กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกิจกรรมกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L3048-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ราตาปันยัง
วันที่อนุมัติ 9 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 9 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 3 กันยายน 2561
งบประมาณ 13,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวายุมามุ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลราตาปันยัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.822,101.353place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 พ.ค. 2561 2 ก.ค. 2561 13,600.00
รวมงบประมาณ 13,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด(คน)
52.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ไข้เลือกออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยส่วนใหญ่มักเป็นในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในผู้ใหญ่อาจพบได้บ้างบางรายอาการรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้มักระบาดในช่วงหน้าฝนเพราะพาหนะของโรคคือยุงลาย ลํกษณะที่อยู่อาศัยของยุงลาย พบมากตามบ้านที่อยู่อาศัย ในสวน ขยายพันธ์ุโดยวางไข่ในน้ำนิ่งพบบ่อยในภาชนะน้ำขัง เช่น โอ่งน้ำ แจกันดอกไม้ ยางรถยนต์เก่า หรือเศษวัสดุที่รองรับน้ำได้ทุกชนิด พื้นที่ตำบลราตาปันยัง เป็นพื้นที่ที่มีระบาดของไข้เลือดออกที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกดังนี้ คือ ปี 2560 จำนวน 12 ราย ดังนั้นเพื่อไม่ให้มีการระบาดของไข้เลือดออก จึงต้องมีการป้องกันโดยการทำลาย ยุงลายแหละแหล่งเพาะพันธุ์ โโยการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญจึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจันำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน (Container Index=0) และบริเวณบ้าน
( House Index = 0)

52.00 1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,600.00 1 13,600.00
10 พ.ค. 61 โครงการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 13,600.00 13,600.00

1.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามโครงการและหน้าที่รับผิดชอบ 2.ร่วมกันประชุมวางแผน กำหนดเป้าหมายเนื้อหา และรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ 3.ประชุมชี้แจงแนวทางการควบคุมโรคไข้เลือดออกและจัดการขยะในครัวเรือน และการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ชุมชน ทุกหมู่บ้านที่ประชุมผู้นำชุมชน พร้อมคัดเลือดตัวแทนครอบครัวและผู้สูงอายุที่ยินดีเลี้ยงปลาหางนกยูง เป็นแหล่งขยายพันธุ์ให้เข้าร่วมโครงการการปรับปรุงให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน 4.จัดเตรียมสื่อการจัดการขยะ เครื่องมือและอุปกรณ์ในการกำจัดขยะเปียก (ด้วยการหมักไว้ในวงปูน) และการแยกขยะแห้งเพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่(การจัดเก็บและกำจัดด้วยถังขยะแยกประเภท และการแปรรูปขยะให้เป็นประโยชน์) กำจัดขยะแห้งด้วยการเผา (ด้วยท่อขนานเล็ก) ตามแบบที่แนบมาท้ายนี้ 5.แต่งตั้งคณะทำงาน อสม. และตัวแทนครัวเรือนหรือผู้นำที่สนใจ และมีความสามารถในการทำงานด้านปรับปรุงสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมเพื่อกำหนดแนวทางทำงานร่วมกัน 6.จัดอบรมให้ความรู้และหาแนวทางในการจัดการขยะและการควบคุมโรคไข้เลือดออกด้วยหลัก 5 ป. และการจัดการขยะและการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม ตามสื่อการสอนที่เตรียมไว้ในข้อ 2 แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ แลำกำหนดแนวทางในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมของบ้านให้เหมาะสมระหว่างเจ้าของบ้านและคณะทำงานเพื่อให้สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชนได้ 7.ตรวจประเมินบ้านจัดการขยะรอบที่ 2 เพื่อค้นหาข้อดีของการจัดการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมพร้อมจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของสมาชิกในครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการ และสุ่มตรวจลูกน้ำยุงลาย 8.ประชุมสัมพันธ์บ้านที่เข้าร่วมโครงการและสามารถเป็นบ้านจัดการขยะแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ผ่านหอกระจายข่าวของชุมชน และในที่ประชุม ระดับหมู่บ้านและตำบล 9.เปิดรับสมัครผู้สูงอายุที่ยินดีเลี้ยงปลาหางนกยูงเป็นแหล่งขยายพันธุ์พร้อมนำไปปล่อยตามแหล่งน้ำให้กับครัวเรือนที่เป็นเป้าหมายรับผิดชอบ (ผู้สูงอายุอาสาเลี้ยงปลาหางนกยูง) 10.จัดอบรมการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และการกำจัดแหล่งที่ถูกวิธี 11.ประกาศผลเลี้ยงปลาหางนกยูงของผู้สูงอายุ ผลการค้นหาแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายของมิสเตอร์ไข้เลือดออกประจำสัปดาห์ ทางหอกระจายข่าวแต่ละหมู่บ้าน ในตอนเช้าหรือเย็น ก่อนวันศุกร์บ่าย ซึ่งวัณรงค์ กำจัดลูกน้ำยุงลายประจำสัปดาห์ 12.ประเมินผลการดำเนินงานและสรุปผลการดำเนินานตามแผนโครงการ ส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลราตาปันยัง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.อัตราป่วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา 2.มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ 3.ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2561 13:03 น.