กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 1/61
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ 1.คุณเตือนใจ มณีทรัพย์มั่นคง 2.คุณเบญจา ไตรพทยาดิษฐ์ 3.คุณสมศรี จงเจริญไชยพร 4.คุณสาวิตรี อินทสรณ์ 5.คุณจารุวรรณ ตรีรัตนนุกูล
วันที่อนุมัติ 4 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 6,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. เทศบาลตำบลเกาะขนุน
พี่เลี้ยงโครงการ นายบรรจบ จันทร์เจริญ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ละติจูด-ลองจิจูด 13.695,101.399place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 ก.พ. 2561 28 ก.ย. 2561 6,350.00
รวมงบประมาณ 6,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน
10.00
2 ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย
10.00
3 ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6 ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ร่างกายแข็งแรง อาหารที่ร่างกายได้รับจึงต้องเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ได้มาตรฐานและปราศจากสารพิษปนเปื้อนในอาหาร เช่นสารบอแร็กซ์  สารฟอร์มาลีน  สารฟอกขาว  สารกันรา และยาฆ่าแมลง  ซึ่งสารดังกล่าวถ้าเข้าสู่ร่างกายจะก่อให้เกิดอันตราย และถ้าเกิดการสะสมในร่างกายนานๆจะทำให้เกิดโรคมะเร็งตามมา  ดังนั้นสถานประกอบการร้านค้าที่จำหน่ายอาหาร หรือประกอบอาหารจำหน่ายให้กับประชาชน จึงควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐานปราศจากสารปนเปื้อนในอาหาร  และจากข้อมูลสถานประกอบการด้านอาหารในพื้นที่ตำบลเกาะขนุน พบว่ามีแผงลอยจำหน่ายอาหารจำนวน 26 ร้าน โรงอาหารในโรงเรียน จำนวน 4 แห่ง และร้านขายของชำจำนวน 29 ร้าน ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวถ้าสถานประกอบการทุกแห่ง มีความรู้ในการเลือกซื้ออาหารที่ปราศจากสารปนเปื้อนมาจำหน่าย หรือนำมาประกอบเป็นอาหาร รวมทั้งผู้บริโภค ถ้ามีความรู้ความเข้าใจถึงพิษภัยอันตรายที่เกิดจากสารปนเปื้อนในอาหาร และสามารถเลือกแหล่งจำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานปราศจากสารปนเปื้อนมาบริโภคก็จะห่างไกลจากโรคต่างๆที่จะตามมา ดังนั้นในการกำกับ ดูแล และให้คำแนะนำที่ถูกต้อง เพื่อให้สถานประกอบการทุกแห่งในพื้นที่จำหน่ายอาหารที่ได้มาตรฐานและปราศจากสาปนเปื้อน รวมทั้งให้ประชาชนรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับอาหารและผลิตภัณฑ์ ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลเกาะขนุน จึงได้จัดทำโครงการอาหารปลอดภัย ปีงบประมาณ 2561 โดยได้ดำเนินการออกตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และตรวจสอบฉลากอาหารและผลิตภัณฑ์ที่นำมาจำหน่าย ตามร้านค้าทุกแห่งในพื้นที่ตำบลเกาะขนุน เมื่อพบปัญหา เช่นตรวจพบสารปนเปื้อนในอาหารก็จะมีพูดคุยกับผู้ประกอบการร้านค้า เพื่อปรับปรุงแก้ไข และแจ้งให้องค์กรบริหารส่วนตำบลและประชาชนทราบ เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพิ่มสัดส่วนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน

ร้อยละพื้นที่เกษตรอินทรีย์/เกษตรปลอดภัยต่อพื้นที่เกษตรทั้งหมดในชุมชน เพิ่มขึ้น

10.00 15.00
2 ลดสารเคมีตกค้างในเลือดของเกษตรกร

ร้อยละของเกษตรกรที่ตรวจพบสารเคมีตกค้างในเลือด เกินมาตรฐานความปลอดภัย ลดลงเหลือ

10.00 0.00
3 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ร้อยละของตัวอย่างอาหารที่ตรวจพบสารปนเปื้อน 6  ชนิด มีสารเคมีตกค้างในอาหาร ลดลงเหลือ

12.00 0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 6,350.00 1 0.00
9 ต.ค. 60 ตรวจสารปนเปื้อนตลาดสด 0 6,350.00 0.00
  1. ฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ประกอบการร้านค้าและฝึกปฏิบัติการตรวจ สารปนเปื้อนในอาหารและตรวจสารพิษตกค้างในผัก
  2. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนและสถานประกอบการด้านอาหาร
  3. ตรวจการคงสภาพแหล่งจำหน่ายอาหารตามมารฐาน CFGT และร้านจำหน่ายอาหารสด
    ตามมาตรฐาน FS และตลาดนัดในชุมชน
  4. จัดซื้อชุดตรวจสำหรับตรวจสารปนเปื้อนในอาหารและตรวจสารพิษตกค้างในผัก
  5. นำผลการตรวจเผยแพร่แก่ชุมชนและนำปัญหาที่พบสู่การแก้ไขและพัฒนาโดยประสาน ความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย
  6. พัฒนาแผงลอยจำหน่ายอาหาร ปลอดโฟม และหม้อก๋วยเตี๋ยวปลอดภัย
  7. สรุปประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ร้านค้าจำหน่ายอาหารที่มีมาตรฐาน ไม่มีสารปนเปื้อนในอาหาร ประชาชนได้บริโภคอาหาร ที่มีคุณภาพ  ค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากประชาชนบริโภคอาหารที่มีมาตรฐานและปราศจากสารปนเปื้อน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2561 14:54 น.