กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนงานบุหรี่ ปี 2562 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลเกาะขนุน

แผนงานบุหรี่ ปี 2562 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลเกาะขนุน
อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา
ประจำปีงบประมาณ 2562

stars
ข้อมูลแผนงาน
ชื่อแผนงาน แผนงานบุหรี่ ปี 2562 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลเกาะขนุน
ประเด็นแผนงาน แผนงานยาสูบ
องค์กร กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลเกาะขนุน
ปีงบประมาณ 2562
stars
สถานการณ์ปัญหา
สถานการณ์ปัญหาแบบสอบถาม
navigate_before 2561 navigate_next
ขนาด
1 ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 15-25 ปี ในชุมชน ที่มีการสูบยาสูบ
จำนวนเด็กและเยาวชนที่มีอายุ 15-25 ปี ในชุมชนทั้งหมด
15.00
2 ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน ที่สูบยาสูบ
จำนวนผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนทั้งหมด
58.00
3 จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

 

ข้อมูลสำหรับคำนวณร้อยละสถานการณ์ปัญหาค่าบันทึก
จำนวนกลุ่มและเครือข่ายเพื่อควบคุมยาสูบในชุมชนของท่าน
25.00

 

stars
วัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ตัวชี้วัดขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบในเด็กและเยาวชนอายุ 15- 25 ปี ในชุมชน

15.00
2 เพื่อลดการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

ร้อยละของการสูบยาสูบของผู้ใหญ่ อายุ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

58.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

จำนวนกลุ่มหรือเครือข่ายเพื่อการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชน

25.00
stars
แนวทาง/วิธีการสำคัญ
แนวทางวิธีการสำคัญ
1 เพื่อสกัดกั้นนักสูบรายใหม่ในชุมชน

โดยการ: - คัดกรองและปรับพฤติกรรม - พัฒนาศักยภาพแกนนำ - จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังในชุมชน

วิธีการสำคัญ 1. ระบุกลุ่มเป้าหมายที่อาจกลายเป็นผู้สูบรายใหม่ของชุมชน เช่น เด็ก เยาวชน และสตรี ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่ดำเนินงาน เช่น บ้าน ชุมชน โรงเรียน 2. จัดตั้งทีมปฏิบัติการชุมชน เพื่อสำรวจ และค้นหากลุ่มเสี่ยงหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการมั่วสุมของเด็กและเยาวชนในชุมชน หรือ เสี่ยงที่จะเข้าถึงผลิตภัณฑ์ยาสูบได้โดยง่าย 3. จัดทีมอาสาสมัครเพื่อการคัดกรอง (กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสูบ) และการบำบัดอย่างย่อในชุมชน 4. พัฒนาแกนนำ และเครือข่ายป้องกันระดับเยาวชน ในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมยาสูบ 5. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการสร้างสมรรถนะแห่งตน/ทักษะชีวิตในการหลีกเลี่ยงสิ่งยั่วยุ /ทักษะการจัดการความเครียดและการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 6. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตน/การใช้เวลาว่าง/การสร้างประโยชน์ให้กับชุมชน 7. ส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษาของชุมชน เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัยให้มีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องการควบคุมยาสูบและการเลิกยาสูบ และสนับสนุนให้มีโครงการสร้างผู้นำนักศึกษาในด้านการควบคุมยาสูบ

