ที่ปลดปล่อยออกมาก็มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดฟันผุหรือป้องการเกิดฟันผุซ้ำ ซึ่งเรียกว่า วิธีอุดฟันอย่างง่าย SMART (Simplified Modified Atraumatic Restoration Technique)

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อบริการทันตกรรมให้แก่เด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาสุขภาพฟัน ได้รับบริการทางทันตกรรม

225.00
2 เพื่อหยุดการลุกลามของภาวะฟันผุ ในเด็กปฐมวัย

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยได้รับบริการอุดฟันเพื่อ ยับยั้งการลุกลาม

225.00
3 เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยมีสุขภาพช่องปากที่ดีมีพัฒนาการเป็นไปตามช่วงอายุ

225.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,340.00 2 18,840.00
1 ก.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมตรวจฟันเด็กปฐมวัย 0 14,600.00 14,600.00
1 ก.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมให้บริการทันตกรรมแก่เด็กปฐมวัย 0 4,740.00 4,240.00
  1. เสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ พิจารณาอนุมัติโครงการ
  2. จัดทำหนังสือ เรียน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลควนกาหลง เพื่อเสนอขอลงนามบันทึกข้อตกลง (Memorandum of Understanding : MOU) ในการดำเนินงานโครงการ “บูรณะฟันเชิงรุกในเด็กปฐมวัย” ประจำปีการศึกษา 2561
  3. เสนอขออนุมัติดำเนินงานโครงการตามแผนงานที่ได้รับอนุมัติตามข้อ 1
  4. จัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์เพื่อใช้ในการดำเนินงานโครงการ
  5. ประสานงานกับทันตบุคลากรของโรงพยาบาลควนกาหลง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอุใดเจริญ กำหนดวันเวลาในการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมตามโครงการทันตกรรมเชิงรุก SMART Children ประจำปีการศึกษา 2561
  6. เก็บรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานโครงการ สรุปผลและรายงานผลการดำเนินงานโครงการพร้อมเอกสารเบิกจ่ายงบประมาณตามโครงการ เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบล อุใดเจริญ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ จะได้รับบริการทันตกรรม ได้แก่ การเคลือบหลุมร่องฟัน การอุดฟันด้วยวิธี SMART
  2. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ ที่มีภาวะฟันผุที่สามารถอุดได้จะได้รับบริการอุดฟันทุกคน
  3. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลอุใดเจริญ จะมีสุขภาพช่องปากที่ดีไม่เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มี.ค. 2561 09:59 น.