กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการการจัดการขยะของครัวเรือนหมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาขยาด

คณะกรรมการหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด

1. นายวิเชล ขวัญศรี
2. นางพิกุล เพ็งจันทร์
3. นางมณฑาทิพย์ อิ่มประดับ
4. นางเบญจมาศ พงศ์วิทยารักษ์
5. นายโอน ชูช่วย

ศาลาหมู่บ้าน บ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

 

300.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

 

24.82
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

 

24.82
4 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

 

4.96

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน

300.00 250.00
2 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ

4.96 8.86
3 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse)

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง (reuse) เช่น การใช้ถุงพลาสติกซ้ำ ใช้ขวดน้ำซ้ำ ใช้กระดาษสองหน้า

24.82 31.91
4 เพื่อเพิ่มครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ

24.82 31.91

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 40
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/06/2025

กำหนดเสร็จ 19/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 5 คน สถานที่ประชุม ศาลาหมู่บ้าน บ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด เป้าหมายเพื่อแต่งตั้้งคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ มอบหมายงานให้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่ายดังนี้
1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท/คน/มื้อ จำนวน 5 คน เป็นเงิน 125บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการที่มีความรู้ความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
125.00

กิจกรรมที่ 2 การจัดการขยะในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การจัดการขยะในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการจัดการขยะในชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลนาขยาด เพือลดปริมาณขยะของครัวเรือน เพิ่มครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะเป็นประจำ และเพิ่มครัวเรือนที่ใช้วัสดุอย่างคุ้มค่าก่อนทิ้งหรือใช้ประโยชน์จากขยะเปียก ประกอบด้วยคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 5 คน และผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 40 คน รวม 45 คน การจัดกิจกรรม จัด 1 วัน (เวลา 09.00 - 16.00 น.) แบ่งกิจกรรมเป็น 2 ช่วง ดังนี้ กิจกรรมช่วงที่ 1 อบรมให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในครัวเรือน อบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการคัดแยกขยะในครัวเรือน กิจกรรมช่วงที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการแปรรูปขยะและการจัดทำน้ำหมักชีวภาพ มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1 ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมงชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
2 ค่าอาหารกลางวัน 1 มื้อ มื้อละ 60 บาท จำนวน 45 คน (1x60x45) เป็นเงิน 2,700 บาท
3 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 2 มื้อ มื้อละ 25 บาท จำนวน 45 คน (2x25x45) เป็นเงิน 2,250 บาท
4 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการคัดแยกขยะ 1,020 บาท
5 ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูปขยะและจัดทำน้ำหมักชีวภาพ 1,800 บาท
6 ค่าป้ายไวนิล ขนาดกว้าง 120 เซนติเมตร ยาว 240 เซนติเมตร เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กรกฎาคม 2568 ถึง 29 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่เข้าอบรมได้รับความรู้และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ โดยมีการคัดแยกขยะเป็นประจำ สามารถนำวัสดุมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง และสามารถใช้ประโยชน์จากขยะเปียกได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10670.00

กิจกรรมที่ 3 การประเมินและถอดบทเรียน

ชื่อกิจกรรม
การประเมินและถอดบทเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการ ถอดบทเรียน สรุป รายงานโครงการ มีค่าใช้จ่ายดังนี้
1 ค่าอาหารว่าง จำนวน 5 คน 1 มื้อ มื้อละ 25 บาท เป็นเงิน 125 บาท
2 ค่าจัดทำรายงานโครงการจำนวน 2 เล่ม เล่มละ 80 บาท เป็นเงิน 160 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1 มีรายงานโครงการจำนวน 2 เล่ม
2 ทราบปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำโครงการ
3 ถอดบทเรียนจากการจัดทำโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
285.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 11,080.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้ที่เข้าอบรมได้รับความรู้และสามารถจัดการขยะในครัวเรือนได้ โดยมีการคัดแยกขยะเป็นประจำ สามารถนำวัสดุมาใช้อย่างคุ้มค่าที่สุดก่อนทิ้ง และสามารถใช้ประโยชน์จากขยะเปียกได้ ส่งผลให้ชุมชนบ้านศาลาต้นรัก หมู่ที่ 1 มีปริมาณขยะครัวเรือนลดลง


>