กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ”
ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวมูณา ฮามิดง




ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

ที่อยู่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ L8411-01-68-03 เลขที่ข้อตกลง 02/2568

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา รหัสโครงการ L8411-01-68-03 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2568 - 30 มิถุนายน 2568 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 24,970.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาเนาะปูเต๊ะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัญหาการสูบบุหรี่ในประเทศไทยทวีความรุนแรง โดยเฉพาะอายุของนักสูบหน้าใหม่ที่ลดน้อยลงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม อย่างกว้างขวางและเป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการดื่มสุราของประชากร พ.ศ.2565 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ประเทศไทยมีผู้สูบบุหรี่จำนวน 11.4 ล้านคน อัตราการสูบบุหรี่ในประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 20.7 ต่อประชากรพันคนอยู่ในกลุ่มอายุ 25-59 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มวัยทำงานมากที่สุดร้อยละ 23.5 รองลงมาคือกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 16.6 และกลุ่มอายุ 15-24 ปีร้อยละ 14.7 ตามลำดับเป็น          ผู้ชายร้อยละ 40.5 และผู้หญิงร้อยละ 2.2 โดยสูบบุหรี่จากโรงงานอย่างเดียวมากที่สุด 5.3 ล้านคน รองลงมาคือบุหรี่มวน 4.2 ล้านคน บุหรี่โรงงาน/บุหรี่มวน 1.9 ล้านคน บุหรี่ไฟฟ้า 709,677 คนและมีคนไทยได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้าน ร้อยละ 28.1 มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2-3 แสนคนต่อปีคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คนและเสียชีวิตจากโรคที่เกิดจากบุหรี่ร้อยละ 12 ของการตายทั้งหมดผู้ที่สูบบุหรี่มีโอกาสตายด้วยโรคมะเร็งมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่ 20 เท่า ที่สำคัญ 1 ใน 4 เป็นเด็กเล็กที่ตายเพราะได้รับควันบุหรี่มือสองหากการควบคุมการบริโภคยาสูบไม่เข้มแข็งจะมีการตายด้วยโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนใน 20 ปีข้างหน้า ข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทำนบละบ้านกม.26 มีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ในอัตราที่สูงพอสมควรคือ ร้อยละ 17.94 (จำนวน 543 คน)
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญทำให้เกิดโรคที่คุกคามและเป็นอันตรายต่อชีวิต ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือด การสูบบุหรี่เพียงหนึ่งถึงสองมวนต่อวันก็เพิ่มความเสี่ยง ในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ แม้แต่การสูบบุหรี่ไฟฟ้า ก็มีสารนิโคตินซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ที่เคยสูบบุหรี่ และสามารถเลิกบุหรี่ได้ สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ถึงร้อยละ 30 ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
-2- แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าไทย ระบาดเพิ่ม 10 เท่าใน 1 ปี เปิดเผยในวงสัมมนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ ซึ่งการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบประชากรไทยมีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 0.14 % คิดเป็นจำนวน 78,742 คน ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปี จำนวน 24,050 คน และการสำรวจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปี 2565 พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 1.21% คิด เป็นจำนวน 709,677 คน โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปี จำนวน 269,553 คน ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ กุมารแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวถึงวิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยที่ระบาดเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 10 เท่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6 อีกด้วย ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตาเนาะปูเต๊ะได้เห็นความสำคัญของ  ภัยร้ายจากการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อกลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นวัยอยากรู้อยากลอง ประกอบกับอำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ได้กำหนดไว้ว่า องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง (๑๙) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล จึงได้จัดโครงการ เยาวชนวัยใส รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ปีงบประมาณ 2568 เพื่อให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับบุหรี่ และบุหรี่ไฟฟ้า และเกิดความตระหนักถึงพิษภัยอันตรายจากการสูบของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า เป็นแกนนำในการช่วยเพื่อนมิให้ตกเป็นเหยื่อของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าและยังรวมไปถึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชนอีกด้วย

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้นักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายและโทษของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกาย
  2. เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะในการเผยแพร่ความรู้และป้องกันปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
  3. เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันตนเองจากภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องพิษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 นักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายและโทษของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกาย 2 สามารถสร้างเครือข่ายนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะในการเผยแพร่ความรู้และป้องกันปัญหาบุหรี่ในครอบครัว โรงเรียน และชุมชน 3 เด็กและเยาวชนมีแนวทางในการป้องกันตนเองจากภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าและมีสุขภาพที่ดีขึ้น


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้นักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายและโทษของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกาย
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะในการเผยแพร่ความรู้และป้องกันปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันตนเองจากภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 60
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้นักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะได้รับความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับอันตรายและโทษของการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าที่มีผลต่อร่างกาย (2) เพื่อสร้างเครือข่ายนักเรียนในเขตพื้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะในการเผยแพร่ความรู้และป้องกันปัญหาบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในครอบครัว โรงเรียนและชุมชน (3) เพื่อเป็นแนวทางการป้องกันตนเองจากภัยของบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าและเป็นการส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่องพิษภัยจากบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการเยาวชนวัยใส่ รู้ทันภัยบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ L8411-01-68-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวมูณา ฮามิดง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด