กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก ”
ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางจุลจิรา ธีรชิตกุล




ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก

ที่อยู่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-1-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 2 เมษายน 2561 ถึง 15 กันยายน 2561

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลหาดใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L7258-1-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 2 เมษายน 2561 - 15 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,674,410.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลนครหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ไข้เลือดออก เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยมานาน และยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศเขตร้อนชื้น พบมีความรุนแรงมากที่สุดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการระบาด ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ ระยะแรกๆ พบมีอัตราตายสูงมาก ปัจจุบันอัตราตายลดลงมาก เนื่องจากการป้องกันและควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ การรักษาพยาบาลที่มีการพัฒนามาตรฐานให้เหมาะสมกับพัฒนาการของโรค มีวัคซีนป้องกันโรคแม้ว่าจะมีอัตราการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันเพียง ๖๐% แต่สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน และประชาชนมีความรู้ในการดูแลตัวเองมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามไข้เลือดออกยังเป็นโรคที่อันตรายเนื่องจากพบการระบาดและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตทุกปี โดยปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะระบาดในฤดูฝน คือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน หรือเดือนตุลาคมของทุกปี แต่ทั้งนี้สภาพภูมิอากาศในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้ช่วงเวลาที่โรคไข้เลือดออกระบาดมีความแตกต่างกัน สำหรับจังหวัดสงขลาพบผู้ป่วยไข้เลือดออกตลอดทั้งปี พบมากในช่วงเดือนเมษายน และเดือนสิงหาคม สถานการณ์ไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ข้อมูลย้อนหลัง ๕ ปี พบว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๖ – ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๖ พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน ๑,๑๖๕ ราย เสียชีวิตจำนวน ๒ ราย ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๗ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๗ พบผู้ป่วย ๓๔๗ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๘ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๘ พบผู้ป่วยจำนวน ๒๙๒ ราย ไม่มีผู้เสียชีวิต ข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๕๙ ถึง ๓๑ ธันวาคม ๒๕๕๙ พบผู้ป่วย ๕๕๓ ราย มีผู้เสียชีวิต ๒ ราย และข้อมูล ๑ มกราคม ๒๕๖๐ ถึง ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๐ พบผู้ป่วย ๒๘๒ ราย มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย สถิติผู้ป่วยไข้เลือดออกปี ๒๕๖๐ ลดลงจากปี พ.ศ. ๒๕๕๙ และไม่มีผู้เสียชีวิต จากข้อมูลดังกล่าว สรุปได้ว่าไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ต้องมีการดำเนินงานแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความต่อเนื่อง ปัญหาพื้นฐาน และเป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดปัญหาการระบาดของโรค เกิดจากสภาวะสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ต้องควบคุม รวมทั้งปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย แหล่งเพาะพันธุ์โรค การเฝ้าระวัง สำรวจ กำจัดลูกน้ำอย่างเนื่อง ต้องมีการบูรณาการ การทำงานเชิงรุกจากทุกภาคส่วนในชุมชนหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาไข้เลือดออกแบบยั่งยืน และมีความเหมาะสมตามบริบทของชุมชน ประชาชนที่อยู่ในชุมชนจะต้องร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมดำเนินการ และร่วมติดตามประเมินผล ท้ายสุดชุมชนจะเกิดความภาคภูมิใจเมื่อการดูแลเรื่องไข้เลือดออกของชุมชนประสบความสำเร็จ และเกิดนวตกรรมของชุมชนที่เป็นรูปธรรมในการแก้ปัญหาไข้เลือดออก การดูแลสุขภาพของประชาชนให้ปลอดจากโรคเป็นหน้าที่รับผิดชอบของเทศบาลนครหาดใหญ่พร้อม ๆ กับการดูแลสุขภาพของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีกำจัดยุงให้ปลอดภัย จากการใช้สารเคมีเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกันที่จะต้องปฏิบัติควบคู่กันเพื่อให้การดำเนินงานฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงมีความปลอดภัยต่อประชาชน และผู้ปฏิบัติงาน จากความจำเป็นดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายป้องกันและควบคุมโรค จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่แบบบูรณาการเพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ เป็นแนวทางให้ชุมชนใช้เป็นทางเลือกในการกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามบริบทของชุมชน
  2. เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านประสบการณ์ และวิชาการ
  3. เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก
  4. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกัน และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
  5. เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ
  6. เพื่อบูรณาการงานจากทุกภาคส่วน สร้างเครือข่ายร่วมกันในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. จัดทำโครงการและเสนอต่อผู้บริหาร
  2. จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ
  3. กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์
  4. งบประมาณในการจัดซื้อเคมีภัณฑ์
  5. กิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  6. กิจกรรมการฝึกอบรมทำสมุนไพรไล่ยุง และเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อน และหลังดำเนินงานโครงการ
  2. เกิดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน มีการพึ่งตนเองเกิดเป็นชุมชนจัดการสุขภาพ
  3. ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนมีความรู้และพฤติกรรมในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. เกิดนวตกรรมของชุมชนในการเฝ้าระวัง และป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. เกิดเครือข่ายป้องกันโรคไข้เลือดออก
  6. สร้างความรับผิดชอบและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
  7. เกิดชุมชนต้นแบบในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และขยายผลไปสู่ชุมชนอื่นต่อไป

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. จัดทำโครงการและเสนอต่อผู้บริหาร

วันที่ 22 มีนาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอโครงการกรรมการกองทุน อนุมัติโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการได้รับการอนุมัติ

 

0 0

2. กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์

วันที่ 2 เมษายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมเสริมสร้างความรู้ในโรงเรียน และชุมชนเพื่อกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และเพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกันแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ร้อยละ ๘๐ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงปัญหาและให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันควบคุมป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

 

0 0

3. กิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

วันที่ 2 เมษายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. มีการจััดซื้อเคมีภัณฑ์เพื่อใช้ในกิจกรรมรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

  2. มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงานของทีม

    รอบที่ ๑ ปฏิบัติงานตามคำร้องและตามแผน
    รอบที่ ๒ พ่นบ้านผู้ป่วยไข้เลือดออก , ฉีดสารชีวภาพกำจัดลูกน้ำ

  3. มีการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน

  • แผนการพ่นหมอกควัน และแผนการพ่นละอองฝอย

  • แผนการฉีดสารชีวภาพกำจัดลูกน้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกลดลงเปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ

 

0 0

4. กิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

วันที่ 24 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ขอรายชื่อและเบอร์โทรศัพท์ผู้รับผิดชอบพื้นที่ชุมชนทั้ง ๔ เขตจากกองสวัสดิการสังคม
  2. ทำหนังสือขอเชิญประชุมปรึกษาหารือการจัดกิจกรรมรณรงค์ “เรื่อง ไข้เลือดออก”
  3. ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ เช่น วงโยธวาทิต,พิธีกร,การอำนวยความสะดวกในการใช้พื้นที่ถนนและขอกำลังตำรวจจารจร เป็นต้น
  4. ทำหนังสือขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์ไข้เลือดออก

          ตารางกิจกรรม     “เดินรณรงค์ไข้เลือดออก”   โครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก     วันที่ 24 สิงหาคม 2561 ........................................................................   เวลา กิจกรรม 08.00 – 08.30 น. ลงทะเบียน ณ บริเวณที่ดินว่างสี่แยกสะพานดำ 08.30 – 09.00 น. จัดขบวนเดินรณรงค์ 09.00 – 09.20 น. ให้โอวาท และปล่อยขบวนเดินรณรงค์โดยนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่
    09.20 – 09.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง 09.30 – 11.00 น. เดินรณรงค์ ตามแผนที่เส้นทางเดิน ถึงจุดสิ้นสุดลานด้านหน้าศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบางหัก
          ******************************

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. ประชาชนเกิดความตระหนัก และสร้างความร่วมมือในชุมชนตลอดจนมีความรู้และพฤติกรรมในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  2. สร้างความรับผิดชอบและตระหนักในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน

 

300 0

5. กิจกรรมการฝึกอบรมทำสมุนไพรไล่ยุง และเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่

วันที่ 31 สิงหาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

  1. ทำให้หนังสือขอใช้ห้องประชุม

  2. ทำหนังสือเชิญวิทยากร

  3. ทำหนังสือเชิญตัวแทนกลุ่มเป้าหมาย

  4. ทำหนังสือขอความอนุเคราะห์ เช่น พิธีกร,ช่างภาพ เป็นต้น

  5. ทำหนังสือขอเชิญร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด

6.  ดำเนินกิจกรรม

      ตารางการอบรม การทำสมุนไพรไล่ยุง และการเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่   ณ ห้องประชุมโรงเรียนเทศบาล 4 (วัดคลองเรียน)

    วันที่ 31 สิงหาคม 2561

  ช่วงเวลา              กิจกรรม 08.00 น. - 08.15 น. • ลงทะเบียน

08.15 น. - 08.30 น. • พิธีเปิด โดยนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และ มอบโล่กิจกรรมชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย สำหรับชุมชนที่มีสถิติผู้ป่วยลดลงและชุมชนที่ปลอดโรคไข้เลือดออก ปี 2560

08.30 น. - 10.30 น. • แบ่งกลุ่มฝึกทำกิจกรรมเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่ โดยทีมวิทยากรจากวิทยาลัยเทคนิคจะนะ จ.สงขลา
10.30 น. - 10.45 น. • พักรับประทานอาหารว่าง 10.45 น. - 12.00 น. • ฝึกทำกิจกรรมเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่ ( ต่อ) 12.00 น. - 13.00 น. • พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น. - 14.00 น. • ฝึกทำกิจกรรมเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่ ( ต่อ) 14.00 น. -14.15 น. • พักรับประทานอาหารว่าง 14.15 น. - 18.15 น. • แบ่งกลุ่มฝึกปฏิบัติการทำสมุนไพรไล่ยุง โดยทีมวิทยากรจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง จ.นราธิวาส

      .........................................................................

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.  มีการปลูกสมุนไพรที่สามารถใช้ในการป้องกันยุงได้ การแปรรูปสมุนไพรเป็นผลิตภัณฑ์กำจัดยุงสำหรับใช้เองในครัวเรือนเป็นต้น 2.  มีความรู้ในการแปรรูปล้อยางรถยนต์ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย มาเป็นของใช้ เช่น กระถางต้นไม้ เก้าอี้ เป็นต้น

 

300 0

6. จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ

วันที่ 6 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ปฏิบัติตามกิจกรรมที่วางแผนไว้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ปฏิบัติตามกิจกรรมที่วางแผนไว้

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ เป็นแนวทางให้ชุมชนใช้เป็นทางเลือกในการกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามบริบทของชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : ๑. กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมร้อยละ ๑๐๐ ๒. กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม สามารถนำกิจกรรมไปดำเนินการต่อเนื่องในชุมชน ร้อยละ ๖๐
0.00

 

2 เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านประสบการณ์ และวิชาการ
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านประสบการณ์ และวิชาการที่ประชาชนสามารถแสดงความคิดเห็นและซักถามปัญหา เพื่อให้เกิดความรู้และแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค ทางโทรศัพท์
0.00

 

3 เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : ร้อยละ ๒๐ ของชุมชนทั้งหมด มีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก
0.00

 

4 เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกัน และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : ๑. ประชาชนร้อยละ ๘๐ มีความตระหนักถึงปัญหา และให้ความร่วมมือในการควบคุมป้องกันควบคุมป้องกันและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ๒. สำรวจภาชนะที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชน ค่า HI น้อยกว่า ๑๐
0.00

 

5 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงมากกว่าร้อยละ ๒๐ ต่อแสนประชากร ลดลงจาก ค่ามัธยฐานย้อนหลัง ๕ ปี
0.00

 

6 เพื่อบูรณาการงานจากทุกภาคส่วน สร้างเครือข่ายร่วมกันในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัด : เกิดภาคีเครือข่ายในการร่วมกันดำเนินการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก วัด โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 300
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150
กลุ่มวัยทำงาน 150
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ เป็นแนวทางให้ชุมชนใช้เป็นทางเลือกในการกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามบริบทของชุมชน (2) เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งด้านประสบการณ์ และวิชาการ (3) เพื่อเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในการแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก (4) เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงปัญหา ร่วมป้องกัน และควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย (5) เพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการกำจัดหรือควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ทั้งทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางเคมีภาพ (6) เพื่อบูรณาการงานจากทุกภาคส่วน สร้างเครือข่ายร่วมกันในการปรับปรุงสิ่งแวดล้อมกำจัดและลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) จัดทำโครงการและเสนอต่อผู้บริหาร (2) จัดทำแผนกิจกรรมดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับอนุมัติ (3) กิจกรรมสื่อสารและประชาสัมพันธ์ (4) งบประมาณในการจัดซื้อเคมีภัณฑ์ (5) กิจกรรมเดินรณรงค์ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก (6) กิจกรรมการฝึกอบรมทำสมุนไพรไล่ยุง และเปลี่ยนยางเก่าเป็นของใช้ใหม่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไข้เลือดออก จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L7258-1-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางจุลจิรา ธีรชิตกุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด