กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ "กายใจสดใสในวัยชื่นบาน"
รหัสโครงการ 2565 - L5221-3-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลท่าบอน องค์การบริหารส่วนตำบลท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
วันที่อนุมัติ 1 พฤศจิกายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 32,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพิศ แก้วอนุรักษ์
พี่เลี้ยงโครงการ นายทนงค์ศักดิ์ ภักดีไพบูลย์สกุล
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 10 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุมีปัญหาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา
71.30
2 ผู้สูงอายุไม่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย
69.40
3 ผู้สูงอายุ และผู้เรียนไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า
61.20

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” อันจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ เจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้น เช่น เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจฯลจากจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น อันนำมาซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้สืบเนื่องมาจากการพัฒนาด้านสาธารณสุขและทางการแพทย์ ให้อัตราการตายลดลง ผู้สูงอายุจึงมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นแต่ผู้สูงอายุก็ยังได้รับผลกระทบจากการเสื่อมถอยของร่างกายตามวัย รวมทั้งผลของ โรคเรื้อรังหรืออุบัติเหตุ จึงนำไปสู่ความถดถอยของร่างกาย เกิดภาวะพึ่งพา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้หรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย หรืออาจมีอาการสมองเสื่อมทำให้ต้องอาศัยพึ่งพาเป็นภาระแก่ผู้ดูแล เกิดภาวะทุพพลภาพ ในที่สุด สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตอยู่อย่างไม่มีความสุข อีกทั้งสังคมปัจจุบันต้องทำงานแข่งกับเวลาผู้นำครอบครัวต้องรับภาระทางเศรษฐกิจ รายจ่ายมากกว่ารายรับ การดูแลสมาชิกในครอบครัวลดน้อยลง ผู้สูงอายุไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่เท่าที่ควร บางรายถูกทอดทิ้งให้อยู่ลำพัง บางคนเป็นโรคซึมเศร้า ขาดความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการดูแลสุขภาพที่ ถูกต้อง รวมทั้งความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิสวัสดิการต่างๆ อันพึงจะได้รับจากรัฐ การจะให้ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ จำเป็นต้องมีการส่งเสริมด้านสุขภาพที่ถูกต้องและส่งเสริมความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีภูมิคุ้มกัน สามารถพึ่งตนเองได้ และมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขตามสมควรของวัย สามารถทำ ประโยชน์ให้แก่สังคม และมีความสุขในปั้นปลายของชีวิต อีกทั้งผู้สูงอายุคือกลุ่มพลังเงียบที่ทรงคุณค่า หากสังคมให้โอกาสพลังเงียบที่มีอยู่ในตัวผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุก็สามารถสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ให้เกิดขึ้นในสังคมได้อีกมาก
ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตำบลท่าบอน ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณชีวิตผู้สูงอายุเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขตามสมควรของวัย โดยใช้กลไกในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัย จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ “กายใจสดใสในวัยชื่นบาน” ภายใต้กิจกรรมโรงเรียนผู้สูงอายุ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2566 ขึ้น เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม รวมทั้งให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วยและดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย ตลอดจนให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 1468 คน นักเรียนผู้สูงอายุ จำนวน 40 คน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมสุขภาพและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา

นักเรียนผู้สูงอายุได้อบรมหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตปัญญา(ร้อยละ)

62.00 75.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย

นักเรียนผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองในเบื้องต้น ป้องกันการเจ็บป่วย และดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมและมีความสุขตามช่วงวัย(ร้อยละ)

63.00 75.00
3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการเตรียมเข้าสู่ช่วงวัยผู้สูงอายุอย่างมีคุณค่า

ติดตามประเมินพฤติกรรมนักเรียนผู้สูงอายุ(ร้อยละ)

74.00 85.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 32,600.00 0 0.00
1 พ.ย. 65 - 24 ก.ค. 66 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ วิชาการดูแลสุขภาพที่จำเป็นของผู้สูงอายุจำนวน 6 ชม. (2 ครั้งๆละ 3 ชม.) 0 6,100.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ วิชานันทนาการและ การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 12 ชั่วโมง (4 ครั้งๆละ 3 ชม.) 0 15,300.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 เม.ย. 66 กิจกรรมอบรม วิชาการพัฒนาจิตสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.) 0 5,600.00 -
1 พ.ค. 66 - 30 มิ.ย. 66 กิจกรรมอบรม วิชาการใช้ชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ จำนวน 6 ชม.(จำนวน 2 ครั้งๆ ละ 3 ชม.) 0 5,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้พัฒนาความรู้ ทักษะ ฝึกสมอง และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข
  2. ผู้สูงอายุนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงมีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
  3. ผู้เรียนเห็นคุณค่าของตนเองและทำประโยชน์ให้กับสังคมได้
  4. มีจิตอาสาในพื้นที่ในการช่วยเหลือสังคมและท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 เม.ย. 2565 14:39 น.