กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาระบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวาปี2565

กิจกรรมจัดเวทีประชาคมสุขภาพตำบลเพื่อการจัดทำแผนงานกองทุนฯ13 กันยายน 2565
13
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลบางตาวา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ กิจกรรมจัดเวทีประชาคมสุขภาพตำบลบางตาวา เพื่อจัดทำแผนงานกองทุนฯประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวา วันอังคารที่  13 เดือน กันยายน พ.ศ. 2565 เวลา  08.30 น.- 14.30 น. ณ บริเวณปากอ่าว หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา อำเภอหนองจิก  จังหวัดปัตตานี
................................................................ เวลา 08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ เวลา 09.00 - 09.15 น. พิธีเปิดโดยนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา เวลา 09.15 – 10.45 น. สรุปการดำเนินงานกิจกรรม/โครงการ ประจำปี 2565 เวลา 10.45 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 11.00 - 13.00 น. จัดทำเวทีประชาคมเพื่อรับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่เพื่อ ดำเนินการนำปัญหาเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการกองทุนฯใน การวิเคราะห์และนำข้อมูลมาจัดทำแผนสุขภาพของกองทุน หลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา เวลา 13.00 - 14.00 น. สรุปปัญหาและการดำเนินกิจกรรมเวทีประชาคม เวลา 14.00 น. ปิดโครงการ

หมายเหตุ   กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายงานผลการจัดเวทีประชาคมสุขภาพ เพื่อการจัดทำแผนงานกองทุนฯประจำปีงบประมาณ 2566
วันอังคารที่ 13  กันยายน 2565 ณ บริเวณปากอ่าว หมู่ที่ 2 อำเภอหนองจิก  จังหวัดปัตตานี

  1. หลักการและเหตุผล       ด้วยสำนักงานเลขากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา จัดทำโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวา ตามแผนงานการบริหารจัดการกองทุนสุขภาพตำบล ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7วรรคสองอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น โดยคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพอบต.บางตาวามีมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2564ในวันพุธที่ 8 ธันวาคม 2564 เห็นชอบและอนุมติเพื่อจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวาเป็น จำนวนเงิน 54,407.- บาท
          ดังนั้นเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการของประชาชนในทุกระดับ และสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาและการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นโดยประชนชนมีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง และเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารและการตรวจสอบการปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวาเพิ่มมากขึ้นและเหมาะสมกับสภาพชุมชนและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนและกำหนดแนวทางในการดำเนินงานกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง สำนักงานเลขากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา จึงดำเนินการจัดทำกิจกรรมจัดเวทีประชาคมสุขภาพตำบลบางตาวาเพื่อจัดทำแผนงานกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 ภายใต้โครงการพัฒนาระบบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวาประจำปีงบประมาณ 2565 2.  วัตถุประสงค์       1.เพื่อให้ภาคประชาชนที่เข้าร่วมเวทีประชาคมได้ร่วมกันระดมและเสนอปัญหาความต้องการที่ให้ทางกองทุนฯดำเนินการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน       2. เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานกองทุนฯ อย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง       3. เพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้เรียนรู้สถานการณ์ที่เป็นจริงของชุมชนในพื้นที่       4. เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่เข้าร่วมเวที ร่วมกับภาคประชาชน ได้ร่วมกับพิจารณาตามเหมาะสม และเป็นไปได้ของกิจกรรมทางเลือกที่จะนำมาใช้แก้ไขปัญหาสุขภาพของชุมชนที่สอดรับกับระเบียบข้อกำหนดกองทุนฯ และเป็นกิจกรรมที่มีโอกาสสูงที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินงาน โดยมีความคุมทุนและกระจายประโยชน์ไปถึงคนส่วนใหญ่ รวมทั้งประชาชนมีสุขภาพที่ดีและแข็งแรงต่อไป 4.  เป้าหมาย       ประชาชน,คณะกรรมการกองทุนและหน่วยงานผู้ขอรับทุนในพื้นที่จำนวน 100 คน


    /5.  วิธีการดำเนินการ... 5.  วิธีการดำเนินการ       1.  จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติตามขั้นตอน       2.  ประชุมและเสนอรายละเอียด       3.  ประชาสัมพันธ์โครงการให้กลุ่มเป้าหมาย
          4.  จัดหาตัวแทนชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม ๖.  ลักษณะโครงการ                 1. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ                 2  สรุปกิจกรรมการดำเนินกิจกรรม/โครงการประจำปีงบประมาณ 2565                 3. อธิบายแนวทางการของบประมาณจากกองทุนสปสช.อสบต.บางตาวา                 4. จัดทำเวทีประชาคมเพื่อให้ประชาชนเสนอปัญหาที่ต้องการให้หน่วยงานหรือภาคประชาชนดำเนินแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่                 5. สรุปปัญหาและนำปัญหาเข้าที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อสรุปและจัดทำแผนสุขภาพของปีงบประมาณ 2566                 6. สรุปและเสนอแผนงานไปยังสปสช.เขตที่ 12 เพื่อขอเงินสนับสนุนในการดำเนินงานใน          ปี2566และรายงานต่อผู้บริหารเพื่อขอเงินอุดหนุนจากอปท.ตามรายได้ของอปท.ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแหงชาติฯ พ.ศ. 2561(ข้อ8)องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพในอัตราร้อยละของเงินที่ได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามข้อ 7 (1)
  2. สถานที่ดำเนินการ       ณ บริเวณปากอ่าว  หมู่ที่ 2 ตำบลบางตาวา  อำเภอหนองจิก  จังหวัดปัตตานี
  3. ระยะเวลาดำเนินการ       วันอังคารที่  13  กันยายน  พ.ศ.  2565 9.  ผู้รับผิดชอบโครงการ
                    สำนักงานเลขากองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา
  4. ผลการดำเนินงาน 10.1 สรุปผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการปี2565         - แผนการเงินประจำปีงบประมาณ. 2565ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวามีงบประมาณทั้งหมดดังนี้ 1.เงินคงเหลือยกมา จำนวน 267,239.00 บาท 2.เงินโอนจาก สปสช.    จำนวน 172,035.0.0 บาท 3.เงินสมทบจาก อปท. จำนวน 100,000.00 บาท 4.รายได้อื่นๆ จำนวน             0.0 บาท รวมเงิน                   จำนวน 539,274.00 บาท - กองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา ได้มีสนับสนุนแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมใน    ประจำปีงบประมาณ 2565  5 ประเภทกิจกรรมเป็นจำนวนเงิน407,771 บาทโดยมีรายละเอียดดังนี้ (1) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข เป็นข้อกำหนดให้หน่วยงานที่สามารถขอรับการสนับสนุนตาม (1)ได้แก่หน่วยบริการสถาน บริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุข โดยเน้นโครงการที่เป็นการจัดบริการสาธารณสุข (การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน

/โรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ… โรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก) จำนวน 3 โครงการเป็นเงิน (168,450 บาท) 1.1.โครงการจัดหาวัสดุทางการแพทย์ สำหรับคัดกรองผู้มีความเสี่ยงและตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (COVID - 19)เชิงรุก ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) จำนวน 128,350 บาท 1.2.โครงการลดเสี่ยงเลี่ยงไตวาย จำนวน 24,400  บาท 1.3. โครงการส่งเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนและส่งเสริมพัฒนาการในเด็กอายุ 0-5 ปีจำนวน 15,700  บาท (2) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกัน โรคขององค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น เป็นข้อกำหนดให้ผู้ที่สามารถขอรับการสนับสนุนตาม (2) ได้แก่ องค์กรหรือกลุ่มประชาชน หรือหน่วยงานอื่น โดยเน้นโครงการที่เป็นการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และ คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และกรณีความจำเป็นต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่มีลักษณะครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ไม่เกิน 10,000  บาทต่อโครงการ โดยวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่น ที่ได้รับการสนับสนุนนั้น จำนวน 6โครงการเป็นเงิน (137,190 บาท บาท) 2.1โครงการชุมชนสีเขียวร่วมใจคัดแยกขยะในครัวเรือน จำนวนเงิน 11,790 บาท 2.2โครงการขยับกาย ขยับใจ ห่างไกลโรคปี2 จำนวนเงิน 20,000 บาท 2.3โครงการอบรมการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อโรคโรคอุบัติใหม่โควิด-19 จำนวน 20,000 บาท 2.4โครงการส่งเสริมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและการป้องกัน ยาเสพติด แก่เด็ก เยาวชนและผู้ปกครองชุมชนปากบางตาวา จำนวน 21,700 บาท 2.5โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจ คัดกรอง เฝ้าระวัง และติดตามผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของนักเรียนและบุคลากรครูโรงเรียนบ้านปากบางตาวา จำนวนเงิน 26,900บาท 2.6โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจ คัดกรอง เฝ้าระวัง และติดตามผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของนักเรียนและบุคลากรครูโรงเรียนวัดสถิตชลธาร จำนวนเงิน 36,800 บาท
(3) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนิน กิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็ก ในชุมชน หรือการพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน เป็นข้อกำหนดให้ศูนย์หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์สามารถขอรับการสนับสนุนตาม (3) ได้แก่ 1) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน 3) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หมายความว่า ศูนย์ซึ่งดำเนินงานเกี่ยวกับการพัฒนา และฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน 4) หน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรม เกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์ที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับ การพัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุหรือคนพิการในชุมชน โดยเน้นโครงการที่เป็นการจัดบริการสาธารณสุข (การสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟู สมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก)จำนวน 2โครงการเป็นเงิน (47,724 บาท) 1.โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจ คัดกรอง เฝ้าระวัง และติดตามผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (Covid-19) ของเด็กเล็กและบุคลากรครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสิรินธร  จำนวนเงิน 24,852 บาท 2.โครงการสร้างเสริมสุขภาพ ตรวจ คัดกรอง เฝ้าระวัง และติดตามผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส  โคโรนา 2019 (Covid-19) ของเด็กเล็กและบุคลากรครูศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางตาวาจำนวนเงิน 22,872 บาท /(4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหาร... (4) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่งในแต่ละปีงบประมาณนั้น หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใดได้รับเงินเพิ่มตามข้อ 7วรรคสองอาจสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้อีกไม่เกินร้อยละ 5 กรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อจัดหาครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ให้สนับสนุนได้ในวงเงินตามความจำเป็น และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ให้เป็นทรัพย์สินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น (20% จำนวนเงิน 54,407 บาท )
1.โครงการพัฒนาระบบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบางตาวาปี2565 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ เป็นข้อกำหนดให้การขอรับสนับสนุนตามข้อ 10 (5) ได้แก่ ข้อ 10 (1) (2) และ (3) แล้วแต่กรณี ซึ่งการเกิดโรคระบาดอาจมีความถี่ของการเกิดโรคที่ผิดปกติโดยมีความจำเป็นต้องควบคุมป้องกัน ไม่ให้เกิดการกระจายตัวเป็นวงกว้าง และในกรณีเกิดภัยพิบัติแล้วส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ตัวอย่างเช่น แผ่นดินถล่ม อัคคีภัยไฟป่า แผ่นดินไหว คลื่นยักษ์ ภัยหนาว ภัยฟ้าผ่า ภัยจากสารเคมีและวัตถุอันตราย อาคารถล่ม ภัยจากการคมนาคมขนส่ง ฯลฯ ก็จะสามารถสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมโดยเน้น การดูแลสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดกรณีดังกล่าว ซึ่งเป็นดุลพินิจของคณะกรรมการกองทุน ที่จะพิจารณาอนุมัติเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ทันต่อสถานการณ์ คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ พ.ศ. 2561)  ตั้งไว้ 50,000 บาท แต่ไม่มีการเบิกจ่ายเนื่องจากไม่มีสถานการณ์ในพื้นที่ 10.2 การจัดทำแผนสุขภาพในพื้นที่ เนื่องจากปัญหาด้านสุขภาพส่วนใหญ่เป็นปัญหาด้านพฤติกรรมขอบุคคลที่มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายๆ ด้านที่ผสมผสานกันอันได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคลที่มาจากพันธุ์กรรม เจตคติ ความรู้ และความเข้าใจ ปัจจัยด้านครอบครัว ชุมชน สังคม ที่มีสาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและวิถีชีวิต  ซึ่งการแก้ไขจะต้องใช้กลวิธีการดำเนินงานในหลายวิธี และใช้ระยะเวลาการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง โดยอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วนและบุคคลที่เป็นเจ้าของสุขภาพ
ดังนั้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบางตาวา  บรรลุวัตถุประสงค์ จึงต้องมีระบบการจัดทำข้อมูล  มีการจัดทำแผนงาน ที่ใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาและกำหนดทิศทางการดำเนินงานในการสนับสนุนงบประมาณให้แก่หน่วยบริการ ประชาชน และภาคีที่เกี่ยวข้อง การจัดทำแผนงานดังกล่าวอาจใช้เครื่องมือ เช่น แผนสุขภาพชุมชน แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ เป็นต้น โดยในระยะแรกอาจเลือกใช้แผนสุขภาพชมชน และในระยะต่อไปมีการพัฒนาขึ้นโดยนำแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุน เพื่อพัฒนาให้เกิดสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบต่อไป ๑. ความหมายของแผนสุขภาพชุมชน แผนสุขภาพชุมชน  เป็นแผนงานด้านสุขภาพของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชนเป็นกระบวนการที่ประชาชนมี่ส่วนร่วมคิด  ร่วมค้นหา  ร่วมเรียนรู้  ร่วมกำหนดทิศทาง  ร่วมจัดกิจกรรมการพัฒนาและร่วมรับผลประโยชน์โดยเริ่มจากการคัดเลือกแกนนำการทบทวนงานในอดีตกำหนดอนาคตการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล  กำหนดปัญหา  และการประเมินศักยภาพชุมชน  เพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้เกิดการทบทวนตนเองโดยคำนึงถึงศักยภาพ  ทรัพยากร  ภูมิปัญญา  วิถีชีวิต  วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมในชุมชน  รวมทั้งแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นตามศักยภาพของชุมชน กระตุ้นประชาชนให้เกิดความกระตือรือร้นในการพัฒนาชุมชนของตนเอง  ตลอดจนให้ความร่วมมือกับกิจกรรมด้านสุขภาพ  และร่วมติดตามประเมินผล โดยสามารถขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกได้ /๒. หลักการของแผน... ๒. หลักการของแผน ๒.๑ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งหมู่บ้าน/ชุมชนเป็นศูนย์กลาง และประชาชนเป็นเจ้าของ ๒.๒ รวมพลังทุกภาคส่วนของสังคม เพื่อการอยู่เย็นเป็นสุข ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ๒.๓ บูรณาการกระบวนการจัดทำแผนและงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม ๒.๔ ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน ๓. วัตถุประสงค์ในการจัดทำแผนสุขภาพชุมชนกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บางตาวา
๑. เพื่อใช้เป็นแนวทางสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงานหรือโครงการ หรือกิจกรรม ในการพัฒนาท้องถิ่นด้านการสาธารณสุขทั้ง  5 ประเภท ตามที่สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ๒. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บางตาวา เพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นฃ ๔. ขั้นตอนในการจัดทำแผนสุขภาพกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.บางตาวา
๑. จัดเตรียมข้อมูลที่เกี่ยวข้องสร้างเครือข่ายสร้างความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ๒. ประชุมคณะกรรมการฯ จัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนหน่วยงานองค์กรทุกภาคส่วนในพื้นที่เพื่อให้ทราบถึงปัญหาและความต้องการพัฒนาที่แท้จริง ๓. วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาความต้องการพัฒนาและจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ๔. นำข้อมูลที่ได้เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการกองทุนฯเพื่อจัดทำเป็นแผนสุขภาพชุมชนและประกาศใช้ต่อไป   10.3 ผลการดำเนินโครงการจัดเวทีประชาคมสุขภาพเพื่อการจัดทำแผนงานกองทุนฯประจำปีงบประมาณ 2566 1. ผลการเสนอปัญหาของประชาชนหมู่ที่ 1 จำนวน 40 คน โดยแบ่ง 2 หัวข้อใหญ่ 1.1 ปัญหาสุขภาพในพื้นที่     1. ปัญหาเรื่องขยะ     6.ปัญหาโรคเรื้อรัง(ความดัน,เบาหวาน)
    2. ปัญหาบุหรี่/ยาเสพติด     7. ปัญหาสายตาในผู้สูงอายุ
    3. ปัญหายุงลาย(โรคไข้เลือดออก) 8. ปัญหาโภชนาการในเด็ก     4. ปัญหาขาดการออกกำลังกาย 9. ปัญหาขี้แพะในพื้นที่     5.  ปัญหาข้อเข่าเสื่อม 10. ปัญหาโรคผิวหนัง 1.2  เสนอกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้กองทุนฯดำเนินการแก้ไข     1. โครงการแก้ไขปัญหาขยะตกค้างในพื้นที่     2. โครงการให้ความรู้ด้านโรคผิวหนัง
    3. โครงการนวดแผนโบราณ/นวดด้วยลูกประคบแก้ปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม     4. โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติและบุหรี่ในวัยรุ่น     5. โครงการคัดกรองสุขภาพในผู้สูงอายุและตรวจสายตาในผู้สูงอายุ
    6. โครงการแก้ไขปัญโรคขาดสารในเด็ก     7. โครงการออกกำลังกายในเด็ก เยาวชนและผู้สูงอายุในพื้นที่ /2. ผลการเสนอปัญหาของประชาชนหมู่ที่ 2... 2. ผลการเสนอปัญหาของประชาชนหมู่ที่ 2 จำนวน 40 คน โดยแบ่ง 2 หัวข้อใหญ่ 1.1 ปัญหาสุขภาพในพื้นที่     1. ปัญหาเรื่องขยะ     6.ปัญหาโรคเรื้อรัง(ความดัน,เบาหวาน)
    2. ปัญหาบุหรี่/ยาเสพติด     7. ปัญหาสุขภาพกลุ่มเปราะบาง     3. ปัญหายุงลาย(โรคไข้เลือดออก) 8. ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก     4. ปัญหาโรคอ้วนในวัยทำงาน 9. ปัญหามูลสัตว์บนถนน     5.  ปัญหาข้อเข่าเสื่อมวัยทำงาน/ผู้สูงอายุ 10. ปัญหาการขาดฉีดวัคซีนในเด็ก 1.2  เสนอกิจกรรม/โครงการ เพื่อให้กองทุนฯดำเนินการแก้ไข     1. โครงการคัดแยกขยะ/รับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่และประกวดบ้านสะอาด     2. โครงการอบรมความรู้การดูแลสุขภาพในวัยทำงานและผู้สูงอายุ     3. โครงการตรวจสุขภาพประจำปี     4. โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติและบุหรี่ในวัยรุ่น     5. โครงการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังในพื้นที่     6. โครงการแก้ไขปัญโรคขาดสารในเด็ก     7. โครงการอาหารปลอดภัยและปลอดสารพิษ     8. โครงการรณรงค์วัคซีนในเด็ก     9. โครงการอบรมCM,CG,เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในกองทุน LTC สรุปปัญหาที่พบในพื้นที่ตำบลบางตาวาในเวทีประชาคม     1. ปัญหาเรื่องขยะ     7.ปัญหาโรคเรื้อรัง(ความดัน,เบาหวาน)
