รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
ลงสำรวจว่าแต่ละครัวเรือนมีการคัดแยกขยะและกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
ผลลัพท์: ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการผ่านเกณฑ์การประเมินร้อยละ 80 พบว่า ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์การประเมินครั้งที่ 1 จำนวน 42 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 84.00 และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 8 หลังคาเรือน คิดเป็น ร้อยละ 16.00 และพบพบว่า ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย ผ่านเกณฑ์การประเมินครั้งที่ 2 จำนวน 40 หลังคาเรือน คิดเป็นร้อยละ 80.00 และไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 10 หลังคาเรือน คิดเป็น ร้อยละ 20.00
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
อบรมในชุมชน โดยให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องขยะประเภทต่างๆ ตลอดจนทราบถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากขยะวิธีการคัดแยกและกำจัดขยะประเภทต่างๆ อย่างถูกวิธี
ผลลัพท์: ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการขยะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญพบว่า การทำแบบสอบถามความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 10.22 คะแนน และการทำแบบสอบถามความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 14.66 คะแนน ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 97.73 สามารถสรุปได้ว่า บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
เเจกไม้กวาด,ถุงดำเเละโลชั่นทากันยุงให้เเก่กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ให้กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการไปจัดการสิ่งแวดล้อมกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จากนั้นลงติดตามผล 4 สัปดาห์
ผลลัพท์: ร้อยละ 90 ของค่าดัชนี House Index (HI) เเละค่าดัชนี Container Index (CI) ลดลงหลังเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญ พบว่าค่าดัชนี House Index (HI) ลดลงร้อยละ 50.0 และค่าดัชนี Container Index (CI) ร้อยละ 41.06 สามารถสรุปได้ว่า บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
ให้ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการเดินรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกด้วยมาตรการ 3 เก็บ 3 โรค
ผลลัพท์: เพื่อให้คนในพื้นที่ื หมู่ที่ 9 บ้านหารบัว ได้รับรู้ข่าวสารเเละตระหนักถึงปัญหาโรคไข้เลือดออก
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
อบรมในประชาชนที่มีภาวะเสี่ยง ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 9 โดยให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันโรคไข้เลือดออกด้วยมาตราการ 3 เก็บ 3 โรค ,วิธีการจัดสภาพเเว้ดล้องภายในบ้านเเละบริเวณรอบบ้านให้น่าอยู่ ตลอดจนทราบถึงปัญหาสาเหตุผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย
ผลลัพท์: ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญ พบว่าการทำแบบสอบถามความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.74 คะแนน และการทำแบบสอบถามความรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.50 คะแนน ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 91.67 สามารถสรุปได้ว่า บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
1 จัดทำโครงการเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2 ดำเนินกิจกรรมอบรม จำนวน 2 รุ่นๆละ 1 วัน-อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงวัยรุ่น
-การปรับตัวเมื่อเจอเหตุการณ์ที่คาดหวังและความรู้เรื่องโทษของยาเสพติด
-กิจกรรมก่อให้เกิดการดูแลตัวเองใส่ใจ และรักตัวเอง
ผลลัพท์: ร้อยละ 90 ของนักเรียนในโรงเรียนทุ่งคลองควาย และโรงเรียนยางขาคีม จำนวน 70 คน
นักเรียนได้ตระหนักเกี่ยวกับโทษภัยของยาเสพติดและรู้จักวิธีการป้องกันให้ห่างไกลจาก
ยาเสพติด
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
1. จัดกิจกรรมอบรมอสม./ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย
2. อสม.ติดตามประเมินพัฒนาการ/โภชนาการเด็กในเขตรับผิดชอบ
3. ประเมินพัฒนาการเด็กที่มีอายุครบ 9,18,30,42,60 เดือนทุกเดือน
4. ประเมินภาวะโภชนาการเด็ก0-5ปีทุก 3 เดือน
5. จัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการในเด็กที่พัฒนาการล่าช้า
6. ส่งต่อเด็กพัฒนาการล่าช้าพบแพทย์
7. การดูแลต่อเนื่องติดตามเยี่ยมบ้านเด็กพัฒนาการช้า
8. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
ผลลัพท์: ร้อยละ100เด็กในเขตรับผิดชอบได้รับการติดตามประเมินพัฒนาการ/โภชนาการ
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
1.ขั้นเตรียมการ
1.1 ประชุมคณะทำงาน (อสม./ผู้นำชุมชน) เพื่อวางแผนการทำงาน
1.2 จัดฝึกอบรมแกนนำออกกำลังกาย อย่างน้อย 3 คน
1.3 จัดเตรียมสถานที่ /วัสดุ/อุปกรณ์ ประกอบการออกกำลังกาย
2.ขั้นดำเนินการ
2.1 ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกาย
2.2 จัดกิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสม ตามกลุ่มวัย และพื้นที่ จำนวน 16 วัน
2.3 จัดตั้งกลุ่มออกกำลังกาย
2.4 .ประเมินความพึงพอใจหลังเข้าร่วมโครงการ
ผลลัพท์: ๑. เกิดกลุ่ม/แกนนำ/ชมรมออกกำลังกาย ในหมู่บ้าน
๒.เกิดกลุ่ม/ชมรมออกกำลังกายต้นแบบที่สามารถแสดงโชว์ตามงานต่างๆ ได้
๓. มีการขยายผลและเกิดการตื่นตัวของคนในชุมชนออกกำลังกายมากขึ้นร้อยละ 70 ของคนในหมู่บ้าน
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
ขั้นดำเนินการ (Do)
1. ประชุม ชี้แจง เครือข่ายเฝ้าระวังโรคติดต่อ รพ.สต.บ้านป่าบาก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้ง 3 แห่ง
2. จัดอบรมให้ความรู้การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค มือ เท้า ปากครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ทั้ง 3 แห่ง
3. คุณครู ผู้ปกครอง และเด็ก ร่วมกัน Big Cleaning ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ผลลัพท์: 1. เด็กมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปลอดภัยจากโรค มือ เท้า ปาก
2. ร้อยละ 100 ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปากในเด็ก
3. ลดอัตราป่วยด้วยโรค มือ เท้า ปากในเด็ก
รพ.สต.บ้านป่าบาก เมื่อ 19 ก.ค. 2568
1. ค้นหาเกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลง และตรวจสารเคมีในร่างกายให้ความรู้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มไม่ปลอดภัย
2. ให้เกษตรกรที่สัมผัสยาฆ่าแมลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคู่กับการใช้ชารางจืด เป็นเวลา 7 วัน นัดเจาะเลือดตรวจสารเคมี ซ้ำครั้งที่ 2
ผลลัพท์: 1. ร้อยละ 100 ของกลุ่มเสี่ยง ที่มีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดสูงมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารเคมีและการบริโภคที่ปลอดภัย
2. ร้อยละ 100 เกษตรกรมีพฤติกรรมและการป้องกันการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง
3. เมื่อเจาะเลือดซ้ำครั้งที่ 2 ผลเลือดของเกษตรกรปลอดภัย