2 เพื่อส่งเสริมกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ
  1. วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการกลไกในการลดการเข้าถึงยาสูบ เช่น ร้านค้าชุมชน ผู้ปกครอง โรงเรียน และตัวแทนชุมชนที่จะร่วมมือกันควบคุมยาสูบในชุมชน
  2. ส่งเสริมร้านค้าชุมชนให้มีการจดทะเบียนและปฏิบัติตามพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ คือ
    • กำหนดห้ามขายหรือให้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแก่บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี
    • ห้ามให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นผู้ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    • ห้ามขายผลิตภัณฑ์ยาสูบใน 4 กลุ่มสถานที่ ได้แก่
        (1) วัดหรือสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา
        (2) สถานพยาบาลและร้านขายยา
        (3) สถานศึกษาทุกระดับ
        (4) สวนสาธารณะ สวนสัตว์ และสวนสนุก
    • กำหนดห้ามโฆษณาสื่อสารการตลาดผลิตภัณฑ์ยาสูบในทุกรูปแบบ อาทิ พริตตี้ส่งเสริมการขายในงานคอนเสิร์ต
    • ห้ามผู้ประกอบการธุรกิจผลิตภัณฑ์ยาสูบทำกิจกรรมซีเอสอาร์  อุปถัมภ์สนับสนุนบุคคล หรือองค์กร ที่เป็นการสร้างภาพลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ยาสูบ
    • ห้ามตั้งวางโชว์ผลิตภัณฑ์ยาสูบหรือซองยาสูบ ณ จุดขายปลีกที่ทำให้ผู้บริโภคหรือประชาชนมองเห็น
    • ห้ามแบ่งซองขายยาสูบเป็นรายมวน
    • ให้เพิ่มโทษผู้ฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบเป็นปรับไม่เกิน 5,000 บาท
    • กำหนดหน้าที่ให้เจ้าของสถานที่สาธารณะที่เป็นเขตปลอดยาสูบ มีหน้าที่ต้องประชาสัมพันธ์ แจ้งเตือน ดูแลให้ไม่มีการฝ่าฝืนสูบยาสูบในเขตปลอดยาสูบ  หากฝ่าฝืนไม่ดำเนินการ เจ้าของสถานที่มีโทษปรับไม่เกิน 3,000 บาท
3 เพื่อจัดบริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ

บริการช่วยเลิกหรือส่งเสริมการเลิกยาสูบอย่างเป็นระบบ เช่น - กิจกรรมช่วยเลิกเชิงรุก - คลินิกเคลื่อนที่ - คลินิกชุมชน - และการติดตามอย่างต่อเนื่อง

โดยระบุกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น - ในกลุ่มสูบ
- กลุ่มต้องการเลิกสูบ
- และกลุ่มที่พยายามเลิกและยังเลิกไม่สำเร็จ

วิธีการ

  1. การค้นหาและทำฐานข้อมูลของผู้สูบในชุมชน ผู้สูบที่ต้องการเลิก หรือ พยายามเลิกแล้วไม่สำเร็จ
  2. การดำเนินงานเชิงรุก เช่น การจัดตั้งหน่วยบริการช่วยเลิกตระเวนบริการในชุมชน และการค้นหาผู้สูบที่ต้องการเลิกและการให้บริการช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
  3. การพัฒนาบุคลากรในชุมชนมาเป็นเครือข่ายช่วยเลิกยาสูบ หรือ การให้คำปรึกษา เช่น บุคลากรสาธารณสุข อสม. ครู ฯลฯ
  4. การพัฒนาศักยภาพทีมผู้รับผิดชอบงานด้านการติดตามเยี่ยมเยียน ต่อผู้มารับบริการเลิกยาสูบให้สามารถเลิกได้สำเร็จ
  5. การพัฒนากลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเลิกยาสูบในชุมชน
  6. การจัดบริการส่งต่อผู้สูบที่ไม่สามารถบำบัดได้ในชุมชนไปยังหน่วยบริการสุขภาพในพื้นที่
  7. การจัดกิจกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การหลีกเลี่ยงการทดลองสูบยาสูบ และการลดและเลิก การสูบยาสูบ และไม่ควรสูบยาสูบในที่สาธารณะ
  8. การกำหนดระยะเวลาในการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น 3 เดือน 6 เดือน 9 เดือน และ 12 เดือน เพื่อประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสถานะของผู้สูบ เช่น ยังสูบอยู่ ลดปริมาณการสูบลง หรือ สามารถเลิกสูบได้แล้ว เป็นต้น
  9. กำหนดวิธีการติดตามความก้าวหน้าในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมให้ชัดเจน เช่น เยี่ยมบ้าน โทรศัพท์ การส่งข้อความทางไลน์ หรือ เฟสบุ๊ค รวมทั้ง การใช้บริการผ่านอสม.เป็นต้น
4 เพื่อพัฒนาทางเลือกในการช่วยเลิกยาสูบตามบริบทชุมชน