    2. ปัญหาบุหรี่/ยาเสพติด     8.ปัญหาสุขภาพกลุ่มเปราะบาง
    3. ปัญหายุงลาย(โรคไข้เลือดออก) 9.ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก     4. ปัญหาโรคอ้วนในวัยทำงาน 10.ปัญหามูลสัตว์บนถนน     5. ปัญหาข้อเข่าเสื่อมวัยทำงาน/ผู้สูงอายุ 11.ปัญหาการขาดฉีดวัคซีนในเด็ก               6. ปัญหาปัญหาสายตาในผู้สูงอายุ 12.ปัญหาโรคผิวหนัง สรุปโครงการต้องให้ทางกองทุนดำเนินการแก้ไข     1. โครงการคัดแยกขยะ/รับซื้อขยะรีไซเคิลในพื้นที่และประกวดบ้านสะอาด     2. โครงการอบรมความรู้การดูแลสุขภาพในวัยทำงานและผู้สูงอายุ     3. โครงการตรวจสุขภาพประจำปี     4. โครงการแก้ไขปัญหายาเสพติและบุหรี่ในวัยรุ่น     5. โครงการแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังในพื้นที่     6. โครงการแก้ไขปัญโรคขาดสารในเด็ก     7. โครงการอาหารปลอดภัยและปลอดสารพิษ     8. โครงการรณรงค์วัคซีนในเด็ก     9. โครงการอบรมCM,CG,เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงในกองทุน LTC     10. โครงการนวดแผนโบราณ/นวดด้วยลูกประคบแก้ปัญหาโรคข้อเข่าเสื่อม     11. โครงการคัดกรองสุขภาพในผู้สูงอายุและตรวจสายตาในผู้สูงอายุ
    12. โครงการให้ความรู้ด้านโรคผิวหนัง
/10.4 การดำเนินการคัดเลือกตัวแทน... 10.4 การดำเนินการคัดเลือกตัวแทนภาคประชาชนในพื้นที่จำนวน 5 คน โดยจะหมดวาระ                ในวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยมติในเวทีประชาคมประชาชนในเลือกตัวแทนในพื้นที่ตำบลบางตาวา ประกอบด้วย 1.นางสาวนูรีซะห์ แวนาแว ผู้แทนหมู่บ้าน หมุ่ที่ 1 กรรมการ 2.นางสาวมารีย๊ะ เฮ็งปิยา ผู้แทนหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 กรรมการ 3.นางสาวศันสนีย์ เจ๊ะหมิ่น ผู้แทนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 กรรมการ 4.นางสาวเจะมีเนาะ เจะมะ ผู้แทนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 กรรมการ 5.นางซาปูเร๊าะ ดือราแม ผู้แทนหมู่บ้าน หมู่ที่ 2 กรรมการ 11. ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 11.1 การบรรลุตามวัตถุประสงค์ • บรรลุตามวัตถุประสงค์ • ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์  เพราะ...................................................................................... ............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ 11.2 จำนวนผู้เข้าร่วมใน แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ..........................100............................ คน 12. การเบิกจ่ายงบประมาณ งบประมาณที่ได้รับการอนุมัติ ......12,050......... บาท งบประมาณเบิกจ่ายจริง ...............12,050....................... บาท คิดเป็นร้อยละ .......100........ งบประมาณเหลือส่งคืนกองทุน..............-................บาท คิดเป็นร้อยละ ............-............... 13. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงาน • ไม่มี • มี ปัญหา/อุปสรรค (ระบุ) ………………………………………………………………………………..
แนวทางการแก้ไข (ระบุ) ………………………………………………………………………………

                                                        ลงชื่อ .............................................. ผู้รายงาน
        (นางสาวยารอนะ  เปาะจิ) ตำแหน่ง เลขานุการกองทุนสปสช.อบต.บางตาวา     วันที่        เดือน กันยายน  พ.ศ. 2565