กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

หารือ การขอสนับสนุนเงินกองทุนฯ กรณี รพ.สต.จัดซื้ออุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

by twoseadj @8 ธ.ค. 60 09:26 ( IP : 118...2 ) | Tags : รวม tag เก่า(ไม่ใช้เก็บไว้)
photo  , 794x1123 pixel , 141,639 bytes.

ตามหนังสือที่อ้างถึง กองทุนหลักปกระกันสุขภาพตำบลท่าช้าง อ าเภอบางกล่ำ  จังหวัดสงขลาขอหารือกรณี มีความประสงค์จะสนับสนุนงบประมาณโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก  ๐-๖  ปี ในคลินิก ให้บริการสร้างเสริมภูมิคุมกันโรค และส่งเสริมพัฒนาการสมวัย ปี  ๒๕๖๑  จ านวนเงินงบประมาณ  ๕๘,๓๖๐ บาท  นั้น รายละเอียดส่วนใหญ่เป็นการจัดท าคู่มือ  และการซื้ออุปกรณ์ส าหรับการเสริมสร้างพัฒนาการเด็ก ส าหรับการให้บริการในคลินิก  ความละเอียดแจ้งแล้วนั้น

ทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต  ๑๒  สงขลา  พิจารณาแล้วขอเรียนว่า ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น ด าเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.๒๕๕๙  ข้อ ๗เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการ
หรือกิจกรรมตามที่คณะกรรมการอนุมัติดังนี้  ข้อ  ๗(๑) เพื่อให้สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่  โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุกที่จ าเป็นต่อสุขภาพและการด ารงชีวิต  เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก  กลุ่มผู้สูงอายุ.....และประกาศคณะอนุกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค  ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยกำหนดงานในแต่ละกลุ่มวัย.... ๒.กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน ข้อ๒.๑ การส ารวจ  ค้นหา  และการจัดท าทะเบียน  เด็กเกิดใหม่  เด็กย้ายเข้า-ออก ข้อ  ๒.๒  การซักประวัติ ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ  ตรวจร่างกาย และการจัดท าสมุดบันทึกสุขภาพเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
ข้อ  ๒.๓  การคัดกรอง  ตรวจประเมินและติดตามพัฒนาการเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
ข้อ  ๒.๔  การส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ในเด็กแรกเกิด เด็กเล็ก และเด็กก่อนวัยเรียน

ดังนั้น การออกแบบกิจกรรมในโครงการตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุน แต่ให้ปรับรายละเอียดให้ชัดเจนว่า วิธีดำเนินการควรออกแบบให้ชัดเจนมากขึ้น ประกอบด้วย
๑.กิจกรรมการชี้แจงและส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการเด็กแก่ผู้ปกครองเด็ก
๒.กิจกรรมตรวจคัดกรอง ตรวจประเมินพัฒนาการเด็กเล็ก เด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครอง
๓.กิจกรรมคืนข้อมูลพัฒนาการเด็ก  แก่ผู้ปกครอง และให้ข้อมูลการแก้ไขภาวะพัฒนาการเด็กในแต่ละกลุ่มที่เกิดจากการประเมินผล
๔.การกระตุ้นและแก้ไขภาวะพัฒนาการเด็กล่าช้า  ผ่านกิจกรรมที่เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มวัย เช่น กรณีมีพัฒนาการทางกล้ามเนื้อล่าช้า อาจจำเป็นต้องใช้กิจกรรมประเภทการปั้น เป็นต้น

ส่วนรายละเอียดงบประมาณที่เป็นค่าใช้จ่ายแต่ละกิจกรรมย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสมตามการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ อาทิเช่น กรณีซื้อชุดบ้านน้อย  ๒  ชั้นสไลด์  ผู้รับทุนควรแสดงให้ เห็นว่าเป็นเครื่องมือส าหรับการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและมีวิธีการอย่างไรให้เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามาใช้งาน  ตลอดจนการประเมินผลภายหลังการแก้ไขภาวะพัฒนาการล่าช้า และลักษณะดังกล่าวจะต้องไม่ซ้ำซ้อน กับงบประมาณตามภารกิจของหน่วยงานนั้นที่จะด าเนินการอยู่แล้ว