(ระบุวิธีช่วยเลิกและกลุ่มเป้าหมาย) - การเพิ่มจำนวนผู้เลิกสูบ - การลดจำนวนผู้กลับมาสูบซ้ำ - การลดปริมาณการสูบสำหรับผู้ที่สูบอยู่

วิธีการ

  1. การรวมกลุ่มของผู้รู้ ปราชญ์ชุมชน ในการพัฒนาทางเลือกเพื่อช่วยเลิกยาสูบแบบอื่นๆ ที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. สนับสนุนการสร้างกลุ่มอาชีพเสริมรายได้ครัวเรือนในการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ช่วยเลิกยาสูบในชุมชน
  3. ส่งเสริมการแพทย์แผนไทยให้มีบทบาทในการเลิกสูบยาสูบ เช่น
    • การใช้สมุนไพรหญ้าดอกขาว ทีถูกบรรจุในบัญชียาหลักแห่งชาติปี 2555 โดยมีฤทธิ์ทำให้ลิ้นฝาดและไม่อยากสูบยาสูบ
    • การนวดกดจุดสะท้อนเท้า เน้นกดที่ตำแหน่งจุดสะท้อนไปยังส่วนของสมองเพื่อกระตุ้นให้หลั่งสารเคมีออกมา ทำให้ร่างกายอยากสูบยาสูบลดน้อยลงซึ่งเป็นการช่วยเลิกยาสูบโดยไม่ใช้ยา
5 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายโดยการสร้างและพัฒนามาตรการควบคุมยาสูบในระดับชุมชน สำหรับควบคุมการสูบและการจำหน่าย
  1. กำหนดนโยบายการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดการสูบยาสูบในชุมชน เช่น วัด มัสยิด สถานที่สาธารณะ
  2. มีคณะกรรมการชุมชน ที่ทำหน้าที่กำหนดกฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน
  3. การประกาศและการบังคับใช้ กฎ กติกา และมาตรการควบคุมยาสูบในชุมชน ที่มีเงื่อนไขจากการได้ประโยชน์จากการปฏิบัติตามกฎ และ เสียประโยชน์จากการไม่ปฏิบัติตาม (การให้คุณให้โทษทางสังคม)
  4. การสอดแทรกเรื่องยาสูบในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น การบรรยายทางศาสนา ธรรมเทศนา หรือ การอ่านคุตบะห์ในการละหมาดวันศุกร์
  5. การติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมยาสูบของชุมชน
6 เพื่อคุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบยาสูบโดยลดการสัมผัสควันยาสูบมือสอง

โดยการสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบในชุมชน
- การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เช่น มีนโยบายห้ามสูบยาสูบในอาคาร สถานที่ทำงาน และยานพาหนะสาธารณะ - การเปลี่ยนแปลงสภาพทางสังคม เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ เช่น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมต่อการสูบยาสูบ

วิธีการ

  1. การประกาศนโยบายขยายเขตปลอดยาสูบในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อการไม่สูบยาสูบในทุกสถานที่ที่มีผู้คนชุมนุมกัน เช่น
    • ตลาดนัดถนนคนเดินปลอดยาสูบ และ ร้านอาหารที่มีเครื่องปรับอากาศ
    • งานบุญงานประเพณีปลอดยาสูบ
    • นโยบายครัวเรือนปลอดควันยาสูบ (smoke free home)
    • การปรับปรุงสภาพแวดล้อมของที่ทำงานให้ปราศจากการสูบยาสูบในอาคาร
  2. กำหนดให้สถานที่สาธารณะที่ประกาศงดสูบยาสูบตามกฎหมายจะต้องปลอดการสูบยาสูบ 100% โดยการแสดงเครื่องหมายเขตปลอดยาสูบ และแสดงอัตราโทษกรณีที่มีการละเมิด ได้แก่ 2.1 สถานบริการสาธารณสุขและส่งเสริมสุขภาพทุกประเภท     • คลินิก โรงพยาบาล รวมถึงสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล     • คลินิก โรงพยาบาลสัตว์ รวมถึงสถานพยาบาลสัตว์     • สถานีอนามัย สถานบริการสุขภาพทุกประเภท     • ร้านขายยา     • สถานประกอบกิจการนวดแผนไทย หรือแผนโบราณ     • สถานที่ให้บริการอบความร้อน อบไอน้ำ อบสมุนไพร     • สถานประกอบกิจการสปาเพื่อสุขภาพ กิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือกิจการนวดเพื่อความงาม 2.2 สถานศึกษา     • สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน     • โรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือสถาบันการศึกษาระดับที่ต่ำกว่าอุดมศึกษา     • สถานกวดวิชา สถานที่สอนกีฬา ดนตรี ขับร้อง การแสดง ศิลปะป้องกันตัว ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ ศิลปะ ภาษาและอื่นๆ     • สถานฝึกอบรมอาชีพ     • อุทยานการเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ หรือศูนย์การเรียนรู้ชุมชน     • หอศิลป์ พิพิธภัณฑ์สถาน หรือสถานที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรม 2.3 สถานที่สาธารณะที่ใช้ประโยชน์ร่วมกัน     • อัฒจันทร์หรือสถานที่ดูกีฬาทุกประเภท     • สถานที่ออกกำลังกาย ซ้อมกีฬา เล่นกีฬา หรือสนามแข่งขันกีฬาทุกประเภท ทั้งในร่มและกลางแจ้ง     • สระว่ายน้ำ 2.4 ร้านค้า สถานบริการ และสถานบันเทิง     • โรงมหรสพ โรงละคร โรงภาพยนตร์     • สถานที่จัดเลี้ยงทั้งหมด     • สถานบริการตามพระราชบัญญัติสถานบริการ
        • สถานที่ให้บริการคาราโอเกะหรือสถานบันเทิงอื่นๆ     • สถานที่บริการคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต หรือเกมส์     • สถานที่จำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารและเครื่องดื่มที่มีระบบปรับอากาศ     • อาคารร้านค้าประเภทห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า     • สถานที่จำหน่าย แสดง จัดนิทรรศการสินค้าหรือบริการ 2.5 บริเวณโถงพักคอย และบริเวณทางเดินทั้งหมดภายในอาคาร     • โรงแรม รีสอร์ท หรือสถานที่พักตากอากาศ     • ห้องเช่า หอพัก อพาร์ทเมนต์ คอร์ท หรือสถานที่ที่ให้บริการในลักษณะเดียวกัน     • อาคารชุดหรือคอนโดมิเนียม 2.6 สถานบริการทั่วไป     • อาคารหรือสถานที่ที่ใช้ในการจัดประชุม อบรม สัมมนาหรือ สันทนาการ     • ร้านตัดผม สถานเสริมความงาม ร้านตัดเสื้อผ้า     • ธนาคารหรือสถาบันการเงิน 2.7 สถานที่สาธารณะทั่วไป     • ห้องสมุด     • สุขา     • ตู้โทรศัพท์สาธารณะ หรือบริเวณที่ให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ     • ลิฟต์โดยสาร     • สวนสาธารณะ สวนสัตว์ สวนสนุก     • สนามเด็กเล่น     • ตลาด 2.8 ยานพาหนะสาธารณะ ในขณะให้บริการไม่ว่าจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม     • รถโดยสารประจำทาง     • รถแท็กซี่     • รถไฟ รถราง     • รถตู้โดยสาร     • รถรับส่งนักเรียนหรือนิสิตนักศึกษาทุกประเภท     • ยานพาหนะโดยสารที่ใช้ในภารกิจที่เป็นลักษณะส่วนกลางของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ รวมทั้งของเอกชน     • กระเช้าโดยสาร/เรือโดยสาร/เครื่องบิน     • ยานพาหนะโดยสารอื่นๆ ทั้งประเภทประจำทางและไม่ประจำทา     • สถานีขนส่งสาธารณะ และที่พักผู้โดยสาร
        • ป้ายรถโดยสารประจำทาง และบริเวณที่ใช้รอก่อนหรือหลังการใช้บริการยานพาหนะโดยสารทุกประเภท 2.9 ศาสนสถาน /สถานปฏิบัติธรรมในศาสนาและนิกายต่างๆ เช่น วัด มัสยิด โบสถ์ เป็นต้น
  3. การประเมินติดตามผล และกำหนดมาตรการให้คุณให้โทษแก่ผู้ที่ปฏิบัติตาม หรือต่อผู้ที่ละเมิดฝ่าฝืน
7 เพื่อพัฒนารูปแบบการสื่อสารข้อมูลยาสูบในชุมชน

