กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม) ”
ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง



หัวหน้าโครงการ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรี




ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม)

ที่อยู่ ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง

รหัสโครงการ 3/2559 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2559 ถึง 1 ธันวาคม 2559

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม) จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังคีรี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม)



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม) " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลวังคีรี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง รหัสโครงการ 3/2559 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 กรกฎาคม 2559 - 1 ธันวาคม 2559 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 99,820.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังคีรี เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การตั้งครรภ์และการคลอดเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายและซับซ้อนทั้งทางด้านร่างกายจิตใจอารมณ์และสังคมเป็นการเปลี่ยนแปลงบทบาทจากผู้หญิงไปสู่การเป็นมารดาและการพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่จากสถิติที่ผ่านมาในรอบ1ปีพบว่าผู้ใช้บริการที่มาฝากครรภ์ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีเป็นกลุ่มวัยรุ่นอายุระหว่าง 12 – 20ปีมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นและสตรีกลุ่มนี้ขาดความรู้ในการดูแลตนเองเนื่องจากมาฝากครรภ์ช้าสาเหตุจากความไม่พร้อมและปัญหาทางด้านสังคมต่าง ๆและสตรีตั้งครรภ์จำนวนหนึ่งมีปัญหาภาวะผิดปกติดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการที่จะให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีได้รับความรู้คำแนะนำและทักษะที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดูแลตนเองในระยะตั้งครรภ์วิธีการวิธีแก้ไขภาวะหัวนมผิดปกติการเตรียมตัวในระยะคลอดมีการสอนเทคนิคการผ่อนคลายโยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์และระยะหลังคลอดได้อย่างเหมาะสมเพื่อที่จะช่วยให้สตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นและสตรีตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีสามารถตั้งครรภ์และเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในระยะต่าง ๆเป็นการสร้างความคุ้นเคยกับสถานที่และมีการประเมินสตรีตั้งครรภ์เพื่อติดตามเยี่ยมบ้านดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีจึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อเป็นการบริการสังคมโดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพแก่มารดาและครอบครัวเพื่อประโยชน์สำหรับผู้ใช้บริการ

ทั้งนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีได้เล็งเห็นถึงสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์จึงนำประโยชน์ของไข่ไก่และนมมาส่งเสริมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์โดยการมารับบริการแต่ละครั้งจะได้รับไข่ไก่ในการฝากครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่8 – 12ครั้งละ1ฟองและนมในการฝากครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่13 – 40ครั้งละ1กระป๋องซึ่งประโยชน์ของไข่ไก่ที่สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับเพื่อเพิ่มน้ำหนักของทารกในครรภ์และไข่ขาวจะมีโปรตีนสูงและเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูงคือมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายส่วนไข่แดงจะมีสารอาหารหลายชนิดได้แก่โปรตีนไขมันวิตามินและแร่ธาตุไขมันในไข่แดงส่วนใหญ่จะเป็นไขมันไม่อิ่มตัวรวมถึงomega – 3ส่วนประโยชน์ของนมที่สตรีตั้งครรภ์ควรได้รับคือช่วงตั้งครรภ์เป็นช่วงที่ร่างกายสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ต้องการแคลเซียมในปริมาณที่มากกว่าปกติหลายเท่าเพราะทารกในครรภ์จะดึงแคลเซียมในร่างกายของแม่ไปสร้างเนื้อเยื้อเส้นใยประสาทกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกระดูกและฟันซึ่งจะเริ่มสร้างตั้งแต่ทารกในครรภ์อายุได้3เดือนจึงจำเป็นที่แม่จะต้องรับสารอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพิ่มกว่าปติ

เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์กระตุ้นความตระหนักใส่ใจในการตั้งครรภ์คุณภาพและนำผู้ที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงคือพ่อและแม่เข้าร่วมโครงการในการให้ความรู้ในโรงเรียนพ่อแม่หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลสุขภาพจากการฝากครรภ์คุณภาพกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรีร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลวังคีรีจึงจัดโครงการนี้ขึ้นมา

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมการมาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์
  2. เพื่อส่งเสริมการมารับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
  3. หญิงตั้งครรภภ์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนไข่และนม เพื่อคุณภาพการตั้งครรภ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

    กลุ่มเป้าหมาย

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
    กลุ่มวัยทำงาน
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. สตรีตั้งครรภ์มารับบริการฝากครรภ์ครบ5ครั้งตามเกณฑ์
    2. หญิงตั้งครรภ์ตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพลูกเกิดรอดแม่ปลอดภัย

    ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

    วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
    ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
    กิจกรรมของโครงการ
    ผลผลิต*
    ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

    1. อบรมให้ความรู้โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม)

    วันที่ 14 ธันวาคม 2560 เวลา 09:00 น.

    กิจกรรมที่ทำ

     

    ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

    มีผู้เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2559  จำนวน  33  คน  คิดเป็นร้อยละ  82.5  จาก จำนวนเป้าหมายที่ตั้งไว้  40  คน  และหญิงตั้งครรภ์ทั้งหมดได้รับบริการฝากครรภ์ครบ  5  ครั้งตามเกณฑ์  จำนวน  29  คน  คิดเป็นร้อยละ  87.87  และมีทารกเกิดไร้ชีพ  1  คน  คิดเป็นร้อยละ  3.03  ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด

     

    40 33

    * ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
    ** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


    ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

    ผลการดำเนินโครงการ

    สรุปผลการดำเนินโครงการ

    ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
    บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
    บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
    ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

    จากการดำเนินโครงการ  จะเห็นได้ว่า  ประชากรกลุ่มเป้าหมายให้ความสนใจกับโครงการดังกล่าวเป็นจำนวนมาก  แต่ด้วยเวลาที่จำกัดและไม่สามารถควบคุมเป้าหมายที่แน่นอนได้  ทำให้ผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559  ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้  จำนวน  40  คน  ซึ่งเมื่อสิ้นสุดวันดำเนินโครงการมีกลุ่มเป้าหมายที่ได้เข้าร่วมโครงการแค่  33  คน  คิดเป็นร้อยละ  82.5  ของเป้าหมายทั้งหมด  แต่หากมองในส่วนของคุณภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ทั้งหมด  ได้รับการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์  จำนวน  29  คน  คิดเป็นร้อยละ  87.87  หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภครั้งแรกก่อน  12  สัปดาห์ จำนวน 23 คน  คิดเป็นร้อยละ 69.69  หญิงตั้งครรภ์ได้รับไข่และนมไปรับประทานจนกระทั่งคลอด  จำนวน 33  คน  คิดเป็นร้อยละ 100  ทารกเกิดไร้ชีพ  จำนวน  1  คน  คิดเป็นร้อยละ  3.03  ซึ่งไม่ทราบสาเหตุการเสียชีวิตที่แน่ชัด

    ผลผลิตโครงการ

    วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
    1 เพื่อส่งเสริมการมาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน 12 สัปดาห์
    ตัวชี้วัด :

     

    2 เพื่อส่งเสริมการมารับบริการฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์
    ตัวชี้วัด :

     

    3 หญิงตั้งครรภภ์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนไข่และนม เพื่อคุณภาพการตั้งครรภ์
    ตัวชี้วัด :

     

    ผู้เข้าร่วมโครงการ

    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
    กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
    กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
    กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
    กลุ่มวัยทำงาน -
    กลุ่มผู้สูงอายุ -
    กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
    กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 40
    กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
    กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
    กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
    สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

    บทคัดย่อ*

    โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมการมาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่มารับบริการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อน  12  สัปดาห์ (2) เพื่อส่งเสริมการมารับบริการฝากครรภ์ครบ  5  ครั้งตามเกณฑ์ (3) หญิงตั้งครรภภ์ที่เข้าร่วมโครงการได้รับการสนับสนุนไข่และนม  เพื่อคุณภาพการตั้งครรภ์

    ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

    ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

    หมายเหตุ *

    • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
    • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

    ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

    ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

     

     

     


    โครงการฝากครรภ์คุณภาพ (ฝากประจำได้ไข่ได้นม) จังหวัด ตรัง

    รหัสโครงการ 3/2559

    ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

    ................................
    ( โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังคีรี )
    ผู้รับผิดชอบโครงการ
    ......./............/.......

    vertical_align_topไปบนสุด