กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฝากครรภ์คุณภาพทารกเกิดรอดแม่ปลอดภัย ตำบลปิตูมุดี ปีงบประมาณ 2566
รหัสโครงการ 66-L3030-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ PCU รพ.ยะรัง
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2565 - 30 กันยายน 2566
กำหนดวันส่งรายงาน 16 ตุลาคม 2566
งบประมาณ 25,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวไซนี นอจิ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การฝากครรภ์เป็นหนึ่งในบริการอนามัยแม่และเด็กเพื่อเป็นการส่งเสริมและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลฝากครรภ์คุณภาพจากบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อย 8 ครั้งและเน้นย้ำการมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพื่อให้สามารถประเมินความเสี่ยงในไตรมาสแรกและแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ที่อาจส่งผลเสียต่อมารดาและทารก ลดอัตราตายของมารดาทารกได้การฝากครรภ์ช้าจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ เช่นภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ภาวะคลอดก่อนกำหนดทารกน้ำหนักตัวน้อยและโรคที่เป็นความเสี่ยงที่ต้องอยู่ในความดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์นอกจากนี้ในภาวะตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกายและจิตใจ อารมณ์ และสังคมทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลได้จากผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2565พบว่าหญิงตั้งครรภ์ตำบลปิตูมุดี มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ร้อยละ 78.26 ( 18 ราย ) หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์ร้อยละ 75 ( 20 ราย ) ทารกน้ำหนักน้อยร้อยละ 3.23และหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางร้อยละ 12.1 อีกทั้งหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงหลายด้าน เพราะมารดาตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่นยังขาดประสบการณ์และความรู้ในการดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์ เป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตพัฒนาการทางสมอง และระบบประสาทของเด็ก ส่งผลให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ สติปัญญา พฤติกรรมและอารมณ์ตามมารวมถึงกระทบต่อปัญหาสุขภาพจิตและสังคมของหญิงตั้งครรภ์เองอีกด้วยจากการวิเคราะห์สาเหตุการมาฝากครรภ์ล่าช้าส่งผลให้ไม่ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน พบว่าหญิงตั้งครรภ์ไม่ทราบถึงความสำคัญหรือประโยชน์ของการมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ และการประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์ในชุมชนยังไม่ทั่วถึง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 25,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพทารกเกิดรอดแม่ปลอดภัย 0 15,300.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์การมาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ในชุมชน ตำบล ปิตูมุดี 0 6,700.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 3 ติดตามหญิงหญิงตั้งครรภ์รายใหม่และหญิงตั้งครรภ์ที่ขาดนัดเพื่อมารับบริก ารฝากครรภ์ตามเกณฑ์ 0 3,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เครือข่าย อสม. สมาชิกชมรมนมแม่อาสามีศักยภาพและมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝากครรภ์และสามารถประชาสัมพันธ์ในชุมชนได้ 2.อัตราการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ตัวชี้วัด 3.อัตราการมาฝากครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ครบ 8 ครั้งตามเกณฑ์ 4.ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 00:00 น.