1.ผลลัพธ์
คลินิก DPAC ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต มีการดำเนินการเพื่อให้เกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและมีการจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวออกแรง/ออกกำลัง พร้อมทั้งสนับสนุนให้เกิดผลการปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานที่กำหนดไว้แต่ละกลุ่มวัยอย่างถูกต้อง สนับสนุนให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติ
โดยมีการดำเนินการตามองค์ประกอบหลัก DPAC คุณภาพ
1.มีการนำองค์กร
2.มีการวางแผนและบริหารเชิงกลยุทธ์
3.มีการมุ่งเน้นผู้รับบริการและประชาชน
4.มีการวัด วิเคราะห์และการจัดการความรู้
5.มีการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล
6.มีการจัดการกระบวนการ
7.มีผลลัพธ์การดำเนินงาน
อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ปี 2562 กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จากการคัดกรองจำนวน 450 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 1.78
อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ปี 2563 กลุ่มเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน จากการคัดกรองจำนวน 405 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 1.23
จากข้อมูลเปรียบเทียบได้ว่า อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ลดลง 3 คน คิดเป็นร้อยละ 1.87
2. ระยะเวลาดำเนินการ
1. พัฒนาคลินิกไร้พุง ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 สิงหาคม 2563
2. ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรายเก่า/ใหม่ในคลินิก
เดือนกรกฎาคม 2563-สิงหาคม 2563
3. สถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
4. การเบิกจ่ายงบประมาณ
งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ 37,300 บาท
งบประมาณเบิกจ่ายจริง 32,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 86.60
งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุนฯ 5,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 13.40
รายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 45 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม วิทยากร และผู้จัด จำนวน 45 คน x
1 มื้อ x50 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท
3. ค่าสมนาคุณวิทยากร มีรายละเอียดดังนี้
- นางกษิมา ศรีสวัสดิ์ จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
4. Roll up โปรแกรมการออกกำลังกาย E75 ขนาด 60 x160 ซม. x 8 ป้าย x
1,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
5. อุปกรณ์การออกกำลังกาย (เครื่องออกกำลังกาย) จำนวน 1 เครื่อง x 18,000 บาท เป็นเงิน 18,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 32,300 บาท (สามหมื่นสองพันสามร้อยบาทถ้วน)
5. ผลที่ได้รับ
1. ประชาชนได้รับบริการจากคลินิก DPAC ที่มีมาตรฐาน
2. ลดอัตราป่วยในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง และลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง