กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2561 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ
ประจำปีงบประมาณ 2561

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

ข้อมูลทั่วไป

๑.สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละ

๑.๑ ที่ตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลบาละตั้งอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาบัง ประมาณ 10 กิโลเมตรมีเนื้อที่ทั้งหมด346ตารางกิโลเมตรสภาพพื้นที่โดยทั่วไป เป็นที่ราบเชิงเขา โดยมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ:ติดต่อกับตำบลกาบังจังหวัดยะลา ทิศใต้:ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทิศตะวันออก:ติดกับอำเภอยะหาจังหวัดยะลา ทิศตะวันตก :ติดต่อกับอำเภอสะบ้ายย้อยจังหวัดสงขลาประเทศมาเลเซีย





๑.๒ จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาละประกอบด้วยจำนวนประชากร11หมู่บ้าน หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนเพศหญิง (คน) จำนวนเพศชาย (คน) 1 บ้านบาละ 466 622 608 2 บ้านคลองน้ำใส 623 556 668 3 บ้านหินลูกช้าง 264 252 284 4 บ้านคชศิลา 257 270 297 5 บ้านสี่สิบ 435 736 819 6 บ้านใหม่ 255 257 300 7 บ้านคลองปุด 415 736 761 8 บ้านคลองชิง 367 607 657 9 บ้านคลองพี 192 239 255 10 บ้านเมาะยี 234 294 319 11 บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 11 72143 155

๑.๓จำนวนประชากร ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบาละประกอบด้วยจำนวนประชากร11หมู่บ้านแบ่งเป็น(ข้อมูล ณ วันที่ ๑ กรกฎาคม๒๕59)

หมู่ที่ หมู่บ้าน ชื่อผู้ปกครองหมู่บ้าน ตำแหน่ง จำนวนประชากร จำนวนครัวเรือน ชาย หญิง รวม
๑ บ้านบาละ นายสมชายดำแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน 605 632 1232
๒ บ้านคลองน้ำใส นายเอมรันวาเต๊ะ ผู้ใหญ่บ้าน 672 560 1232
๓ บ้านลูกช้าง นายเสถียร หนูแดง ผู้ใหญ่บ้าน 288 251 539
๔ บ้านคชศิลา นายสุรินทร์ จัลวรรณา ผู้ใหญ่บ้าน 297 266 563
5 บ้านสี่สิบ นายมะปีเยาะสาและ ผู้ใหญ่บ้าน 828 754 1582
6 บ้านใหม่ นายคล่องพรหมแก้ว ผู้ใหญ่บ้าน 298 257 555
7 บ้านคลองปุด นายซอเร มะลี ผู้ใหญ่บ้าน 779 760 1539
8 บ้านคลองชิง นายยะฟาร์ยะโก๊ะ กำนัน 675 619 1294
9 บ้านคลองพี นายธีระพงศ์มณีรัตน์ ผู้ใหญ่บ้าน 257 241 498
10 บ้านเมาะยี นายอัดมี สนีเย็ง ผู้ใหญ่บ้าน 318 291 609
11 บ้านจุฬาภรณ์ฯ 11 นายอับดุลรอแมเจ๊ะมามะ ผู้ใหญ่บ้าน 161 147 308
รวม 5178 4778 9956
ข้อมูลจากสำนักทะเบียนอำเภอกาบัง ณ เดือน กรกฎาคม2560


จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุประชาชน ๕ กลุ่มเป้าหมาย ตำบลบาละ ช่วงอายุประชากร เพศชายเพศหญิงรวม
0 – ๕ ปี
๖– ๒๔ ปี
๒๕ – ๖๐ ปี
๖๑ ปีขึ้นไป 338 437 775 รวม



























๑.๔ ข้อมูลด้านสุขภาวะของประชากร ๑.๔.๑ข้อมูลการเจ็บป่วย ลำดับที่ สาเหตุการเจ็บป่วยโรค ๑ โรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่นๆ ๒ ฟันผุ ๓ ความดันโลหิตสูงที่ไม่มีสาเหตุนำ ๔ เนื้อเยื่อผิดปกติ ๕ คออักเสบเฉียบพลันและต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ๖ ความผิดปกติอื่นๆของฟันและโครงสร้าง ๗ โรคอื่นๆของผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ๘ โรคอื่นๆของหลอดอาหาร กระเพาะและดูโอเดนัม ๙ เบาหวาน ๑๐ โรคอื่นๆของช่องปาก ต่อมน้ำลายและขากรรไกร ข้อมูลจาก สสอ.กาบัง ๒560 ๑.๔.๑ข้อมูลการเจ็บป่วย
๑๐. อันดับโรคของตำบลบาละ ลำดับที่ โรค จำนวนผู้ป่วย รวม รพ.สต.บาละ (คน) รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส (คน) รพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยัง (คน)
๑ โรคระบบหายใจ
๒ อาการ อาการแสดงและสิ่งผิดปกติที่พบได้จากการตรวจทางคลินิกและทางห้องปฏิบัติการ
๓ โรคระบบไหลเวียนเลือด
๔ โรคระบบกล้ามเนื้อ
๕ โรคผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
๖ โรคย่อยอาหารรวมโรคในช่องปาก 145 - 145 ๗ โรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ 59 59 118 ๘ โรคตารวมส่วนประกอบของตา 30 49 79 ๙ โรคติดเชื้อและปรสิต 53 21 74 ๑๐โรคหูและปุ่มกกหู 9 3 12 ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ณ เดือน กรกฎาคม๒๕60

๑.๔.๒ข้อมูลการระบาดของโรค ๓ ปีย้อนหลัง (๒๕๕5-๒๕๕7) ลำดับ โรค ปี 2560 ปี 2559 ปี 2558 จำนวน(ราย) จำนวน(ราย) จำนวน (ราย)

๑ โรคติดเชื้อของทางเดินหายใจส่วนบนแบบเฉียบพลันอื่นๆ 19 19 2 ๒ โรคตาแดง 14 8 11 ๓ โรควัณโรค 2 2 0 ๔ โรคไข้เลือดออก 1 0 0 ๕ โรคมือเท้าปาก 1 0 1 6 ปอดบวม 5 0 0 ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไหม้และบ้านรังมดแดง ณ เดือน กรกฎาคม๒๕๕๗

สถิติข้อมูลการระบาดของโรค ๓ ปีย้อนหลัง (๒๕๕5-๒๕๕7)


จำนวนประชากร (คนพิการ) รายประเภท

ประเภท รวม มองเห็น ได้ยิน เคลื่อนไหว/ร่างกาย จิตใจ สติปัญญา เรียนรู้ ซ้ำซ้อน อวัยวะ
17 15 86 6 25 10 4 24 186









จำนวนประชากร (ผู้สูงอายุ) รายหมู่บ้าน

ช่วงอายุ เพศ รวม ชาย หญิง
อายุ 60 – 70 บริบูรณ์ 185 294 479 70-ปีขึ้นไป-80 บริบูรณ์ 106 96 202 80-ปีขึ้นไป-90 บริบูรณ์ 40 45 85 90-ปีขึ้นไป-100 บริบูรณ์ 7 2 9 100-ปีขึ้นไป 0 0 0



งานอนามัยแม่และเด็ก ลำดับที่ โรค จำนวนผู้ป่วย รวม รพ.สต.บ้านบาละ (คน) รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส (คน) รพ.สต.บ้านลูโบ๊ะปันยัง (คน)
๑ หญิงตั้งครรภ์รายใหม่
๒ หญิงตั้งครรภ์ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์
๓ หญิงฝากครรภ์รายใหม่ที่มีภาวะซีด
๔ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด
๕ จำนวนเด็กเกิดใหม่
๖ จำนวนเด็กที่ไม่ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์
๗ พัฒนาการเด็กและน้ำหนักต่ำ
ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านป่าไหม้และบ้านรังมดแดง ณ เดือน กรกฎาคม๒๕๕๗





จำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หมู่ที่ รพ.สต เพศ ประเภท รวม ชาย หญิง เบาหวาน ความดัน ความดัน/เบาหวานหอบหืด ปอดอุดกั้นเรื้อรัง
๑ รพ.สต.บ้านบาละ
๒ รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส
3. รพ.สตบ้านลูโบ๊ะปันยัง
รวม

ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบาละ คลองน้ำใสและบ้านลูโบ๊ะปันยัง ณ เดือน กรกฎาคม๒๕59

