กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ชุมชนบ้านคลองเตย 6
รหัสโครงการ 66-L7257-2-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองเตย 6
วันที่อนุมัติ 23 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2566 - 15 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชะโลม อุไรรัตน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 เม.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 15,000.00
รวมงบประมาณ 15,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของครัวเรือนที่มีความรู้ในการจัดการขยะ
0.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน
0.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันปัญหาขยะ เป็นปัญหาสำคัญระดับประเทศ ซึ่งยากที่จะแก้ไขและสาเหตุหนึ่งเกิดจากประชาชนไม่รู้จักวิธีการบริหารจัดการขยะที่เกิดขึ้น ส่วนมากแล้วจะทิ้งลงข้างทางบ้าง หรือทิ้งลงตามแม่น้ำลำคลองบ้าง และสำหรับการทิ้งขยะลงแม่น้ำจะทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียได้ ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่คนทั่วไปไม่รู้จักการคัดแยกขยะ นอกจากนี้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติได้กำหนดให้ขยะเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อเป็นการสนองนโยบายและการแก้ไขปัญหาขยะ เทศบาลเมืองคอหงส์ และกลุ่ม อสม. ชุมชนบ้านคลองเตย 6 ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จึงต้องสร้างจิตสำนึกของการห้ามทิ้งขยะโดยปลูกฝังให้แก่เยาวชนและประชาชนโดยทั่วไปพร้อมทั้งจัดหาวิธีการดำเนินการจัดการเกี่ยวกับขยะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล เนื่องจากการคัดแยกขยะมีประโยชน์มาก พร้อมกับเสนอวิธีการคัดแยกขยะที่ถูกต้อง เพื่อนำเข้าสู่ขั้นตอนการจัดการขยะที่ถูกต้อง ขยะมูลฝอยเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนในหลายๆด้าน และมีลักษณะคล้ายกันเกือบทั่วประเทศ ทำให้เกิดมลพิษทางดิน น้ำ และอากาศ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ และพาหนะนำโรค ทำลายทัศนียภาพ อีกทั้งก่อให้เกิดเหตุรำคาญเกิดปัญหาเรื่องกลิ่น แมลงรบกวนในชุมชน ปัญหาด้านขยะมูลฝอยเกิดขึ้นกับชุมชนทุกแห่ง ทั้งเมืองขนาดเล็ก ถึงเมืองใหญ่ในตัวจังหวัด อำเภอ ตำบล หรือแม้กระทั้งในชุมชนบ้านตลองเตย 6 ก็เป็นอีกชุมชน ที่ประสบกับปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ยังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการแบบเดิมๆ คือ การฝั่งกลบและเผากลางแจ้ง ซึ่งเป็นวิธีการจัดการขยะมูลฝอยที่ไม่ถูกวิธี จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการปนเปื้อนของมลพิษต่อดิน แหล่งน้ำ ที่สำคัญกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆและแหล่งพาหนะนำโรค ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขชุมชนบ้านคลองเตย 6 ได้เล็งเห็นความสำคัญจึงได้จัดทำโครงการถังขยะเปียก ลดโลกร้อน ชุมชนบ้านคลองเตย 6 โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้อง ตั้งแต่ต้นทาง ระหว่างทาง และปลายทาง สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรคต่างๆ และลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนชุมชนบ้านคลองเตย 6 ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะแก่ครัวเรือนมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค

ร้อยละของครัวเรือนสามารถจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกได้ถูกต้อง

0.00 80.00
2 เพื่อให้ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน

ร้อยละของครัวเรือนมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องและลดพาหนะนำโรคเพื่อสุขภาวะที่ดีของประชาชน

0.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
??/??/???? กิจกรรมอบรมให้ความรู้ในการจัดทำถังขยะเปียกในครัวเรือน 0 14,500.00 -
1 ม.ค. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมประชุมคณะทำงาน 0 500.00 -
รวม 0 15,000.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการสามารถจัดการขยะในครัวเรือนเพื่อมิให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค
  2. ครัวเรือนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกเพิ่มขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2565 10:05 น.