กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.1จัดประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้
ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 19 ตุลาคม 2564 มีกรรมการเข้าร่วมประชุม จำนวน 17 คน มีมติเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
-รับทราบสถานการณ์เงินกองทุน ตั้งแต่วันที่ 1-18 ตุลาคม 2564
-รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 22 กรกฎาคม 2564 และครั้งที่ 4/2564 วันที่ 28 กันยายน 2564
-อนุมัติโครงการและสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานที่ขอรับทุน จำนวน 2 โครงการ ประกอบด้วย
(1)โครงการคัดกรอง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2565 งบประมาณ 56,100 บาท ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด
(2)โครงการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และติดตามผู้ป่วยเบาหวานป้องกันภาวะแทรกซ้อนประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป ในชุมชน ปี 2565 งบประมาณ 94,334 ดำเนินการโดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านต้นไทร
ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 26 มกราคม 2565 มีกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 16 คน มีมติเรื่องต่างๆ ดังนี้   -รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 19 ตุลาคม 2565
  -รับทราบรายงานสถานการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 – 25 มกราคม 2565
  -เห็นชอบแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล (เพิ่มเติม) ครั้งที 1 ประจำปี 2565
  -อนุมัติโครงการและสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานที่ขอรับทุน จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย   (1)โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายในสำนักงานเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2565 งบประมาณ 19,435 บาท โดยงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสำนักปลัดเทศบาล
(2)โครงการบริหารจัดการขยะในชุมชนตำบลนาโหนด งบประมาณ 50,930 บาท โดยงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมสำนักปลัดเทศบาล
]
  (3)โครงการคัดกรองหาเชื้อไวรัสโคโรนา บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดเทศบาลตำบลนาโหนด งบประมาณ 8,545 บาท โดยงานการศึกษา สำนักปลัดเทศบาล (4) โครงการการเล่นแบบกระฉับกระเฉง (Active play Active learning) ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก งบประมาณ 16,500 บาท โดยศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์มัสยิดหนูรนเอียะสาน

/ครั้งที่ 3/2565... -2-

ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 4 เมษายน 2565 มีกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 19 คน มีมติเรื่องต่างๆ ดังนี้
-รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 26 มกราคม 2565   -รับทราบรายงานสถานการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 64 - 1 เมษายน 2565 -เห็นชอบแผนสุขภาพชุมชนกองทุนตำบล (เพิ่มเติม) ครั้งที 2 ประจำปี 2565 -อนุมัติโครงการและสนับสนุนงบประมาณแก่หน่วยงานที่ขอรับทุน จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย
(1) โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนบ้าน    นาโหนด งบประมาณ 25,294 บาท โดยโรงเรียนบ้านนาโหนด (2) โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนวัดบ่วงช้าง งบประมาณ 19,050 บาท โดยโรงเรียนวัดบ่วงช้าง (3) โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนวัดหัวหมอน งบประมาณ 36,145 บาท โดยโรงเรียนวัดหัวหมอน (4) โครงการคัดกรองและค้นหาผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา โรงเรียนบ้านต้นไทร งบประมาณ 15,050 บาท โดยโรงเรียนบ้านต้นไทร (5) โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภคตำบลนาโหนด งบประมาณ 10,095 บาท โดยชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาโหนด -อนุมัติการแก้ไขเปลี่ยนแปลงการตั้งจ่ายงบประมาณโครงการบริหารจัดการกองทุน ประจำปี 2565 ครั้งที่ 4/2565 วันที่ 7 กันยายน 2565 มีกรรมการและผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม จำนวน 14 คน มีมติเรื่องต่างๆ ดังนี้
-รับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2565 วันที่ 4 เมษายน 2565   -รับทราบรายงานสถานการเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 64 - 6 กันยายน 2565 -เห็นชอบแผนสุขภาพตำบล กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2566 -เห็นชอบโครงการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลนาโหนด ประจำปี 2566 งบประมาณ 114,211 บาท
1.2 กิจกรรมการจัดทำแผนสุขภาพตำบล สรุปผลการดำเนินกิจกรรม ดังนี้
มีคณะกรรมการกองทุน ผู้แทนโรงเรียน ผู้แทนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ผู้แทนกลุ่ม หน่วยงาน ต่าง ๆ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมกิจกรรม 35 คน โดยที่ประชุมได้นำเสนอปัญหา ประเด็นด้านสุขภาพ เพื่อนำมากำหนดเป็นแผนงาน/โครงการที่สมควรดำเนินการในปี 2566 โดยประเด็นแผนงานที่เสนอประกอบด้วย แผนงานอาหารและโภชนาการ แผนงานผู้สูงอายุ แผนงานสิ่งแวดล้อม แผนงานโรคเรื้อรัง แผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แผนงานเด็กและเยาวชน แผนงานป้องกัน แก้ปัญหาฟื้นฟูในสถานการณ์ โควิด 19 แผนงานบริหารจัดการกองทุน

/2.กิจกรรม... -3-

2.กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ
ได้จัดอบรมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ จำนวน 1 ครั้ง เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 มีคณะกรรมการอนุกรรมการ เข้าร่วมกิจกรรม 30

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน
ตัวชี้วัด : กองทุนสุขภาพตำบลสามารถบริหารสนับสนุนเงินแก่ผู้รับทุนไม่น้อยกว่า 90 %
27.00 10.00 10.00

 

2 เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน
ตัวชี้วัด : มีจำนวนคณะกรรมการบริหารฯได้รับการพัฒนาศักยภาพฯ โครงการด้านสุขภาพ(คน)
14.00 18.00 16.00

 

3 เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล
ตัวชี้วัด : จำนวนกลุ่มประชาชน ชมรมและหน่วยงานภายนอกที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนโครงการ(กลุ่ม/หน่วยงาน)
7.00 10.00 10.00

 

4 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี
ตัวชี้วัด : จำนวนโครงการที่สามารถติดตามและรายงานผลการดำเนินงานได้สำเร็จ(โครงการ)
5.00 10.00 2.00

 

5 เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา
ตัวชี้วัด : ร้อยละของโครงการ ที่มีการสรุปงาน ส่งรายงาน และปิดโครงการ ภายในกำหนด เพิ่มขึ้น
39.00 75.00 41.70

 

6 เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ
ตัวชี้วัด : จำนวนครั้งของประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ
3.00 4.00 4.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 0
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 30 35

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้เงินกองทุนฯ ให้แก่โครงการแก่ผู้รับทุน (2) เพื่อพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนฯ และองค์กรผู้รับทุน (3) เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปสามารถขอรับทุนจากกองทุนสุขภาพตำบล (4) เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการที่ดีและมีรายงานผลการดำเนินงานดี (5) เพื่อเพิ่มจำนวนโครงการ ที่มีการส่งผลงานและส่งรายงาน ตรงตามเวลา (6) เพื่อให้มีประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน/อนุกรรมการ ครบตามประกาศ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการบริหารจัดการกองทุน (2) กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ อนุกรรมการ (3) กิจกรรมประชุมคณะกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (4) การบริหารจัดการกองทุน (5) กิจกรรมการจัดทำแผนสุขภาพตำบล (6) ประชุมคณะกรรมการกองทุน (7) ประชุมคณะกรรมการกองทุน (8) ประชุมคณะกรรมการกองทุน (9) ประชุมคณะกรรมการกองทุน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh