กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน

จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ เป็นผู้ป่วยติดสังคม จำนวน 69 คน ร้อยละ 86.25 เป็นเพศหญิง จำนวน 48 คน ร้อยละ 60 เพศชาย จำนวน 32 คน ร้อยละ 40 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 60-69 ปี จำนวน 36 คน ร้อยละ 45 และมีผู้สูงอายุที่มีอายุมากที่สุด อยู่ในช่วงอายุ 90-99 ปี จำนวน 1 คน ร้อยละ 1.25 เมื่อจำแนกตามสถานภาพของผู้สูงอายุ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีสถานภาพสมรส จำนวน 56 คน ร้อยละ 70 โดยส่วนใหญ่ไม่ประกอบอาชีพ/ว่างงาน จำนวน 67 คน ร้อยละ 83.75 มีรายได้ อยู่ในช่วง 601-800 บาท จำนวน 40 คน ร้อยละ 50 ซึ่งรายได้ของผู้สูงอายุ ในแต่ละเดือนได้มาจาก เบี้ยยังชีพของผู้สูงอายุ ทั้งนี้ผู้สูงอายุในชุมชน ที่ไม่มีโรคประจำตัว มีจำนวน 38 คน ร้อยละ 47.50 และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว จำนวน 42 คน ซึ่งผู้สูงอายุบางคนเป็นมากกว่า 1 โรค โดยส่วนใหญ่ เป็นโรคความดันโลหิต จำนวน 34 คน ร้อยละ 61.82 รองลงมาเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน 8 คน ร้อยละ 14.55 และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา โดยลักษณะคำตอบเป็นพฤติกรรมการใช้ยา 2 ระดับ คือ ใช่และไม่ใช่ ซึ่งจากการแปลผลการสำรวจ

คะแนนเฉลี่ย 0-3 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปรับปรุง

คะแนนเฉลี่ย 4-7 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ย 8-11 หมายถึง พฤติกรรมการรับประทานยาอยู่ในระดับดี

พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48


กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การกินยาในผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง จากการแปลผล

คะแนน 0-3 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปรับปรุง

คะแนน 4-6 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง

คะแนน 7-10 หมายถึง ความรู้อยู่ในระดับดี

พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 รองลงมาอยู่ในระดับปรับปรุง ร้อยละ 17.70 และอยู่ในระดับดี ร้อยละ 12.39 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 รองลงมาอยู่ในกลุ่มระดับปานกลาง ร้อยละ 23.01 จากการอบรมพบว่า ผู้เข้ารับการอบรมมีคะแนนหลังการอบรมมากกว่าก่อนการอบรม จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ในการสาธิตการใช้ตะกร้ายา ทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถใช้ตะกร้าใส่ยา ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเองได้


กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร

การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น



กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ

จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี โดยหลังจากที่เข้าร่วมโครงการผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาทุกคน มีพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาที่ถูกต้องและถือปฏิบัติทุกครั้ง คือ การตรวจสอบชื่อ-สกุล บนซองยาก่อนรับประทานยา การตรวจสอบวิธีการใช้ยาและอ่านคำแนะนำก่อนรับประทานยา การเก็บรักษายาให้พ้นแสงในที่สะอาดและอากาศถ่ายเทได้สะดวก และหากมีอาการผิดปกติจะแจ้งแพทย์ทุกครั้ง ตลอดจนในบางพฤติกรรมการใช้ยาในผู้สูงอายุที่มีการปฏิบัติในทางที่ดีขึ้นในหลายด้าน อาทิ การรับประทานยาตรงเวลาที่เภสัชกรแนะนำ ซึ่งก่อนเข้าร่วมโครงการ พบจำนวนที่มีผู้ปฏิบัติทุกครั้ง จำนวน 51 คน คิดเป็นร้อยละ 63.75 และหลังเข้าร่วมโครงการ เพิ่มขึ้นเป็น 74 คน คิดเป็นร้อยละ 92.50 การใส่ยาเก่าและยาใหม่อยู่รวมกัน พบจำนวนผู้ไม่ถือปฏิบัติก่อนทำโครงการ จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 42.50 และหลังเข้าร่วมโครงการพบว่ามีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 77 คน คิดเป็นร้อยละ 96.25 ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี


ปัญหา / อุปสรรค (ระบุ)

  1. การขอสนับสนุนวิทยากรจากหน่วยงานราชการไม่ได้รับความร่วมมือ
  2. คณะทำงานมีเวลาว่างไม่ตรงกัน ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดกิจกรรม
  3. ผู้ดูแลผู้สูงอายุบางราย ไม่ได้ดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง


    แนวทางการแก้ไข (ระบุ)

1.อยากให้ชุมชนจัดกิจกรรมให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้ร่วมทำกิจกรรมในชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : - ผู้สูงอายุในชุมชน ร้อยละ 100 ได้รับการศึกษาพฤติกรรมการกินยา
100.00 100.00

 

2 2. เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง
ตัวชี้วัด : - ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกต้อง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
70.00 76.99

 

3 3. เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี
70.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 80
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ผู้สูงอายุเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยาได้มากกว่าบุคคลทั่วไป เนื่องจากการทำงานของอวัยวะต่างๆ เสื่อมประสิทธิภาพไปตามวัยที่มากขึ้น ทำให้มีผลกระทบต่อกระบวนการดูดซึม การแตกตัว การละลาย การออกฤทธิ์ การกำจัดของตัวยาในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงปัญหาอื่นๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงอันตรายของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุด้วย เช่น ปัญหาการหลงลืม ปัญหาการช่วยเหลือตนเอง ดังนั้น การใช้ยาในผู้สูงอายุต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ สาเหตุของปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ เกิดจากการมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง อาจทำให้ยาอาจทำให้ยามีผลต่อผู้สูงอายุที่มีการเปลี่ยนแปลงต่อร่างกาย ซึ่งมีผลต่อการทำงานของยา ตับและไต ทำงานได้น้อยลง ทำให้เปลี่ยนแปลงยาและกำจัดยาออกจากร่างกายได้น้อยลง อาจเกิดระดับยาเกินจนเป็นพิษได้ ความสามารถสมองลดลง อาจมีอาการสับสนได้ จึงมักเจอปัญหาจากการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ ที่ล้วนแต่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้น โดยการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน 2.) เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการกินยาที่ถูกวิธีและถูกต้อง 3.) เพื่อให้ผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาให้ถูกต้องและถูกวิธี ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมที่ 1 สำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน จากการสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน มีจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน โดยได้ออกแบบสำรวจพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุในชุมชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้สูงอายุ จำนวน 7 ข้อ ผลการสำรวจ พบว่า ผู้สูงอายุ และส่วนที่ 2 ข้อมูลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ จำนวน 11 ข้อ สามารถจำแนกตามหลักการบริหารยาได้ 4 กลุ่ม คือ 1.การได้รับยาถูกคน 2.การได้รับยาถูกขนาดและเวลา 3.ผลข้างเคียงของยา 4.การเก็บรักษายา พบว่า พฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 5.26 ร้อยละ 59.87 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยมาก 2 อันดับแรก ได้แก่ ด้านได้รับยาถูกคน ร้อยละ 38.16 รองลงมาด้านการได้รับยาถูกขนาดและเวลา ร้อยละ 32.48

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องการกินยาที่ถูกวิธีในผู้สูงอายุ แก่ผู้สูงอายุในชุมชน และผู้กำกับควบคุมการกินยาของผู้สูงอายุ ในเรื่องของการใช้ยาในวัยผู้สูงอายุ เรื่องกลุ่มยาที่ใช้บ่อย/กลุ่มยาที่มีความเสี่ยงสูงที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้สูงอายุ รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ ตลอดจนมีการสาธิต/แนะนำการใช้ตะกร้าใส่ยา ให้ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยาผู้สูงอายุ ทดลองใส่ยาและหยิบยากินเอง พบว่า ก่อนการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับกลุ่มปานกลาง ร้อยละ 69.91 หลังการอบรม ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้อยู่ในระดับดี ร้อยละ 76.99 จึงสรุปได้ว่า การจัดการอบรมครั้งนี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ลงเยี่ยมผู้สูงอายุในชุมชน โดยอาสาสมัครสาธารณสุขและเจ้าหน้าที่เภสัชกร การลงเยี่ยมผู้สูงอายุแต่ละรายในชุมชน หมู่ที่ 8 บ้านอุไร จำนวน 80 คน เพื่อติดตามการกินยาของผู้สูงอายุแต่ละราย ทั้งนี้ยังให้คำแนะนำ ตลอดจนให้คำปรึกษาการใช้ยาในผู้สูงอายุ โดยเจ้าหน้าที่เภสัชกรเพื่อเพิ่มพูนความรู้ให้แก่ผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา ได้เข้าใจเกี่ยวกับการกินยาได้อย่างถูกวิธีและปลอดภัยยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาของผู้สูงอายุ จากการติดตามผลพฤติกรรมเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้สูงอายุ พบว่า มากกว่าร้อยละ 70 ของผู้สูงอายุและผู้กำกับการกินยา มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินยาได้อย่างถูกต้องและถูกวิธี ซึ่งมีแนวโน้มไปในทางที่ดี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh