กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบประเมินด้วยขั้นตอน HIA

บทคัดย่อ/บทนำ

บทคัดย่อ

ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ สาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากการมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยาอาจทำให้ยามีผลต่อผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไต ทำงานได้น้อยลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลง อาจมีอาการสับสนได้ จึงมักเจอปัญหาจากการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ ที่ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 2.) เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง 3.) เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา พบว่า พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

คำสำคัญ

 

บทนำ

 

หมายเหตุ
  • บทคัดย่อ/บทนำ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

แบบประเมิน HIA

1. การกลั่นกรองโครงการ

 

1.1 วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้ทราบผลและบอกถึงงานที่รับผิดชอบ
2) เพื่อให้เห็นแนวโน้ม เพื่อเตือนภัย
3) เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม และเข้าใจกระบวนการ
4) เพื่อลำดับความสำคัญ แปลง ปรับกลยุทธ์ สู่การปฎิบัติ
5) เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการ ช่วยการควบคุม
6) เพื่อจัดสรรทรัพยากร
7) เพื่อการเรียนรู้ และรู้ขีดความสามารถ
8) เพื่อเปรียบเทียบ ปรับปรุงและพัฒนา
9) เพื่อช่วยเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร
10) เพื่อให้รางวัล เพื่อจูงใจ
11) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.2 วิธีการ (ระบุรายละเอียดทำอะไร กับใคร กี่คน ผลสรุป)

1) ประชุมทีมประเมิน

 

2) ประชุมร่วมกับโครงการ

 

3) ประชุมร่วมกับโครงการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

 

4) อื่นๆ (ระบุรายละเอียด)

 

1.3 เครื่องมือ

1) เครื่องมือที่ใช้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง (ระบุรายละเอียดเครื่องมือ เช่น แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม)

 

1.4 ผลที่ได้

1) ผลที่ได้ในขั้นตอนการกลั่นกรอง

 

2. การกำหนดขอบเขต

 

1) วิธีการในการกำหนดขอบเขต

 

2) ผู้เข้าร่วมกำหนดขอบเขต

 

3) เครื่องมือที่ใช้

 

4) กรอบแนวคิด

1) ใช้กรอบ Ottawa charter
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
2) ใช้กรอบ ปัจจัยกำหนดสุขภาพ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
3) ใช้กรอบ Balance Score Card
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
4) ใช้กรอบ CIPP
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล
5) อื่นๆ
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดเครื่องมือกลุ่มผู้ให้ข้อมูล

3. ลงมือประเมิน

 

1) กระบวนการเก็บข้อมูลโดยการมีส่วนร่วม (ระบุรายละเอียด)

 

2) กระบวนการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (ระบุรายละเอียด)

 

3) ผู้มีส่วนร่วมในการประเมิน (ระบุรายละเอียด)

 

4) ผลการประเมิน (เรียงตามตัวชี้วัดที่กำหนดในขั้นตอน scoping)
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

4. ทบทวนรายงานการประเมินว่าถูกต้องหรือไม่?

 

1) กระบวนการในการทบทวนรายงาน

 

2) ผู้มีส่วนร่วมในการทบทวนรายงาน

 

3) ผลการทบทวนร่างรายงาน

 

4) สรุปผลการประเมินสำคัญที่นำเข้าเวทีการทบทวน
ประเด็นการประเมินตัวชี้วัดสรุปผลการประเมินหมายเหตุ
5) อื่นๆ

 

5. การปรับปรุงทบทวนโครงการ

 

1) ข้อเสนอเพื่อการทบทวนโครงการ

 

2) อื่นๆ

 

6. ได้มีการปรับปรุงทบทวนโครงการตามข้อ 5 หรือไม่?

 

1) กลไกในการติดตามการปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

2) วิธีการติดตาม การปรับปรุงโครงการตามข้อเสนอแนะ

 

3) อื่นๆ

 

สรุป

อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

1.การขอสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานราชการไม่ได้รับความร่วมมือ

2.คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรม

3.ผู้ดูแลผู้สูงอายุบางราย ไม่ได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง

เอกสารอ้างอิง

 

เอกสารประกอบโครงการ