กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการฝากครรภ์คุณภาพ เพื่อป้องกันภาวะซีด งบปี 2565

กิจกรรมการให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์1 กันยายน 2565
1
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย รพ.สต.หนองแรต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นดำำเนินการ 1 ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงหญิงตั้งครรภ์ทุกราย
2 ซักประวัติหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 3 เดือน แนะนำให้ทานกรดโฟลิกก่อน
3 เจาะเลือดในหญิงตั้งครรภ์ทุกรายที่มาฝากครรภ์ก่อนและหลังร่วมโครงการเจาะHct
4 ดำเนินการสอนตามแผนโรงเรียนการ สอน พ่อ-แม่ 2 ครั้ง  สอนครั้งที่ 1ตั้ งแต่อายุครรภ์ 12 สัปดาห์-28 สัปดาห์ สอนครั้งที่ 2 ตั้งแต่อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ขึ้นไป 5 ในรายที่ผลเลือด - HCT < กว่า 36 % ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด วันละ 2 ครั้ง พร้อมสมุดบันทึกการกินยาและอาหารแต่ละมื้อ โดยให้สามีหรือญาติเป็นผู้บันทึก - HCT < กว่า 33 % ให้ยาเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด วันละ 3 ครั้ง พร้อมสมุดบันทึกการกินยาและอาหารแต่ละมื้อ โดยให้สามีหรือญาติเป็นผู้บันทึก
6 อบรมให้ความรู้การดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจางพร้อมสาธิตเมนูอาหารเสริมธาตุเหล็กแก่กลุ่มหญิงมีครรภ์พร้อมสามี ทีม ANC เคลื่อนที่และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงาน :
ตาราง 1 สรุปผล การฝากครรภ์ที่มีคุณภาพ ควรฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่าตั้งครรภ์หรือฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์จาก สถานการณ์การฝากครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ จากกลุ่มเป้าหมายหญิงตั้ง 50 ราย  ร้อยละ  96 บ่งบอกว่า หญิงตั้งครรภ์มีความตระหนัก ใส่ใจที่จะมารับบริการฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ขณะตั้งครรภ์ ตารางที่ 2 พบว่าพฤติกรรมด้านการรับรู้ต่อภาวะโลหิตจางและด้านการปฏิบัติตัวในการรับประทาน
อาหารและยาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางของหญิงตั้งครรภที่ได้จากแบบสอบถามและพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้จากแบบสังเกตก่อนการให้บริการต่อเนื่องถึงช่วงเวลาที่ได้รับบริการมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและค่อนข้างจะคงที่ในไตรมาสที่3 ตารางที่ 3  พบว่าผลการเจาะ เลือดของหญิงตั้งครรภ์ก่อนการใช้ระบบการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กในหญิง  ตั้งครรภ์ เมื่อเปรียบเทียบกับหลังการเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังภาวะโลหิตจางจากขาดธาตุเหล็กในหญิงตั้งครรภ์ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหลังจากฝากครรภ์ 1 สัปดาห์และหลังจากเจาะเลือดครั้งที่ 2 (อายุครรภ์ 31-32 สัปดาห์)  จากแบบสอบถาม หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมด้านการรับรู้ต่อภาวะโลหิตจางการปฏิบัติตัว ในการรับประทานอาหาร
และยาเพื่อแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจางจากแบบสังเกตพฤติกรรมของหญิงตั้งครรภ์ การสนใจ ซักถาม ความเข้าใจในการ ความเข้าใจในการรับประทานอาหาร การรับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก การสนับสนุนจากครอบครัวที่ก่อนการ ให้บริการ ต่อเนื่องถึงช่วงเวลาที่ได้รับบริการในคลินิกฝากครรภ์ และจากการสังเกตพฤติกรรมในเยี่ยมบ้านของอสม.