กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการประชารัฐควนขนุนร่วมใจ ปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน
รหัสโครงการ 61-L7573-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุน
วันที่อนุมัติ 16 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก จันทร์เหมือน
พี่เลี้ยงโครงการ นายไพฑูรย์ ทองสม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.756,100.003place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 18 ก.ย. 2561 18 ก.ย. 2561 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 25 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)
16.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การบาดเจ็บเป็นที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วย เสียชีวิต พิการและก่อความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมทั่วทุกแห่งในโลก โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน องค์การอนามัยโลกประมาณการว่าในแต่ละวันจะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากกว่า 3,000 คน คาดการณ์ว่าระหว่าง พ.ศ. 2543-2563 ประเทศที่มีรายได้สูงจะมีการเสียชีวิตจากการจราจรลดลงประมาณร้อยละ 30 แต่จะมีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเพิ่มขึ้นอย่างมากในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ถ้าปราศจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สำหรับประเทศไทย องค์การอนามัยโลกรายงานความปลอดภัยทางถนนของโลก (Global status Report on Road Safety,2015) รายงานข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของโลก พศ.2556 จากการสำรวจ 180 ประเทศทั่วโลก พบว่าในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ อุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้น คิดเป็นอัตรา 17.3 ต่อประชากรแสนคน โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอัตราตายเป็นอันดับหนึ่งในภูมิภาคนี้ และจากรายงานดังกล่าว ได้ประมาณว่าประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 ของโลก อัตราการตาย 36.2 รายต่อแสนประชากร (ประมาณ 24,237 คน)และประเทศไทยยังเป็นอันดับ 1 ของเอเซียและอาเซียน ที่มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด และในปีงบประมาณ 2560 ที่ผ่านมา จากข้อมูลมรณะบัตร พบว่าอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนอยู่ที่ 19.21 ต่อประชากรแสนคน ประเทศไทยมีกำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน คือ การลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้ได้ไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคน ภายในพ.ศ. 2563 โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานอุบัติเหตุทางถนน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศ และสอดคล้องเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Coal หรือ SDGs) จำนวน 17 เป้าหมาย ซึ่งในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย ข้อ 3.6 ลดอัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนนให้ได้ครึ่งหนึ่งภายในปี 2563 การกำหนดให้ลดจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจากการจราจรทางถนนถือว่าเป็นก้าวครั้งสำคัญต่อประเด็นความปลอดภัยทางถนน สะท้อนให้เห็นถึงการยอมรับมากขึ้นว่าการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุการจราจรทางถนน เป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของการเสียชีวิตของคนทั่วโลก สำหรับในปีงบประมาณ 2561 กระทรวงสาธารณสุข กำหนดเป้าหมายในการดำเนินงานอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 16 ต่อประชากรแสนคน ส่วนเป้าหมายในระดับเขตและจังหวัดให้ลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงร้อยละ 21 จากฐานข้อมูลมรณะบัตรปี พ.ศ.2553-2555 โดยคำนวณค่ามัธยฐาน 3 ปี กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดแนวทางในการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ใน 4 มาตรการหลัก แต่จะมุ่งเน้นในประเด็นที่สำคัญ 2 ส่วน ที่สามารถวัดและติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1)การขับเคลื่อนการจัดการข้อมูลให้มีความต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา ได้แก่ is online และการบูรณาการข้อมูล 3 ฐาน ในจังหวัด ซึ่งมีความก้าวหน้าไปมากในหลายจังหวัด 2)ขยับการป้องกันไปที่เข้มข้นในระดับอำเภอชุมชนมากขึ้น ได้แก่ อำเภอ (สสอ./รพช.คปสอ.) เป็นเลขาร่วมใน คปถ. อำเภอ และบูรณาการขับเคลื่อนภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ./ ซDistrict Health Board):DHB) และมีกระบวนการทำงานทั้งเชิงผลผลิตและเชิงคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรมภายใต้โครงการ D-RTI (District-Road Traffic Injury) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในระดับอำเภอที่ครอบคลุมทุกประเด็น ทั้งการจัดการข้อมูล การบูรณาการทีมสหสาขา การขับเคลื่อนในระดับชุมชน การจัดการจุดเสี่ยง มาตรการชุมชน มาตรการองค์กร พร้อมทั้งมีการติดตามประเมินผลในระดับอำเภอ/ตำบล ในปี 2561 จังหวัดพัทลุง เป็น 1 ใน 48 จังหวัดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เป็น 1 ใน 4 จังหวัดของเขตบริการสุขภาพที่ 12 (นราธิวาส สงขลา ตรัง พัทลุง) และอำเภอควนขนุน กับอำเภอเมือง เป็นพื้นที่เสี่ยงสูงทางอุบัติเหตุทางถนน กรมควบคุมโรคได้เชิญตัวแทนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วมประชุมเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันการบาดเจ็บทางถนน โดยเน้นการดำเนินงานมาตรการชุมชน (การตั้งด่านชุมชน) เพื่อสกัดกลุ่มเสี่ยง เลี่ยงอุบัติเหตุ ซึ่งตำบลชะมวง มีผลงานโดดเด่น และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดจำนวนและอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตทางถนนมาอย่างต่อเนื่อง จากการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลควนขนุน ในเดือนตุลาคม 2560 พบว่า จำนวนประชาชนในอำเภอควนขนุน ประสบอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมด 115 ราย อุบัติการณ์ 136.61 ต่อประชากรแสนคน เป็นเพศชาย 76 ราย (ร้อยละ 66.06) หญิง 39 ราย (ร้อยละ 33.92) กลุ่มอายุที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด กลุ่มอายุ 0-13 ปี จำนวน 25 ราย รองลงมา มากกว่า 60 ปี จำนวน 23 ราย 14-20 ปี จำนวน 16 รายกลุ่มอายุ 31-40 ปี, 41-50 ปี , 51-60 ปี กลุ่มอายุละ่ 13 ราย และ 21-30 ปี จำนวน 12 รายตำบลที่มีจำนวนผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดตำบลควนขนุน จำนวน 16 ราย (ในเขตเทศบาลตำบลควนขนุน จำนวน 8ราย) รองลงมาตำบลชะมวง14 รายดอนทราย 13 รายปันแต และพนางตุงตำบลละ 12 รายพนมวังก์ 11 รายนาขยาด 10 รายโตนดด้วน 7 รายมะกอกเหนือ และแหลมโตนดตำบลละ 7 รายทะเลน้อย 4 รายและแพรกหา 3 ราย ยานพาหนะที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุด รถจักรยานยนต์จำนวน 87 รายรองลงมารถจักรยานจำนวน13รายเดินเท้าจำนวน10รายรถเก่ง 5 รายสถานภาพก่อนจำหน่ายผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนนมากที่สุดหายกลับ้านจำนวน 98 รายส่งต่อ15 รายและตายก่อนถึง รพ. 1 รายตายในโรงพยาบาล 1 รายจากสถานการณ์ดังกล่าวสำนักงานสาธารณสุขอำเภอควนขนุนได้เล็งเห็นความสำคัญของการป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจึงได้จัดทำ "โครงการประชารัฐควนขนุนร่วมใจปลอดภัยอุบัติเหตุทางถนน"ขึ้น โดบขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลควนขนุน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน

จำนวนประชาชนที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน(คน)

16.00 8.00
2 1.เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันอุบัติเหตุทางถนน ผ่านระบบสุขภาพอำเภอ (DHS-RTI) หรือตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ให้มีการดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม

1.มีการจัดการข้อมูล  การบูรณาการทีมสหสาขา  การขับเคลื่อนในระดับชุมชน การจัดการจุดเสี่ยง มาตรการชุมชน มาตรการองค์กร  พร้อมทั้งมีการติดตามประเมินผลในระดับตำบล

100.00
3 2.เพื่อสร้างกลไกการดำเนินงานและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในระดับตำบลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความปลอดภัยทางถนนในระดับตำบล

2.มีศูนย์ปฏิบัติการความปบอดภัยทางถนนระดับอำเภอ มีกระบวนการพัฒนาทีมและขับเคลื่อนงาน  มีการจัดทำนโยบายและแผนการจัดการด้านอุบัติเหตุระดับตำบล  เกิดการทำงานอุบัติเหตุแบบบูรณาการและมีส่วนร่วม  การพัฒนาระบบข้อมูลเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน

1.00
4 3.เพื่อลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน

อัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนไม่เกิน 16 ต่อประชากรแสนคน

50.00
5 4.เพื่อประเมินการใช้หมวกนิรภัย

จำนวนผู้ใช้หมวกนิรภัยในการขับขี่ ร้อยละ 100

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,000.00 1 10,000.00
18 ก.ย. 61 ขับขี่ปลอดภัย เสริมสร้างวินัยจราจร 0 10,000.00 10,000.00

1.จัดประชุมคณะทำงาน 2.จัดเขตการใช้หมวกนิรภัย ถนนสีขาว 3.จัดทีมประเมินการใช้หมวกนิรภัย 4.จัดด่านตรวจโดยขอความร่วมมือจากตำรวจ 5.จัดหาหมวกนิรภัย รณรงค์ขับขี่ปลอดภัย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ตำบลควนขนุนลดลง 2.เกิดพื้นที่ต้นแบบ (นำร่อง) นวัตกรรมการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนโดยประชาชนในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 3.ประชาชนผู้ใช้เส้นทางจราจรมีพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย 4.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่ (RTI-Team)

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มี.ค. 2561 10:50 น.