กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง ปี 2561 จังหวัดสตูล

ลงพื้นที่กองทุนฯ อบต.ละงู ครั้งที่ 1 โดย นายลิขิต อังศุภานิช30 พฤศจิกายน 2560
30
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย likit angsupanit
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

  ให้ความรู้แก่คณะุกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เจ้าหน้าดูแลกองทุนฯ ของ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละงู จำนวน 42 คน มีกิจกรรมดังนี้ 1.ชี้แจงนโยบาย ทิศทาง แนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯ ปีงบประมาณ 2561 2.อธิบายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ พ.ศ. 2557 3.อธิบายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนฯ พ.ศ. 2557 4.การจัดทำแผนงาน/โครงการ กิจกรรม 5 เรื่อง คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหารและโภชนาการ กิจกรรมทางกาย 6.บอกวิธีการเข้าถึง/การใช้โปรแกรมของ สปสช. 7.บอกวิธีการค้นหาระเบียบ แบบฟอร์ม คู่มือ เอกสาร ที่ใช้ประกอบการทำงานกองทุนฯ 8.เปิดให้ผู้เข้ารับฟังได้ซักถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

          ให้ความรู้แก่คณะุกรรมการบริหารกองทุนฯ คณะอนุกรรมการชุดต่างๆ เจ้าหน้าดูแลกองทุนฯ ของ กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.ละงู จำนวน 42 คน มีกิจกรรมดังนี้ 1.ชี้แจงนโยบาย ทิศทาง แนวทางการดำเนินงานกองทุนสุขภาพฯ ปีงบประมาณ 2561 2.อธิบายประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพเรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้ อปท.ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนฯ พ.ศ. 2557 3.อธิบายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนฯ พ.ศ. 2557 4.การจัดทำแผนงาน/โครงการ กิจกรรม 5 เรื่อง คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหารและโภชนาการ กิจกรรมทางกาย 6.บอกวิธีการเข้าถึง/การใช้โปรแกรมของ สปสช. 7.บอกวิธีการค้นหาระเบียบ แบบฟอร์ม คู่มือ เอกสาร ที่ใช้ประกอบการทำงานกองทุนฯ 8.เปิดให้ผู้เข้ารับฟังได้ซักถาม           การประเมินผลเบื้องต้น
1. คณะกรรมการบริหารฯ คณะอนุกรรมการ ยังขาดความรู้ ความเข้าใจในระเบียบการปฏิบัติงาน ทำให้การพิจารณาแผนงาน/โครงการ ของกองทุนฯ ดำเนินไปไม่ได้ตามวัตถุประสงค์กองทุนฯเท่าที่ควร 2. ผู้ปฏิบัติงานของกองทุนฯยังขาดทักษะในการลงข้อมูลในโปรแกรมฯ 3. การปฏิบัติงานกองทุนฯผู้บริหารมอบหมายให้้กองสาธารณสุขฯ เป็นผู้ดำเนินงาน กำลังเจ้าหน้าที่กองสาธารณสุขมีน้อยและภาระงานล้น เป็นเหตุให้การดำเนินงานไม่ได้ตามเป้าหมายเท่าที่ควร           ผลผลิต/ผลลัพท์ 1. คณะกรรมการบริหารฯ และคณะอนุกรรมการ ได้รับการทบทวนความรู้และแนวทางปฏิบัติเพิ่มขึ้น สังเกตุจาการ ซักถาม การพูดคุยระหว่างกรรมการด้วยกัน มีทิศทางการดำเนินงานกองทุนไปในทางที่ดี 2. จนท.ผู้รับผิดชอบงานได้มีความสนใจและโทรศัพท์สอบถามบ่อยครั้ง ถึงแนวทางปฏิบัติงาน จนถึงวันนี่้ 14 ธันวาคม 2560
3. คณะอนุกรรมการหลายท่านในกองทุนได้โทรศัพท์สอบถามวิธีการเขียนแผนงาน/โครงการ กิจกรรม และการจัดการงบประมาณในโครงการอย่างต่อเนื่องเกือบทุกวัน           ข้อเสนอแนะ 1. พี่เลี้ยงกองทุนฯ คก.จาก สปสช. ควรฟื้นฟูความรู้ให้คณะกรรมการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 2. คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการฯ ควรมีคู่มือ แนวทางปฏิบัติให้คณะกรรมการทุกคน 3. ควรประชาสัมพันธ์ให้คณะกรรมการกองทุนฯ และคณะอนุกรรมการฯ สามารถเข้าถึงโปรแกรมกองทุนฯได้