1.โครงการส่งเสริมป้องกันแผลกดทับที่บ้าน
2.วัตถุประสงค์
2.1 พัฒนาศักยภาพพยาบาล/ผู้ดูแล/จิตอาสาในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้าน
2.2 เพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับรายใหม่ของกลุ่มเสียงที่บ้าน
2.3 ผู้ป่วยติดเตียงที่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง
3. กลุ่มเป้าหมาย
3.1 พยาบาลประจำศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลและพยาบาลชุมชนโรงพยาบาลหาดใหญ่ จำนวน 40 คน
3.2 ผู้ดูแล/จิตอาสาจำนวน 30 คน
จำนวนผู้เข้าอบรมจริงทั้งสิ้น จำนวน ๘๒ คน (พยาบาล ๔๘ คน/อสม/จิตอาสา ๓๔ คน)
4. สถานที่ดำเนินงาน
4.1อบรมให้ความรู้ ห้องประชุมศูนย์แพทยศาสตร์ ชั้นคลินิก โรงพยาบาลหาดใหญ่
4.2เยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียงในเขตเทศบาลจำนวน 14ราย เยี่ยมบ้านละ ๒ ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 2 สัปดาห์
- วันที่จัดกิจกรรม
วันที่ 27/28 สิงหาคม 2561
- งบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 24,800 บาท (สองหมื่นสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)
งบประมาณเบิกจ่ายจริง 17,754 บาท คิดเป็นร้อยละ 71.54
(รายละเอียดการใช้งบประมาณดังนี้)
- ค่าอาหารกลางวันจำนวน 82 กล่อง(82x70) คิดเป็นเงิน 5,740 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 82 ชุด(50x 82) คิดเป็นเงิน 4,100 บาท
3.ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาทx 6ชั่วโมง(600*1) คิดเป็นเงิน 3,600 บาท
4.ค่าวัสดุปกป้องผิวหนังจากกสิ่งขับถ่าย คิดเป็นเงิน 2,5๑๔ บาท
5.ค่าถ่ายเอกสาร คิดเป็นเงิน ๑,๘๐๐ บาท
คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 17,754 (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบสี่บาทถ้วน)
7. ผลการดำเนินงาน
7.1 ประเมินความรู้
1. ผลการประเมินความรู้ พยาบาลที่ตอบแบบสอบถามประเมินความรู้ก่อน/หลังทั้งหมด
จำนวน 31 คน มีความรู้เพิ่มขึ้น 30 คนคิดเป็นร้อยละ 96.77 แบบประเมินจำนวน 15 ข้อ คะแนน 13 จำนวน 8 คน คะแนน 14 จำนวน 11 คน คะแนนเต็ม 15 จำนวน 8 คน
2. ผลการประเมินความรู้ อสม/จิตอาสา.ที่ตอบแบบสอบถามประเมินความรู้ก่อน/หลังทั้งหมด 33 คน มีความรู้เพิ่มขึ้นทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 แบบประเมินจำนวน 15 ข้อ คะแนน 13 จำนวน 6 คน คะแนน 14 จำนวน 6 คน คะแนนเต็ม 15 จำนวน 1 คน
สรุปว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 98.43
7.2 ประเมินผลการเยี่ยมบ้าน
ผู้ป่วยติดเตียงที่ส่งต่อจากโรงพยาบาลเพื่อดูแลต่อที่บ้านในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560ถึงเดือนกรกฎาคม 2561 จำนวน 184ราย พบเป็นแผลกดทับเมื่อจำหน่ายจากโรงพยาบาลจำนวน 47รายคิดเป็นร้อยละ 25.54 ยังไม่เกิดแผลกดทับจำนวน 137 รายดังนี้
1. กลุ่มที่เป็นแผลกดทับแล้ว จำนวน 47 คนได้รับการเยี่ยมบ้านทีมพยาบาลผู้ดูแลแผลกดทับ จำนวน 8 ราย โดยกลุ่มที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ที่มีแผลกดทับแล้วได้รับการเยี่ยมบ้านรายละ 2 ครั้ง
2. กลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ 137 คน ได้รับการเยี่ยมบ้านจากทีมพยาบาลผู้ดูแลแผลกดทับ จำนวน 6 ราย โดยกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ยังไม่เป็นแผลกดทับได้รับการเยี่ยมบ้านรายละ 2ครั้ง
สรุป
ผู้ป่วยที่เป็นแผลกดทับทั้ง 8 ราย ได้รับการสอนการทำแผลด้วยวิธีใหม่และใช้วัสดุป้องกันผิวหนังและเจลใส่แผล พบแผลดีขึ้น จำนวน 6 ราย แผลไม่ดีขึ้น 1 ราย/เสียชีวิต 1ราย
ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ยังไม่เป็นแผลกดทับ ได้รับการเยี่ยมบ้าน เพื่อแนะนำการป้องกันแผลกดทับ และใช้วัสดุป้องกันผิวหนังจำนวน 6 รายพบว่า สามารถป้องกันแผลกดทับได้ทั้ง 6 ราย
- ปัญหา อุปสรรค์ในการดำเนินงาน
8.1 กลุ่มเป้าหมาย : พยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขเทศบาลนครหาดใหญ่ จำนวน 15 คน มาอบรมได้เพียง 5 คน ต้องเพิ่มพยาบาลจากโรงพยาบาลหาดใหญ่และจิตอาสา/อสม.ในชุมชน เพื่อให้ครบตามจำนวนที่ตั้งไว้
8.2 ระเบียบการใช้จ่ายเงิน ถึงแม้โครงการจะได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลนครหาดใหญ่แล้ว อุปกรณ์บางอย่างต้องใช้ระเบียบเงินบำรุงของโรงพยาบาล ซึ่งไม่สามารถใช้จ่ายเงินได้ ถ้าใช้ไม่ได้ต้องคืนเงิน
8.3 ผู้รับผิดชอบโครงการนอกจากจะสรุปผลโครงการส่งให้กองทุนหลักประกันสุขภาพแล้ว ยังต้องส่งสำเนาใบเสร็จการใช้จ่ายเงินทั้งหมด รวมทั้งค่าซื้ออุปกรณ์ที่สามารถซื้อได้/ค่าถ่ายเอกสาร ซึ่งต้องผ่านงานพัสดุและการเงิน ต้องใช้เวลานาน ทำให้ล่าช้าในการรวบรวมเอกสารได้ครบ
8.4 ระยะเวลาในการเยี่ยมบ้านมีเวลาน้อย เดือนสิงหาคม-กันยายน ทำให้เยี่ยมกลุ่มเสี่ยงได้ไม่ครบ
- ข้อเสนอแนะ
9.1 งานการเงิน ควรมีการชี้แจงเกี่ยวกับการทำโครงการ โดยใช้ระเบียบเงินบำรุงของโรงพยาบาลก่อนว่าวัสดุ/เวชภัณฑ์ใดที่สามารถซื้อได้บ้าง ผู้รับผิดชอบโครงการจะได้ทราบ ไม่ต้องมาคืนเงินให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพในภายหลัง
9.2 การทำโครงการโดยใช้งบประมาณภายนอกหน่วยงาน เช่น งบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ เมื่อมีเงินโอนเข้าเงินบำรุงของโรงพยาบาลแล้ว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น การเงินและพัสดุ ควรให้การสนับสนุน แก่ผู้รับผิดชอบโครงการ เพื่อสะดวก และรวดเร็วในการทำงาน เพื่อให้สามารถสรุปผลโครงการได้ทันตามเวลาที่กำหนด