กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

account_balance

แผนการดำเนินงานประจำปี 2566 - กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก

แผนการดำเนินงาน กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปริก
ประจำปีงบประมาณ 2566

stars
บริบทพื้นที่/สถานการณ์ชุมชน

1.ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลปริก ที่อยู่/ที่ติดต่อ 444 หมู่ที่ 1 ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา 90120 โทรศัพท์ 074 298213 – 4 ต่อ 12
โทรสาร 074 298213 – 4 ต่อ 17 Website ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น www.tambonprik.go.th E-mail address  tambonprik@hotmail.com 2.สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน ที่ตั้งและอาณาเขต สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตั้งอยู่ หมู่ที่ 1 ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอ/ศาลาว่าการ ประมาณ 9 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ  102,619.50 ไร่ – งาน – ตารางวา
พิกัดตำแหน่งที่ตั้ง (GPS)  47N X660168 Y744294 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อบต.พังลา อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ เทศบาลเมืองสะเดา และอบต.สำนักแต้ว อำเภอสะเดา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อบต.ปลักหนู และอบต.คลองทราย อำเภอนาทวี ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อบต.ทุ่งหมอ และเทศบาลตำบลปาดังเบซาร์ อำเภอสะเดา
สภาพภูมิประเทศ (ลักษณะพื้นที่ ดิน แหล่งน้ำ อื่น ๆ) มีลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบร้อยละ 70 และที่ราบเชิงภูเขาร้อยละ 30 ในบริเวณพื้นที่ราบเชิงภูเขามีป่าไม้ลุ่มน้ำและป่าชุมชน จึงเกิดแหล่งน้ำลักษณะลำคลองหลายสาย ประกอบด้วย คลองอู่ตะเภา คลองพังลา คลองปริก คลองแค และคลองลำบน เนื้อดินเป็นดินเหนียวบนทรายเหมาะสำหรับปลูกยางพาราและสวนผลไม้ ช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตร สภาพภูมิอากาศ  เป็นแบบมรสุมเขตร้อน อากาศร้อนชื้น มีอุณหภูมิสูงตลอดปี แต่ละปีมี 2 ฤดู คือ ฤดูฝน กับฤดูแล้ง ฤดูฝนประมาณ 8 – 9 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม ถึงเดือน มกราคม ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีฝนชุกในเดือน พฤศจิกายน ส่วนฤดูแล้ง เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน จะมีลมจากทะเลจีนใต้มาปกคลุมทำให้อากาศร้อนขึ้น และร้อนที่สุดในเดือนเมษายน การแบ่งเขตการปกครองและจำนวนประชากร จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน 11 ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านใหม่ จำนวนประชากร 2,137 คน ชาย 1,042 คน  หญิง 1,095 คน หมู่ที่ 2 บ้านลุ่มอ้อย จำนวนประชากร  416 คน ชาย  207 คน  หญิง  209 คน หมู่ที่ 3 บ้านตลาดปริก จำนวนประชากร  456 คน ชาย  238 คน  หญิง  215 คน หมู่ที่ 4 บ้านตะเคียนเภาจำนวนประชากร 1,682 คน ชาย  852 คน  หญิง  830 คน หมู่ที่ 5 บ้านสวนหม่อม จำนวนประชากร  186 คน ชาย    96 คน  หญิง    90 คน หมู่ที่ 6 บ้านต้นเลียบ จำนวนประชากร  241 คน ชาย  128 คน  หญิง  113 คน หมู่ที่ 7 บ้านต้นสะท้อน จำนวนประชากร  431 คน ชาย  212 คน  หญิง  219 คน หมู่ที่ 8 บ้านหัวถนน จำนวนประชากร  1,423 คน ชาย  716 คน  หญิง  707 คน หมู่ที่ 9 บ้านยางเกาะ จำนวนประชากร  1,167 คน ชาย  562 คน  หญิง  605 คน หมู่ที่ 10 บ้านควนเสม็ด จำนวนประชากร  1,512 คน ชาย  749 คน  หญิง  763 คน หมู่ที่ 11 บ้านบางแห้ง จำนวนประชากร  521 คน ชาย  289 คน  หญิง  232 คน โครงสร้างพื้นฐาน ด้านการคมนาคม  ถนนคอนกรีต จำนวน 11 หมู่บ้าน เป็นถนนใช้ภายในหมู่บ้าน มีระยะสั้นๆ สภาพใช้งานได้ดี ถนนลาดยาง 11 สาย เป็นถนนเชื่อมต่อระหว่างหมู่บ้าน โดยทั่วไปมีสภาพใช้งานได้ ถนนลูกรังและดินถม มีทั้ง 11 หมู่บ้าน มีสภาพที่ต้องปรับปรุงซ่อมทุกปี ด้านเศรษฐกิจ (ประชากรประกอบอาชีพ สภาพเศรษฐกิจ)
ด้านอาชีพ ชาวบ้านในเขต อบต.ปริก มีอาชีพเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 70 รับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 20 ค้าขาย คิดเป็นร้อยละ 5 และอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 5 ด้านหน่วยงานธุรกิจเอกชน
-โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 7 แห่ง -ฟาร์มหมู จำนวน 1 แห่ง
ด้านการสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก 3 แห่ง ดังนี้ 1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก รับผิดชอบ หมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 7 2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหัวถนน รับผิดชอบ หมู่ที่ 8 – หมู่ที่ 9 3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลควนเสม็ด รับผิดชอบ หมู่ที่ 10 – หมู่ที่ 11 ด้านการศึกษา มีสถานศึกษา 8 แห่ง ดังนี้ 1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดอัลซอรุลอิสลาม 2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านยางเกาะ 3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านควนเสม็ด 4. โรงเรียนบ้านใหม่ 5. โรงเรียนบ้านตะเคียนเภา 6. โรงเรียนบ้านหัวถนน 7. โรงเรียนบ้านยางเกาะ 8. โรงเรียนบ้านควนเสม็ด ด้านการศาสนา ประชากรนับถือ ศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 70 ศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 30 มีศาสนสถาน 12 แห่ง ดังนี้ วัดจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ วัดบ้านใหม่ วัดหัวถนน วัดควนนิมิตร วัดบุญสิริประชาชื่น
สำนักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สำนักสงฆ์ศรีโสไพร ที่พักสงฆ์ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ที่พักสงฆ์บ้านยางเกาะ
มัสยิดจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ มัสยิดนูรุลอิสลามียะ มัสยิดนูรุลเอียะฮ์ซาน(บ้านลุ่มอ้อย) มัสยิดอัลซอรุลอิสลาม มัสยิดอัลฟาล๊ะห์ มัสยิดนูรุลเอียะฮ์ซาน(บ้านต้นเลียบ) มัสยิดนูรุลฮายีรีน มัสยิดอัลซอริลอิสลาม ด้านวัฒนธรรมและประเพณี วัฒนธรรมและประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ ประเพณีทำบุญเดือนสิบ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา ประเพณีชักพระ ประเพณีลอยกระทง ประเพณีไหว้ตายาย ประเพณีทำบุญสวดหมู่บ้าน ประเพณีวันฮารีรายอ ประเพณีวันเมาลิด

stars
ข้อมูลกองทุน

 

stars
แผนการดำเนินงานตามประเด็น
LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...

LOADING...