กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพแก่ แกนนำในชุมชน หลักสูตร 1 วัน ( จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน)

ตัวชี้วัดกิจกรรม ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า ก่อนอบรม มีระดับความรู้ปานกลาง ร้อยละ 53.33 ส่วนหลังอบรม มีระดับความรู้ดีมาก ร้อยละ 81.33 และมีเพียงร้อยละ 40 ของครัวเรือนในชุมชนที่ทำน้ำหมักชีวภาพและนำไปใช้ประโยชน์


กิจกรรมรณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ตัวชี้วัดกิจกรรม บ้านเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และจัดบ้านเรือน สิ่งแวดล้อมรอบบ้านให้ถูกหลักสุขาภิบาล โดยการลงพื้นที่ครัวเรือนในชุมชนหมู่ที่ 10 บ้านปากปิง จำนวน 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 พบว่า มีเพียงร้อยละ 45 ที่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ครั้งที่ 2 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ร้อยละ 61 และครั้งที่ 3 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้นร้อย 68

กิจกรรมรณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

ก่อนดำเนินกิจกรรมรณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล บ้านเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนยังมีแหล่งบริเวณรอบๆ บ้าน มีภาชนะที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แต่หลังจากการลงพื้นที่บ้านเรือนในชุมชนแล้วและมีการแนะนำการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล พบว่ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น สามารถจัดบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณรอบๆ บ้านเรือน เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70 โดยมีเกณฑ์การประเมิน 2 ส่วน คือ

  1. ลักษณะรอบบริเวณบ้าน โดยพิจารณาจากบริเวณบ้านสวยงาม ไม่มีขยะ และน้ำขัง มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ไม่มีแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย

  2. ลักษณะภายในบ้าน โดยพิจารณาจาก มีการจัดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่เป็นระเบียบ ความสะอาดของห้องครัว ห้องนอน และห้องน้ำ

สำหรับหลังจากดำเนินโครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านปากปิงพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 359.30 ต่อแสนประชากร ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนในชุมชนต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่ทุกคนต้องช่วยกันและให้ความร่วมมือในการลดปริมาณขยะในชุมชนเพื่อป้องกันจากโรคภัยต่างๆ ที่ตามมา เพราะถ้าชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนในชุมชนก็อยู่อย่างเป็นสุข


ปัญหา / อุปสรรค

  1. ประชาชนในชุมชนส่วนหนึ่งยังไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน
  2. ผู้จัดทำโครงการขาดการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ทำให้การดำเนินกิจกรรมล่าช้า ไม่เป็นไปตามเวลาที่กำหนด

แนวทางการแก้ไข

  1. แกนนำหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชนต้องสร้างมาตรการของชุมชน เกี่ยวกับการจัดการขยะในครัวเรือน เพื่อลดปริมาณขยะ โดยให้ครัวเรือนเป็นจุดแรกเริ่ม สร้างความตระหนักให้กับประชาชนในชุมชน และจัดกิจกรรมการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
  2. การดำเนินกิจกรรมตามโครงการ คณะทำงานต้องร่วมกันวางแผน ติดต่อประสานงาน เพื่อให้กิจกรรมดังกล่าวเป็นไปตามที่กำหนด

ข้อเสนอะแนะ

  1. ขยายผลเรื่องการจัดการขยะไปยังหมู่อื่นๆ ในเขตตำบลกำแพง เพื่อที่จะได้เป็นตำบลปลอดขยะ
  2. สร้างความตระหนักให้เห็นถึงความสำคัญเกี่ยวกับการคัดแยกขยะในครัวเรือน เพราะถ้าครัวเรือนมีการจัดการที่ดี ย่อมทำให้ชุมชน/หมู่บ้าน ได้รับผลประโยชน์ที่ดีไปด้วย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่นที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค
ตัวชี้วัด : - อัตราการป่วยของประชาชนในชุมชนที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค มีอัตราการป่วยลดลง ร้อยละ 80
80.00 359.30

359.30 ต่อแสนประชากร

2 2. เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้
ตัวชี้วัด : - ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทางการจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้
80.00 81.33

 

3 3 เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดบ้านเรือนในชุมชนให้ถูกหลักสุขาภิบาล
ตัวชี้วัด : - บ้านเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้งและจัดบ้านเรือน สิ่งแวดล้อมรอบบ้าน ให้ถูกหลักสุขาภิบาล
60.00 70.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัญหาด้านการจัดการขยะเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทยในปัจจุบัน การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและรูปแบบพฤติกรรมการบริโภค ส่งผลให้ปัยหาขยะมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดิน แหล่งน้ำและอากาศ ทำให้บ้านเมืองไม่เป๋นระเบียบเรียบร้อย ไม่เป็นที่เจริญแก่ผู้พบเห็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนโดยทั่วไป การแก้ปัญหาของขยะมูลฝอย จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่เกิดขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ลดอัตราป่วยของประชาชนในชุมชนเกี่ยวกับโรคติดต่อในท้องถิ่น ที่เกิดจากแมลงเป็นพาหะนำโรค 2.)ให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้ 3.) รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การจัดบ้านเรือนในชุมชนให้ถูกหลักสุขาภิบาล ผลการดำเนินโครงการพบว่า

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การเรื่องการคัดแยกขยะที่ต้นทาง/การจัดการขยะแบบ 3Rs/สาธิตการทำน้ำหมักชีวภาพแก่ แกนนำในชุมชน หลักสูตร 1 วัน ( จำนวน 3 รุ่นๆละ 50 คน)

ตัวชี้วัดกิจกรรม ประชาชนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะที่ต้นทาง การจัดการขยะแบบ 3Rs และสามารถทำน้ำหมักชีวภาพเองได้ โดยใช้แบบประเมินก่อน-หลังอบรม จำนวน 10 ข้อ ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า ก่อนอบรม มีระดับความรู้ปานกลาง ร้อยละ 53.33 ส่วนหลังอบรม มีระดับความรู้ดีมาก ร้อยละ 81.33 และมีเพียงร้อยละ 40 ของครัวเรือนในชุมชนที่ทำน้ำหมักชีวภาพและนำไปใช้ประโยชน์


กิจกรรมรณรงค์ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน

ตัวชี้วัดกิจกรรม บ้านเรือนในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการคัดแยกขยะก่อนทิ้ง และจัดบ้านเรือน สิ่งแวดล้อมรอบบ้านให้ถูกหลักสุขาภิบาล โดยการลงพื้นที่ครัวเรือนในชุมชนหมู่ที่ 10 บ้านปากปิง จำนวน 3 ครั้ง พบว่า ครั้งที่ 1 พบว่า มีเพียงร้อยละ 45 ที่มีการคัดแยกขยะในครัวเรือน ครั้งที่ 2 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะ ร้อยละ 61 และครั้งที่ 3 ครัวเรือนมีการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้นร้อย 68

กิจกรรมรณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล

ก่อนดำเนินกิจกรรมรณรงค์การจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล บ้านเรือนส่วนใหญ่ในชุมชนยังมีแหล่งบริเวณรอบๆ บ้าน มีภาชนะที่มีน้ำขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง แต่หลังจากการลงพื้นที่บ้านเรือนในชุมชนแล้วและมีการแนะนำการจัดบ้านเรือนให้ถูกหลักสุขาภิบาล พบว่ามีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ดีขึ้น สามารถจัดบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมรอบบริเวณรอบๆ บ้านเรือน เพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 70 โดยมีเกณฑ์การประเมิน 2 ส่วน คือ

  1. ลักษณะรอบบริเวณบ้าน โดยพิจารณาจากบริเวณบ้านสวยงาม ไม่มีขยะ และน้ำขัง มีการกำจัดขยะที่ถูกวิธี ไม่มีแหล่งเพราะพันธุ์ยุงลาย

  2. ลักษณะภายในบ้าน โดยพิจารณาจาก มีการจัดข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านที่เป็นระเบียบ ความสะอาดของห้องครัว ห้องนอน และห้องน้ำ

สำหรับหลังจากดำเนินโครงการรณรงค์และส่งเสริมการลดปริมาณขยะในชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านปากปิงพบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 359.30 ต่อแสนประชากร ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ประชาชนในชุมชนต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ที่ทุกคนต้องช่วยกันและให้ความร่วมมือในการลดปริมาณขยะในชุมชนเพื่อป้องกันจากโรคภัยต่างๆ ที่ตามมา เพราะถ้าชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี ประชาชนในชุมชนก็อยู่อย่างเป็นสุข

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh