กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการอบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์ ดำเนินการเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2568 ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา โดยวิทยากร นางสาวนริษา สวัสดิ์ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ (ปฏิบัติงาน/รับผิดชอบงานวัคซีน เด็ก และผู้ป่วยจิตเวช) ผลการดำเนินงานเป็นดังนี้ 1. ร้อยละ 91.2 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ มัดเล็ก มัดใหญ่ การดูแลสุขภาพ และการจัดการอารมณ์ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักวิธีการออกกำลังกายด้วยตนเองที่สามารถป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการรู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์และจัดการอารมณ์เบื้องต้นได้

กิจกรรมที่ 2 อบรมและฝึกปฏิบัติการสานตะกร้าเชือกมัดฟาง เพื่อส่งเสริมการใช้ประสารทส่วนปลายในผู้สูงอายุ ฝึกการสร้างเสริมความจำและการส่งเสริมที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม รวมถึงการสร้างเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์การใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สร้างคุณค่าในตนเอง ผ่อนคลายความเครียดทั้งในผู้สูงอายุและประชาชน โดยมีการดำเนินการจำนวนทั้งสิ้นเป็นระยะเวลา 3 วัน ดังนี้ - วันที่ 14 มิถุนายน 2568 ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเวลา 08.45 น. – 16.15 น. - วันที่ 15 มิถุนายน 2568 ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเวลา 08.45 น. – 16.15 น. - วันที่ 16 มิถุนายน 2568 ดำเนินการตั้งแต่ช่วงเวลา 08.45 น. – 16.15 น. โดยวิทยากร นางอนงค์ กำเหนิดทอง ณ ศาลาอเนกประสงค์ หมู่ที่ 1 ตำบลท่าโพธิ์ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา ผลการดำเนินงานเป็นดังนี้ - ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถปฏิบัติการทำตะกร้าโดยใช้ประสาทส่วนปลาย และเสริมสร้างความจำป้องกันการเกิดภาวะสมองเสื่อมได้ - ผู้เข้าร่วมโครงการรู้สึกมีคุณค่าภูมิใจในตนเอง มีสมาธิ รู้สึกผ่อนคลาย รวมไปถึงสามารถลดการเกิดภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุและประชาชนทั่วไปได้อีกด้วย (วัดจากแบบคัดกรองโรคซึมเศร้า 2 คำถาม 2Q หลังจากดำเนินกิจกรรมเสร็จสิ้น)

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ และสามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างถูกวิธี และสามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ในการดูแลสุขภาพและสามารถจัดการกับอารมณ์ความเครียดได้
91.20

 

2 เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่า และฝึกสมาธิ ให้กับตนเอง
ตัวชี้วัด : เกิดกิจกรรม ฝึกสมาธิ ส่งเสริมการสร้างคุณค่าให้ตนเอง โดยประชาชนทำตะกร้าเป็น

 

3 เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่าและฝึกสมาธิให้กับตนเอง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายเกิดกิจกรรมฝึกสมาธิส่งเสริมการสร้างคุณค่าให้ตนเอง

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 25 25
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 25 25
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ และสามารถจัดการกับอารมณ์ตนเองได้อย่างถูกวิธี และสามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตนเองได้ (2) เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่า และฝึกสมาธิ ให้กับตนเอง (3) เพื่อให้ประชาชนเกิดคุณค่าในตนเองด้วยการส่งเสริมให้มีกิจกรรมที่สร้างคุณค่าและฝึกสมาธิให้กับตนเอง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมที่ 1 (2) กิจกรรมที่ 2 (3) อบรมเชิงปฏิบัติการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการอบรมให้ความรู้ เรื่องการดูแลสุขภาพและการจัดการอารมณ์ (4) อบรมและฝึกปฏิบัติการสานตะกร้าเชือกมัดฟาง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh