กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ประชากรกลุ่มสงสัยป่วยมีความรู้ในการดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง มีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างยั่งยืน เกิดเครือข่ายกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและภาวะแทรกซ้อน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัด : ผู้เข้าอบรมร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเอง
90.00 1.00

 

2 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 กลุ่มสงสัยป่วยที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม
90.00 1.00

 

3 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยดังกล่าว สามารถลดระดับความดันโลหิต และลดระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ตัวชี้วัด : อัตราการเกิดโรคเรื้อรังลดลง ร้อยละ 5
90.00 1.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 90 90
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 90
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน (DM) และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม
สถานการณผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ปีงบประมาณ 2562 พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจำนวน 63 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 5 คน และในปี 2563 พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 65 คน และผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 7 คน ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น จากผลการดำเนินงานคัดกรองค้นหาผู้ป่วยความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูล ในปีงบประมาณ 2564 (ที่มา HDC สตูล 1 พ.ค.64 ) พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง (ค่าควานดันโลหิต sbp มีค่า >= 140 ถึง < 180 mmHg หรือ dbp มีค่า >= 90 ถึง < 110 mmHg) จำนวน 45 คน และมีกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 45 ราย จากสภาพปัญหาดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเจ๊ะบิลัง ได้จัดทำโครงการอบรมให้ความรู้กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน หมู่ที่ 2 ตำบลเจ๊ะบิลัง อำเภอเมือง จังหวัดสตูลเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติในการดูแลตนเองในด้านการรักษาและส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน ในคลินิกของหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนจากโรค ต่างๆได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh