แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน รหัส กปท. L3003
อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความของ การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Use) ไว้ คือ ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมกับปัญหาสุขภาพ โดยใช้ยาในขนาดที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม และค่าใช้จ่ายต่อชุมชนและผู้ป่วยน้อยที่สุด "Patients receive medications appropriate to their clinical needs, in doses that meet their own individual requirements ,for an adequate period of time, and at the lowest cost to the and their community " (WHO ,1985) ซึ่งสอดคล้องกับคำจำกัดความตามคู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ : 2552 ที่ขยายความว่า การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล หมายถึง การใช้ยา โดยมีข้อบ่งชี้เป็นยาที่มีคุณภาพ มีประสิทธิผลจริง สนับสนุนด้วยหลักฐานที่เชื่อถือได้ ให้ประโยชน์ทางคลินิก เหนือกว่าความเสี่ยงจากการใช้ยาอย่างชัดเจน มีราคาเหมาะสม คุ้มค่าตามหลักเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข ไม่เป็นการใช้ยาอย่างซ้ำซ้อน คำนึงถึงปัญหาเชื้อดื้อยา เป็นการใช้ยาในกรอบบัญชียายังผลอย่างเป็นขั้นตอนตามแนววางพิจารณาการใช้ยา โดยใช้ยาในขนาดที่พอเหมาะกับผู้รับบริการในแต่ละกรณีด้วยวิธีการให้ยาและความถี่ในการใช้ยาที่ถูกต้องตามหลักเภสัชวิทยาคลินิก ด้วยระยะเวลาการรักษาที่เหมาะสม ผู้รับบริการให้การยอมรับและสามารถใช้ยาดังกล่าวได้อย่างถูกต้องและต่อเนื่อง กองทุนในระบบประกันสุขภาพหรือระบบสวัสดิการสามารถให้เบิกจ่ายยานั้นได้อย่างยั่งยืน เป็นการใช้ยาที่ไม่เลือกปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับบริการทุกคนสามารถใช้ยานั้นได้อย่างเท่าเทียมกันและไม่ถูกปฏิเสธยาที่สมควรได้รับ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาการศึกษาต่างๆ แสดงว่า ยังมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในอัตราที่สูงอาจถึงครึ่งหนึ่งของการใช้ยาทั้งหมด โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียตามมาทั้งในระดับ บุคคลผู้ใช้ยา ทำให้เกิดปัญหาต่อประสิทธิผลของการรักษา และปัญหาจากความคลาดเคลื่อนหรือผลข้างเคียงของยา ไปจนถึงสังคมโดยรวม เช่น การเกิดแนวคิดว่าเมื่อเจ็บป่วยแล้วจะต้องกินยา(one pill for every ill ) ทำให้ความต้องการในการใช้ยาเพิ่มมากขึ้นโดยไม่จำเป็น หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เช่น การเกิดปัญหาเชื้อโรคดื้อยา (antimicrodial resistance) มากขึ้น จากการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่เป็นไปตามข้อบ่งชี้ ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น มีอัตราการเสียชีวิตสูงขึ้น และนำไปสู่ความสูญเสียทางเศรษฐกิจ แม้การส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในประเทศไทยจะได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2524 แต่ก็ยังไม่เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ควร จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของประเทศที่ต้องปรับการดำเนินการให้เหมาะสมยิ่งขึ้น และควรได้รับการยกสถานะเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งในเวลาต่อมานโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ.2554 ได้มีการบรรจุให้การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลเป็นยุทธศาสตร์ ด้านที่ 2 ของยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ พ.ศ.2555-2559 ยุทธศาสตร์ด้านที่ 2 การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาของแพทย์บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนให้เป็นไปอย่างสมเหตุสมผล ถูกต้อง และคุ้มค่า โดยได้กำหนดยุทธศาสตร์ย่อยไว้ 7 ประการ ได้แก่ 1.การพัฒนาระบบ และกลไกลการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 2.การพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ 3.การพัฒนากลไกและเครื่องมือเพื่อให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 4.การสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 5.การส่งเสริมการผลิตและประกันคุณภาพยาชื่อสามัญ 6.การพัฒนาระบบและกลไกป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาต้านจุลชีพ และการดื้อยาของเชื้อโรค 7.การส่งเสริมจริยธรรมผู้สั่งใช้ยา และยุติการส่งเสริมการขายที่ขาดจริยธรรม แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน คือ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 ได้มีการกำหนดทิศทางของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้ประเทศสามารถก้าวข้ามความท้าท้ายต่างๆ เพื่อให้ ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ โดยอาศัยหลักการและแนวคิด 4 ประการ ดังนี้ 1.หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2.การสร้างความสามารถในการ ล้มแล้ว ลุกไว 3.เป้าหมายการพัฒนาอย่างยังยืนของสหประชาชาติ 4.การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมันเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยแผนกลยุทธ์รายหมุนหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล RDU โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านถนน เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล (Rational Drug Use: RDU) ในชุมชน รพสต.บ้านถนน ปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ขึ้นเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลถนนในการให้คนในชุมชนมีการพัฒนาการจัดการเรื่องยาให้สมเหตุสมผลและปลอดภัยในระยะยาวต่อไป
- 1. พัฒนาศักยภาพการใช้ยาในชุมชน โดยการจัดอบรมเพิ่มทักษะและความรู้เรื่องยาปฎิชีวนะ ยาชุดและ ยาสเตียรอยด์รายละเอียด
- ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าป้ายสุขศึกษา ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 100 คนๆละ 50 จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าบริการอาหารว่าง จำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,000 บาท
- ค่าป้ายสุขศึกษา ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
- ค่าเอกสารความรู้เรื่องยา ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
จำนวน 100 ชุด
- ค่าถ่ายเอกสาร ประกอบเอกสารเข้ารูปเล่ม เป็นเงิน 500 บาท
งบประมาณ 16,300.00 บาท - ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2*2 เมตร เป็นเงิน 500 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 4 มิถุนายน 2568 ถึง 22 กันยายน 2568
ตำบลถนน
รวมงบประมาณโครงการ 16,300.00 บาท
7.1 ประชาชนมีความรู้และความเข้าใจในการใช้ยาอย่างปลอดภัย 7.2 ประชาชนลดการใช้ยาสเตียรอยด์ ยาชุดและยาปฎิชีวนะโดยไม่จำเป็น
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน รหัส กปท. L3003
อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถนน รหัส กปท. L3003
อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................