กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการส่งเสริม ป้องกัน แก้ไขและฟื้นฟูปัญหาสุขภาพในผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิง

สำรวจผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีภาวะพึ่งพิงในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง17 กันยายน 2564
17
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สำรวจผู้สูงอายุในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป และผู้พิการในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง ปีละ 1 ครั้ง

ประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล

สรุปข้อมูลผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง

กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง

กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง

กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวชี้วัดความสำเร็จ ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองและมีระบบส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูและการดูแลตามระดับความจำเป็นในการดูแลระยะยาว โดยใช้แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ผลการดำเนินกิจกรรม พบว่า พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีผู้สูงอายุทั้งหมด 1,682 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล ทั้งหมด 1,682 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และมีผู้พิการทั้งหมด 371 คน ได้รับการประเมินการทำกิจวัตรประจำวันโดยใช้แบบประเมินคัดกรองความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล จำนวน 371 คน คิดเป็นร้อยละ 100 โดยผู้สูงอายุ/ผู้พิการที่มีคะแนนประเมินเอดีแอล เท่ากับหรือน้อยกว่า 11 จำนวน 56 คน โดยจำแนกเป็น 4 กลุ่มตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข ดังนี้
กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน การขับถ่ายแต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 29 คน
กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง จำนวน 17 คน
กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่ายหรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง จำนวน 10 คน
กลุ่มที่ 4 เหมือนกลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรงหรืออยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต จำนวน 0 คน