กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ดำเนินการตามระบบส่งต่อเพื่อยืนยันผลการตรวจคัดกรองเบื้องต้นและรับการรักษาในกรณีที่พบผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผลลัพท์: ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรค เบาหวาน จำนวน 380 คน คิดเป็น 95 %ของประชาชกรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 114 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 123 คน กลุ่มสงสัยปวยโรคความดันโรคหิตสูง 73 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 9 คน ผู้ป่วยรายใหม่เบาหวาน 1 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 คน ซึ่งจำนวนผู้ปาวยเบาหวานลดลงจากปี 2565 จาก 7 คน >>>> 1 คน งบประมาณ - ค่าอาหารเครื่องดื่มและอาหารว่าง มื้อละ 25 บาท จำนวน 400 คน เป็นเงิน 10,000 บาท - ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 1 เครื่อง ราคา 5,000 บาท งบประมาณที่เบิกใช้จริงเป็นเงิน 15,000 บาท คิดเป็น 100 %

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

หลายคนอาจไม่คาดคิดว่าพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเราอย่างไม่ระมัดระวัง เมื่อสะสมนานวันเข้าส่งผลต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังแบบไม่รู้ตัวได้ มาทำความรู้จักกันว่าโรคอะไรบ้างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกชื่อภาษาอังกฤษสั้น ๆว่า โรค NCDs เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการ ติดเชื้อโรค และไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสหรือการหายใจแต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมของเรากลุ่มโรค NCDs นี้ ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ โรค NCDs เป็นโรคที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ด้วยการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน จนเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่จะสามารถจัดการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพได้ด้วยตนเอง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) จัดเป็นความรู้ความสามารถของบุคคลในการที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางด้านสุขภาพ เสาะแสวงหา สืบค้นและทำความเข้าใจ แปลความหมายข้อมูลสุขภาพที่ได้รับหรือเข้าถึงได้ จนเกิดแรงจูงใจในการตัดสินใจเลือกและใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไม่ติดต่อได้นั้น หากประชาชนกลุ่มนี้ไม่ได้รับการจัดการพฤติกรรมสุขภาพจะส่งผลให้ประชากรกลุ่มมีโรคเรื้อรังตามมา คณะทำงานจึงมีมติร่วมกันว่าควรจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง ปี 256๖ เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการกับการออกกำลังกาย และอารมณ์ ในกลุ่มเสี่ยง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความตระหนักถึงความสำคัญ การส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ในการดูแลสุขภาพ และทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโหล๊ะบ้า มีสุขภาพดี ลดอัตราการป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีวัตุประสงค์ เพื่อคัดกรอง และกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ มีความตระหนักและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงได้           วิธีการดำเนินงาน คัดกรองความดัน เจาะเลือดคัดกรองระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ตรวจวัด ค่า BMI ภาวะซึมเศร้า ประชาชนในหมู่ 4 บ้านโหล๊ะบ้า ที่มีอายุ 35 ขึ้นไปและกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง รายละเอียดกิจกรรม สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบ โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใน รพ.สต.โหล๊ะบ้าร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางที่ประชุมในหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ จัดอบรมให้ความรู้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย พร้อมให้บริการตรวจคัดกรองภาวะความดันโลหิตสูงและตรวจเบาหวานโดยการเจาะเลือด พร้อมแปรผลการตรวจเลือด และรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรค รายละเอียดกิจกรรมรับสมัครสมาชิกที่มีรอบเอว BMI เกินหรือประชาชนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่สนใจเข้าร่วมโครงการประเมินความรู้ ซักประวัติ ประเมินภาวะสุขภาพ กำหนดเป้าหมายในการเข้าร่วมโครงการ โดยรอบเอวน้ำหนักและค่า BMI ต้องลดลงร้อยละ 10ของก่อนเข้าร่วมโครงการ โดยบันทึกข้อมูลลงในสมุดปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประจำตัวของผู้เข้าร่วม ดำเนินงานตามแผนงานโครงการเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ตามโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดยใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง จำนวน 50 คน         ผลการดำเนินกิจกรรม ประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง และโรค เบาหวาน จำนวน 380 คน คิดเป็น 95 %ของประชาชกรกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400 คน แบ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 114 คน กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 123 คน กลุ่มสงสัยปวยโรคความดันโรคหิตสูง 73 คน กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน 9 คน ผู้ป่วยรายใหม่เบาหวาน 1 คน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 คน ซึ่งจำนวนผู้ปาวยเบาหวานลดลงจากปี 2565 จาก 7 คน 1 คน และจากการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 114 คน กลุ่มเสี่ยงเบาหวานจำนวน 123 คน ได้รับสมัครเข้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 50 คน จากการประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ ไม่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานรายใหม่ คิด เป็น 100 %

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh