กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2566 - กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง
ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมขอบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ ด้านที่ผสมผสานกันอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุ์กรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ

ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง บรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล มีการจัดทำแผนงาน ที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น โดยในระยะแรกอาจเลือกใช้แผนสุขภาพชมชน และในระยะต่อไปมีการพัฒนาขึ้นโดยนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป

stars
ข้อมูลกองทุน

ส่วนที่ 1 สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน 1.ด้านกายภาพ 1.1 ที่ตั้งตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง ตั้งอยู่เลขที่ 76 หมู่ที่ 3 ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ห่างจากที่ว่าการอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง ประมาณ 13 กิโลเมตร ได้ยกฐานะจากองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล ในวันที่  27 ตุลาคม 2552 เทศบาลตำบลอ่างทอง มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลต่าง ๆ ดังนี้ ทิศเหนือ    จดตำบลชุมพล    อำเภอศรีนครินทร์ และตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ จดตำบลสมหวัง    อำเภอกงหรา    จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก จดตำบลร่มเมือง    อำเภอเมือง    จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก จดตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง 1.2ลักษณะภูมิประเทศ ตำบลอ่างทอง มีทั้งที่ราบ ที่สันดอน มีคลองลำไหลผ่านทางตอนใต้แบ่งเขตกับอำเภอกงหรา
คลองนาท่อม ไหลผ่านตอนกลางของตำบล ประวัติความเป็นมา เดิมตำบลอ่างทองเป็นพื้นที่ของตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง ต่อมาเมื่อปี 2525 ตำบลร่มเมืองได้แบ่งออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลร่มเมือง และตำบลอ่างทอง ซึ่งคำว่าอ่างทองเป็นชื่อของบ้านใหญ่บ้านหนึ่งในตำบลอ่างทองจึงได้นำมาตั้งชื่อตำบล อีกนัยหนึ่งมีคนเล่าว่าเมื่อประมาณ 200 กว่าปีหมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีชื่อเรียก  เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดกับสายน้ำ  เรียกว่า  “คลองใหญ่” ซึ่งเป็นสายหลักของการสัญจร ซึ่งในอดีตการสัญจรใช้ทางเรือเป็นส่วนใหญ่ และในคลองสายดังกล่าวมีวังน้ำวนอยู่จุดหนึ่ง เรียกว่า “วังเวียน” และครั้งหนึ่งได้มีการนำทองคำเพื่อไปหล่อพระธาตุ เมื่อเรือล่องมาถึงวังเวียนเรือเกิดล่มสูญหายทั้งคนและทองคำ อยู่มาวันหนึ่งมีชาวบ้านเห็นอ่างทองคำใบใหญ่ลอยอยู่กลางน้ำตรงวังเวียน เมื่อมีคนเห็นอ่างทองคำก็จะจมลง แต่ยังมีคนเห็นอ่างลอยขึ้นมาในช่วงวันขึ้น 8 ค่ำของทุกเดือน เรื่องนี้รู้ไปถึงข้าหลวงจึงให้มีผู้รู้มาทำพิธีคล้องอ่างทองคำขึ้นมาจากสายน้ำ โดยใช้สายสิญจน์ลงอาคมคล้องขึ้นมา ขณะที่ทำพิธีคล้องอยู่นั้น เชือกได้ขาดจากอ่างทองคำ และอ่างทองคำได้จมลง ณ วังเวียนแห่งนั้น และนับจากนั้นก็ไม่มีใครได้พบเห็นอ่างทองคำนั้นอีกเลย ชาวบ้านจึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านอ่างทอง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา








แผนที่แสดงเขตตำบลอ่างทอง




















1.2ลักษณะภูมิอากาศ สภาพภูมิอากาศมี 2 ฤดูกาล คือ ฤดูร้อน และฤดูฝนได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุม ตะวันตกเฉียงใต้ ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ย 1,853.5 มิลลิเมตรต่อปี จำนวนวันฝนตกเฉลี่ย 154 วันต่อปี อุณหภูมิ สูงสุดเฉลี่ย 29.3 องศาเซลเซียส ในเดือนเมษายน และอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 26.7 องศาเซลเซียส ในเดือนธันวาคม อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 28.14 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 75 – 83 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ย 78.7 เปอร์เซ็นต์ และความเร็วลมประมาณ 1-2 เมตรต่อวินาที ปริมาณการระเหยของน้ำประมาณ 3.3- 5.5 มิลลิเมตรต่อวัน 1.3ลักษณะของแหล่งน้ำ - ลำน้ำ ,ลำห้วย 9 แห่ง - บึง,หนองน้ำ 1 แห่ง แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น - ฝาย 4 แห่ง - อ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง - บ่อน้ำตื้น 80 แห่ง - เหมืองดาดคอนกรีตส่งน้ำ 1 แห่ง 2.ด้านการเมือง/การปกครอง 2.1 เขตการปกครอง เทศบาลตำบลอ่างทอง มีเนื้อที่ทั้งหมด 21.14 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นไร่ได้ประมาณ 13,121.5 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้านในเขตตำบล รวม 8 หมู่บ้าน มีพื้นที่การปกครองเต็มพื้นที่ โดยแยกจำนวนหมู่บ้านในเขตเทศบาลตำบล รวมทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ดังนี้ 1. หมู่ที่ 1 บ้านประดู่    มี นายธนพงศ์ เรืองแก้ว เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 2. หมู่ที่ 2 บ้านสวนหลวง มี นายสุทธิพงศ์ คงย้อย เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 3. หมู่ที่ 3 บ้านอ่างทอง มี นายปกครอง สังเศษ เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 4. หมู่ที่ 4 บ้านโหละหนุน มี นายถาวร เรืองแก้ว เป็น กำนัน 5. หมู่ที่ 5 บ้านปากแพรก มี นายอติคม มากทอง เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 6. หมู่ที่ 6 บ้านเกาะเหรียง มี นายพิเชตฐ  สว่างรัตน์    เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 7. หมู่ที่ 7 บ้านต้นตอ    มี นายธีวา ซ้ายเซี้ย    เป็น ผู้ใหญ่บ้าน 8. หมู่ที่ 8 บ้านเกาะขัน มี นายสงบ สังมาก    เป็น ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน
1. นายสุชาติ หนูดำ 2. นายกิตติ ฤทธิเรือง แพทย์ประจำตำบลอ่างทอง
นายเฉลิม ผอมสวัสดิ์ ๓.สภาพทางสังคม ๓.1 การศึกษา - โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง (ขยายโอกาส 1 แห่ง) และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง (เปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี ) ชื่อโรงเรียน                  สถานที่ตั้ง        จำนวนนักเรียน (คน)                                       2563 2564 2565 1.โรงเรียนบ้านโหละหนุน        ม.4 ต.อ่างทอง      77  84      88 2.โรงเรียนวัดร่มเมือง (ขยายโอกาส)  ม.3 ต.อ่างทอง      133  125 127 3. โรงเรียนบ้านอ่างทอง        ม.3 ต.อ่างทอง      127  139 140 4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านอ่างทอง  ม.3 ต.อ่างทอง      47  48      54 ที่มา : ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2565 กองการศึกษา ทต.อ่างทอง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 8 แห่ง - ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง - ศูนย์ข้อมูลข่าวสารระดับตำบล 1 แห่ง ๓.2 สาธารณสุข - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ 1 แห่ง - สถานพยาบาลเอกชน 3 แห่ง - ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน 8 แห่ง - อัตราการมีและการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

            แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ "กองทุนระบบหลักประกันสุขภาพฯ  เป็นนโยบายรัฐบาล ซึ่งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.)ได้นำนโยบายนี้ไปสู่การปฏิบัติ  โดยให้ท้องถิ่นที่มีความพร้อมและสมัครใจเข้าร่วมโครงการ  สปสช. จะจัดสรรงบประมาณแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่หลักคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดและสำหรับปีงบประมาณ2561 ได้จัดสรรเป็นเงิน 45 บาทต่อประชาชนในพื้นที่หนึ่งคน  และท้องถิ่นตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เทศบาลตำบลขนาดกลาง(เทศบาลตำบลอ่างทอง) สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ 40   ถือเป็นแนวทางที่ดี  ที่เปิดโอกาสให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ ในแง่ของการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค  แก่ประชาชนในท้องถิ่นเอง    การจัดทำโครงการแผนสุขภาพชุมชน โดยใช้แผนพัฒนายุทธศาสตร์ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ของกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น  เทศบาลตำบลอ่างทอง  นับเป็นความคิดริเริ่มที่ดี  น่าจะเป็นแนวทางและเป็นแบบอย่างในการบริหารงานสาธารณสุข  ในอนาคต"   “วิสัยทัศน์”  คือการกำหนดทิศทางในการทำงานในอนาคต  เปรียบเสมือนภาพฝันขององค์กรที่อยากจะเห็น ในระยะยาว  วิสัยทัศน์  จะบรรลุตามจุดมุ่งหมายนั้นหรือไม่  ขึ้นกับว่าคนในองค์กรจะให้ความร่วมมือ ในทางบริหาร และนำไปการปฏิบัติจริงจังแค่ไหน  โดยหลักการ  เมื่อมีวิสัยทัศน์แล้ว  จะต้องร่วมกันกำหนดพันธกิจ หรือภารกิจ  กำหนดเป้าหมาย  และกลยุทธ์ขึ้นมาให้ชัดเจน   จากนั้นจึงนำไปสู่การวางแผน  การจัดทำโครงการ  และกิจกรรม  นำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน  ซึ่งก็คือการวางแผนยุทศาสตร์นั่นเอง                    คณะกรรมการฯ และทีมวิทยากรจึงได้วิสัยทัศน์ดังกล่าวขึ้นมา ต่อไปนี้คือ ผลการวิเคราะห์องค์กร โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis   ก่อนที่จะมาเป็นวิสัยทัศน์ข้างต้น จุดแข็ง  1. บุคลากรมีความรู้ และความสามารถ  พอเพียง
 2. การติดตามประเมินผลสม่ำเสมอ 3. คณะกรรมการมีความรู้  4. คณะกรรมการมีความร่วมมือที่ดี  5. มีการสื่อสารที่ดี
6. กรรมการเสียสละน้อย 7. แผนงานชัดเจน 8. มีประสบการณ์ 9. การประชุมอบรมอย่างต่อเนื่อง จุดอ่อน 1. งบประมาณไม่เพียงพอ โอกาส 1. ผู้นำศาสนา,ผู้นำท้องที่ที่เข้มแข็ง ส่งเสริมผลักดันการดูแลเรื่องสุขภาพของชุมชน 2. เครือข่ายมีส่วนร่วมในการสร้างสุขภาวะชุมชน 3. ได้รับงบประมาณจาก สปสช. และ เทศบาลตำบล เพิ่มขึ้น สิ่งคุกคาม (อุปสรรค)
  ๑. ภาวะเศรษฐกิจที่ต้องแก่งแย่งแข่งขันกัน  ทำให้คนดิ้นรน  มีความเสียสละต่อส่วนร่วมน้อย
  ๒. ประชาชนไม่เห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ

แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ วิสัยทัศน์  “ประชาชนตำบลอ่างทองสุขภาพดี สุขภาพแข็งแรง มีคุณภาพชีวิตที่ดี”
เป้าหมาย  1.สร้างหลักประกันสุขภาพให้ประชาชนในตำบลดอนทราย ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขได้ตามสิทธิ         อันพึงมีพึงได้         2.ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี         3.ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองทางด้านสุขภาพได้มากขึ้น         4.ส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมดูแลและบริหารจัดการระบบสุขภาพได้โดยถือว่า สุขภาพ เป็นเรื่อง
        ของประชาชนทุกคน         5.ส่งเสริมให้ระบบหลักประกันสุขภาพมีความยั่งยืนซึ่งจำเป็นต้องเป็นระบบที่มุ่งเน้น การสร้าง สุขภาพมากว่าการ
        ซ่อม สุขภาพ หน่วยงาน  กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น เทศบาลตำบลอ่างทอง

เป้าหมาย  ประชาชนตำบลอ่างทองสุขภาพดี ชุมชนเข้มแข็ง ตำบลพัฒนายั่งยืน


ประชาชน


ภาคี


กระบวนการ


พื้นฐาน


บริบทของชุมชน ปัจจัยภายนอกทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่เหมาะสมของตำบล

 





อดีต/ปัจจุบัน - การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง - ประชาชนไม่เห็นความสำคัญของการออกกำลังกาย - ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน อนาคต - อยากให้ประชาชนรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่ถูกต้องและมีประโยชน์ - อยากให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญของการออกกำลังกาย - อยากให้ประชาชนสนใจและรับฟังข่าวสารเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน และปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง อดีต/ปัจจุบัน - การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง - รูปแบบการประชาสัมพันธ์ไม่ดึงดูดใจ

อนาคต - อยากให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานอย่างเป็นระบบ - ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้จัดให้มีการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องความดันโลหิตสูง/เบาหวาน และโทษของโรคให้มากกว่านี้ ระดับภาคี ระดับรากฐาน อดีต/ปัจจุบัน - ผู้นำชุมชนไม่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน - เทศบาลตำบล ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณอย่างเพียงพอ - การร่วมกันแก้ไขปัญหาทั้งทางโรงพยาบาล รพ.สตใน
พื้นที่ สอ. อสม. ยังไม่ได้ทำงานอย่างเป็นทีม อนาคต - ต้องการให้ผู้นำชุมชนมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์ - ต้องการให้ เทศบาลตำบล สนับสนุนงบประมาณมาเพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวานอย่างต่อเนื่องและเต็มที่ - ต้องการให้ทุกหน่วยงานมีการประสานงานอย่างเป็นทีม - อยากให้ เทศบาลตำบล มีการสนับสนุนงบในการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อดีต/ปัจจุบัน - อสม. ไม่ได้มีการรณรงค์เกี่ยวกับโทษของโรคความดันโลหิตสูง/เบาหวาน - อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขละเลยการให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับเรื่องการกินที่ถูกต้อง(อาหารเค็ม มัน หวาน) - ทีมงานขาดทักษะ - ผู้นำไม่มีศักยภาพ - ขาดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ อนาคต - อสม.และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ความรู้แก่ประชาชน - อยากให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ก่อให้เกิดโรคความดันฯ/เบาหวาน - มีทักษะในการทำงานมากขึ้น - ผู้นำมีศักยภาพ

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...