๑.๕ ภูมิประเทศและภูมิอากาศ ส่วนใหญ่โดยทั่วไปเป็นป่าเนินเขาสูงมีภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย มีที่ราบเพียงส่วนน้อยอยู่บริเวณตอนเหนือ ทางทิศใต้มีลักษณะเป็นภูเขาสูงเป็นพื้นที่ลักษณะป่าดิบชื้น ตามแนวชายแดนไทย – มาเลเซีย มีลำคลองและลำธารไหลผ่านหลายสาย ตำบลบาละได้รับอิทธิพลภูมิอากาศเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มี2 ฤดูคือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-พฤษภาคม และฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม -กุมภาพันธ์ปริมาณน้ำฝนตกเฉลี่ย 153 วันต่อปี ช่วงเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ28.10 องศาเซลเซียส และสูงสุดเฉลี่ย 34.50 องศาเซลเซียส
๑.๖ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ๑) ทรัพยากรน้ำ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบาละมีแหล่งน้ำธรรมชาติจำนวน 2 สายหลักดังนี้ (๑) คลองน้ำขุ่นมีต้นลำธารในเขตเทือกเขาสกาลาคีรี ซึ่งเป็นเขตแดนไทย-มาเลเซีย (๒) คลองน้ำใสมีต้นน้ำเกิดจากภูเขารามบัลของเทือกเขาสันกาลาคีรี ซึ่งเป็นเขตแดนไทย-มาเลเซียบริเวณหลักเขตแดนที่ 41 ไหลลงสู่ทางทิศเหนือของอำเภอเป็นลำน้ำกั้นเขตแดนระหว่างอำเภอกาบังกับอำเภอสะบ้าย้อย
๑.๗ การไฟฟ้ามีไฟฟ้าครอบคลุมทุกหลังคาเรือน จำนวน 11 หมู่บ้าน








๑๘การคมนาคม การสื่อสาร และการบริการขั้นพื้นฐาน การคมนาคมที่สะดวกของตำบลบาละที่สำคัญคือ การคมนาคมทางบกเนื่องจากอำเภอกาบัง อยู่ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ40 กิโลเมตร บ้านบาละอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาบัง ประมาณ8 กิโลเมตร อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละสามารถเดินทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินถนนสายยะลา- บ้านเนียง - ยะหา - บันนังดามา
