เน้นการตื่นรู้ของชุมชนให้รู้เท่าทันพิษภัยยาสูบและกลยุทธ์อุตสาหกรรมยาสูบ (ระบุ รูปแบบการสร้างกระแส/พัฒนารูปแบบการสื่อสาร/ชุดทดลองอันตรายจากยาสูบ ฯลฯ)

วิธีการ

  1. กิจกรรมการสร้างกระแสรณรงค์ตามช่องทางต่างๆ เช่น เสียงตามสาย รายการวิทยุชุมชน
  2. พัฒนารูปแบบการสื่อสารใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย ร่วมกับการรณรงค์ทางสังคมให้เกิดการเรียนรู้เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมการไม่สูบยาสูบ
  3. การสร้างสื่อเชิงประจักษ์ เช่น ชุดทดลอง/อุปกรณ์สาธิตอันตรายจากยาสูบ
  4. การพัฒนาฐานข้อมูลด้านยาสูบและสุขภาพของชุมชน เช่น สถิติการป่วย-การตายของประชากรในชุมชน สถิติอุบัติการณ์ความชุกโรคไม่ติดต่อและพิการ และจัดให้มีการสะท้อนข้อมูลเหล่านี้สู่ชุมชน เพื่อร่วมกันควบคุมแก้ไขปัญหา
  5. ส่งเสริมการผลิตสื่อหรือการละเล่นในชุมชน เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ที่เน้นการให้ความรู้ การชี้แนะ (Advocate) ของพิษภัยยาสูบต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง
8 เพื่อเพิ่มผู้ขับเคลื่อนการควบคุมยาสูบในระดับพื้นที่
  1. สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มของชาวบ้านท้องถิ่น ในระดับตำบล หมู่บ้าน เช่น ในรูปของกลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้ไม่สูบยาสูบ ชมรมผู้สูงอายุ ชมรมปอดสะอาด
  2. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน และกลุ่มอาสาเฝ้าระวังยาสูบในชุมชน
  3. จัดประชุมกลุ่มเพื่อนำเสนอปัญหาและหาทางแก้ไข ประจำสัปดาห์ /เดือน
  4. การเสวนาระดับท้องถิ่น / ชุมชน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกัน
  5. จัดโปรแกรมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม การเลิกสูบยาสูบ หรือค่ายเลิกยาสูบโดยชุมชน
  6. ส่งเสริมให้กลุ่ม / ชมรม / สมาคม องค์กรเอกชนต่างๆ ในชุมชน มีส่วนร่วม ในการกำหนดนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ เช่น เวทีสมัชชาสุขภาพของจังหวัด
  7. ส่งเสริมการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายของกลุ่มคนทำงานด้านการควบคุมยาสูบที่ทำงานในระดับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
9 เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยการสร้างพื้นที่และบุคคลต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบในชุมชนแบบครบวงจร

• ศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน     • หอชุมชนแสดงรางวัลเชิดชูเกียรติ (บุคคลต้นแบบ และพื้นที่ต้นแบบ)     • กลุ่มเยาวชนแกนนำในการขับเคลื่อน     • ทำเนียบบุคคลต้นแบบด้านการ ลด ละ เลิกยาสูบ     • แหล่งรวบรวมองค์ความรู้และนวัตกรรมในการควบคุมการบริโภคยาสูบ

วิธีการ

  1. การกำหนดความเชื่อที่ส่งผลต่อพฤติกรรมร่วมกันของชุมชน (mindset) ว่า ยาสูบในชุมชนเป็นสิ่งที่ควบคุมได้
  2. การสร้างทีมปฏิบัติการชุมชนแบบบูรณาการ ที่ประกอบด้วย ผู้บังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจ ผู้นำศาสนา ผู้นำทางศรัทธา เช่น เจ้าอาวาส พระ ปราชญ์ในหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขชุมชน ผู้แทนในระดับท้องถิ่น หน่วยบริการสุขภาพ ผู้ประกอบการด้านสุขภาพในท้องถิ่น และ ตัวแทนสมาคม ชมรม ต่างๆ ในชุมชน เป็นต้น
  3. การสำรวจทุนทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการบริโภคยาสูบในชุมชน เช่น     • ด้านการบริหารงานโครงการ โดยเป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในการขับเคลื่อนบริหารจัดการโครงการ     • ด้านแกนนำชุมชน เป็นผู้ที่ได้รับความเชื่อถือและเป็นผู้ที่มีความสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนได้     • ด้านผู้นำด้านสุขภาพ เป็นแกนนำในการหาข้อมูลเชิงลึก การลงพื้นที่ การประสานงานโดยตรงกับประชาชน     • ด้านศาสนาเป็นบุคคลที่มีเป็นผู้นำการสั่งสอน ให้รู้ถึงศีลธรรม วัฒนธรรมอันดี เพื่อโน้นน้าวจิตใจของประชาชน โดยมีศาสนาเป็นสื่อนำ     • ด้านการศึกษา โดยเป็นแกนนำที่คอยสนับสนุนและส่งเสริมด้านการศึกษา ให้ความรู้แก่นักเรียนและประชาชนทั่วไปได้     • กลุ่มทางสังคม องค์กรชุมชน เช่น ชมรมผู้สูงอายุ สภาเด็กและเยาวชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชมรมคนพิการ
  4. การวิเคราะห์สถานการณ์และแนวโน้ม สภาพปัญหาและความต้องการควบคุมการบริโภคยาสูบของพื้นที่ เพื่อประเมินสภาพชุมชนร่วมกันว่ามีกิจกรรมดำเนินงานเพื่อการจัดการและควบคุมยาสูบในชุมชนหรือไม่ เช่น     • ในชุมชนมีหน่วยบริการสุขภาพที่มีระบบบริการช่วยเลิกยาสูบหรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายปลอดควันยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีนโยบายเขตปลอดยาสูบภายนอกอาคารตลอด 24 ชั่วโมง หรือไม่     • ในชุมชนมีการประเมินการบริโภคยาสูบของประชาชนหรือไม่     • ในชุมชนมีการคัดกรอง การประเมินการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่     • ในชุมชนมีการให้คำปรึกษาและคำแนะนำเกี่ยวกับโทษของการบริโภคยาสูบและการสัมผัสควันยาสูบ หรือไม่     • ในชุมชนมีระบบส่งต่อผู้ป่วยให้สามารถเข้าถึงทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนสำหรับการหยุดบริโภคยาสูบหรือไม่     • ในชุมชนมีบุคคลหรือพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการควบคุมยาสูบหรือไม่
  5. กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการปัญหาการบริโภคยาสูบในเขตของพื้นที่รับผิดชอบ เช่น
        • การพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลในชุมชน     • เน้นการศึกษาให้รู้ข้อมูล/ความจริง     • การทำงานเชิงรุกแทนการตั้งรับ     • คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องรอบด้าน     • มีขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจนและเป็นระบบ     • ระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนมาร่วมกันดำเนินงาน
  6. การต่อยอดให้เป็นศูนย์ประสานงานเครือข่ายด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบของชุมชน ที่อาศัยทั้ง
    (1) นักบริหาร (2) นักวิชาการชุมชนท้องถิ่น (3) นักจัดการและนักจัดกระบวนการชุมชน
    (4) นักจัดการข้อมูล และ
    (5) นักสื่อสารสุขภาพในชุมชน
  7. ติดตามอย่างต่อเนื่องและเสริมพลังอำนาจของทุกฝ่าย
paid
งบประมาณที่ตั้งไว้ตามแผนงาน (บาท)
0.00
stars
โครงการที่ควรดำเนินการ
ชื่อโครงการย่อยประเภทผู้รับผิดชอบงบประมาณที่ตั้งไว้ (บาท)
1 คนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่และยาเสพติด โรงเรียน 25,000.00
2 ชุมชนตำบลเกาะขนุน ปลอดบุหรี่และสารเสพติด เทศบาลตำบล 38,000.00
stars
โครงการที่ขอการสนับสนุนจากกองทุน
ยังไม่มีโครงการที่ขอการสนับสนุนจากกองทุนของแผนในปีนี้
stars
โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อติดตาม
ยังไม่มีโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อติดตามของแผนในปีนี้