๑.๘การคมนาคม การสื่อสาร และการบริการขั้นพื้นฐาน การคมนาคมที่สะดวกของตำบลบาละที่สำคัญคือ การคมนาคมทางบกเนื่องจากอำเภอกาบัง อยู่ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ40 กิโลเมตร บ้านบาละอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกาบัง ประมาณ8 กิโลเมตร อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลบาละสามารถเดินทางตามเส้นทางหลวงแผ่นดินถนนสายยะลา- บ้านเนียง - ยะหา - บันนังดามา
การคมนาคมขนส่งสะดวกเฉพาะสายหลักสู่อำเภอกาบัง และบางพื้นที่ในตำบลกาบัง ส่วนตำบลบาละก็ยังมีบางพื้นที่ที่มีความยากลำบากด้านการคมนาคมซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะใช้พาหนะส่วนบุคคล เป็นรถยนต์ และรถจักรยานยนต์แต่ก็ยังมีรถตู้โดยสารปรับอากาศประจำทางสายยะลา - บ้านเนียง - ยะหา - บันนังดามา – สะบ้าย้อย - หาดใหญ่ ซึ่งจะมีสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารที่บ้านบันนังดามาเท่านั้น ค่าโดยสารจากนครยะลา – บ้านบันนังดามา หมู่ที่ 1 ตำบลกาบัง จำนวน 60 บาทต่อคนต่อเที่ยว สำหรับการเดินทางมายังอำเภอกาบัง จะมีรถมอเตอร์ไซด์รับจ้างบริการ ค่าโดยสารตั้งแต่20 บาทขึ้นไปต่อคนต่อเที่ยว อัตราค่าโดยสารขึ้นอยู่กับระยะปลายทาง ซึ่งมีเส้นทางคมนาคมภายในอำเภอกาบัง ดังนี้ • ทางหลวงแผ่นดิน สาย 4085บันนังดามา-สะบ้าย้อย (ลาดยางตลอดสาย) • ทางหลวงแผ่นดิน สาย 407 บันนังดามา-บาละ (ลาดยางตลอดสาย) • ทางหลวงชนบท สาย บ้านไร่-บ้านเจาะกือแดะ • ทางหลวงชนบท สาย บ้านบาละ-บ้านคลองน้ำใส • ทางหลวงชนบท สาย บ้านบาละ-บ้านพรุหวา • ทางหลวงชนบท สาย บ้านคลองน้ำใส-บ้านคลองชิง • สายบาละ-บาโหย ระยะทาง 15 กิโลเมตร (ลาดยางตลอดสาย) สำหรับเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างตำบลและหมู่บ้าน เป็นสภาพถนนลูกรังจำนวน 16 สายถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ไม้ไผ่ จำนวน 8 สาย มีที่ทำการไปรษณีย์ประจำอำเภอกาบัง 1 แห่งตั้งอยู่ที่ 1 บ้านบันนังดามา และมีโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งในปัจจุบันมีการนิยมใช้โทรศัพท์มือถือ (Mobile Phone) เข้ามาในชุมชน แต่ไม่สามารถใช้ได้ทุกพื้นที่ เนื่องจากบางพื้นที่ที่มีความยากลำบากด้านการคมนาคมทำให้ไม่สามารถติดตั้งสัญญาณโทรศัพท์มือถือในการรับรู้ข่าวสารต่างๆของชาวบ้าน ชาวบ้านจะได้รับข้อมูลข่าวสารจากการประชุมของโต๊ะอิหม่าม (ผู้นำศาสนา) และผู้ใหญ่บ้าน การฟังวิทยุและโทรทัศน์สถานที่ที่ได้รับข่าวสารได้ส่วนใหญ่ คือ มัสยิด ซึ่งทุกวันศุกร์ ชาวบ้านจะมาทำการละหมาดร่วมกันหากใครมีเรื่องใดๆ ก็สามารถแจ้งให้ผู้อื่นทราบได้ และอีกแห่งหนึ่ง คือ ร้านน้ำชา ในตอนเช้าชาวบ้าน (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ชาย) ตั้งแต่เด็กวัยรุ่นไปจนถึงวัยชรา จะมานั่งจิบน้ำชา และพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิด และพูดคุยแลกเปลี่ยนข่าวสารที่ตนได้พบเห็นและรับรู้ ต่อมาเมื่อสภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ชาวบ้านก็ได้ซื้อวิทยุและโทรทัศน์กันมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านเกือบมีทุกครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีการบริการขั้นพื้นฐานอื่นๆ เช่น การไฟฟ้า มีไฟฟ้าทุกหมู่บ้าน ยกเว้นบางส่วนของหมู่บ้านไฟฟ้ายังเข้าไปไม่ถึง


๒. สภาพเศรษฐกิจและสังคม สภาพทางเศรษฐกิจ 1.5.1 กลุ่มเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก การทำสวนยางพารา รองลงมาคือทำสวนผลไม้ตามฤดูกาลการเลี้ยงสัตว์ ตามลำดับ 1.5.2 กลุ่มค้าขาย อาชีพค้าขายที่อยู่ในตำบลบาละนั้น จะเป็นการขายรายย่อย หรือ ร้านขายปลีกโดยการดำเนินชีวิตค่อนข้างจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในแต่ละวัน คือ ตื่นนอนตี 5 เพื่อซื้อของที่ตลาดสดถนนรถไฟในตัวเมืองยะลา หลังจากนั้นเดินทางกลับบ้านเพื่อขายของ โดยส่วนใหญ่จะเป็นการขายของแห้งเพราะจะเก็บไว้ได้นาน กลับถึงบ้านประมาณ 6.00-7.00 น. จะขายของตลอดทั้งวันจนประมาณ 18.00 น. เริ่มปิดร้าน อาชีพการค้าขายที่ตำบลยะลาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ การค้าขายตลอดทั้งปี และค้าขายตามฤดูกาล การค้าขายตลอดปีทำเป็นอาชีพไปตลอด แต่การค้าขายตามฤดูกาลทำโดยการค้าของตามฤดูกาล เช่น ผลไม้ตามฤดูกาล เป็นต้น

1.5.3 กลุ่มรับจ้าง ในตำบลบาละนั้น ประชากรส่วนใหญ่จะมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง เริ่มจากเจ้าของสวนยางใส่ปุ๋ยให้กับต้นยาง และให้ลูกจ้างกรีด โดยจะทำการกรีดยางอาทิตย์ละ5-6 วัน และวันที่ฝนตกก็จะหยุดกรีดยาง ในแต่ละวันจะออกไปกรีดยางกัน และจะเก็บน้ำยางมาขายให้พ่อค้าคนกลางที่รับชื้อน้ำยางหรือโรงงานผลิต ยางแผ่นรมควัน หลังจากเสร็จก็จะนำเงินไปแบ่งกับเจ้าของสวน ในอัตราส่วน ลูกจ้างครึ่ง นายจ้างหรือเจ้าของสวนยางครึ่ง จากนั้นก็จะทำกิจกรรมส่วนตัว และทำการพักผ่อน 1.5.4 กลุ่มรับราชการ ตำบลบาละมีการประกอบอาชีพรับราชการเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ครู เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เจ้าหน้าที่ปกครอง ทหาร ตำรวจ และอื่นๆ การประกอบอาชีพเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำสถานบริการสุขภาพ เช่น
โรงพยาบาลกาบัง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ชาวบ้านจะเรียกเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกคนเป็นภาษาท้องถิ่นว่า “บอมอ” แปลว่า หมอ ชาวบ้านจะให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาก เพราะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือชาวบ้านในด้านสุขภาพ ทำให้ชาวบ้านมีความรัก และความผูกพัน





ด้านการศึกษา การจัดการศึกษาตั้งแต่ศูนย์เด็กเล็ก ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ตามนโยบายของรัฐ และสนองความต้องการของท้องถิ่น โดยมีสถานศึกษา รวมทั้งหมด 7 แห่ง ดังนี้ 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง คือ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต. บาละ - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จุฬาภรณ์ที่ 11 2) โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 3 แห่ง คือ -โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส -โรงเรียนบ้านบาละ
-โรงเรียนบ้านคชศิลา 3) โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษา จำนวน 2 แห่ง
-โรงเรียนบ้านบาละ
-โรงเรียนบ้านคลองน้ำใส 4) โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม (สถาบันศึกษาปอเนาะ) จำนวน 1 แห่ง -สถาบันศึกษาปอเนาะอัลฟาแตฮ์ บ้านป่าพร้าว 2 สถาบันและองค์การศาสนา ศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของทุกคนและถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเลยทีเดียว เพราะศาสนาเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของคนเราเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 84.33 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 15.67 มีมัสยิดจำนวน24แห่ง และวัดจำนวน 2 แห่ง ภาษาที่ใช้มีภาษามาลายูพื้นเมือง ภาษาไทยกลางและภาษาท้องถิ่นภาคใต้
จะเห็นได้ว่ามักตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่ม อยู่เป็นบ้านๆ ประกอบอาชีพด้วยกันในชุมชนเดียวกัน รูปแบบของชุมชน มักเกิดขึ้นโดยถือศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง เช่น มัสยิด เพราะมัสยิด ต้องอาศัยคนรวมกันเข้าเป็นชุมชน ที่สนับสนุนค้ำจุนสนับสนุนการทำกิจกรรมทางศาสนกิจตามที่ตนนับถือศาสนาดังกล่าว 1.6.3 การสาธารณสุข ตำบลบาละ มีจำนวนสถานบริการทางสาธารณสุข จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
(1) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาละ (2) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส (3) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลูโบ๊ะปันยัง 1.7 สภาพทางวัฒนธรรม 1.7.1 วัฒนธรรมทางนามธรรม 1) การทักทาย การทักทายและการทำความเคารพของชาวไทยมุสลิมพบกันหรือจะจากกันจะกล่าวคำว่า “สลาม” และสัมผัสมือทั้งสองด้วยกันระหว่างหญิงต่อหญิง หรือระหว่างชายต่อชาย ส่วนชาวไทยพุทธจะใช้วิธีการไหว้ตามประเพณี

stars
ข้อมูลกองทุน

 

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...