กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษมาใช้ในชีวิตประจำวัน 24 ส.ค. 2566 24 ส.ค. 2566

 

เด็กปฐมวัย ถือเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต แต่ในปัจจุบันเด็กปฐมวัยไม่ค่อยชอบทานผัก หรือถ้าหากได้ทานผัก ผักส่วนใหญ่ผู้ปกครองจะซื้อมาจากตลาด ทำให้เด็กอยู่ในภาวะความเสี่ยงทางด้านสุขภาพอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากเด็กต้องบริโภคอาหารผัก ที่ไม่ปลอดภัยไม่ปลอดสารพิษ ทำให้มีการสะสมสารพิษภายในร่างกายเป็นระยะเวลานาน อาจก่อให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยและการเกิดโรคชนิดต่างๆ ได้แนะแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพต้องให้กระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลายที่กระตุ้นให้เด็ก และผู้ปกครอง ได้เห็นคุณค่าและความสำคัญของการดูแลสุขภาพที่สามารถปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน การส่งเสริมกิจกรรมทางสุขภาพที่มีความหลากหลายวิธีควบคู่กันไป จะช่วยสร้างโอกาสให้สุขภาพเด็กไทยได้รับการคุ้มครองอย่างปลอดภัย เด็กปฐมวันในช่วง อายุตั้งแต่ 3-5 ปี ซึ่งเป็นวัยที่ไม่ชอบรับประทานผักและการที่เด็กไม่ชอบกินผักถือเป็นปัญหาที่แก้ยากสำหรับเด็กวัยนี้ ดังนั้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบาโด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมหนูน้อยรักสุขภาพกินผักปลอดสารพิษ เป็นการใช้วิธีการปลูกฝังนิสัยรักการกินผัก โดยเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการปลูก ให้เด็กได้มีส่วนร่วมลงมือปฏิบัติจริง แล้วนำผักเด็กปลูกเองมาทำอาหารให้เด็กรับประทานร่วมกันและก็มีส่วนร่วมในการปรุงอาหารด้วย จะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในผลงานของตนเอง และส่งผลให้เด็กมีความรักการกินมากยิ่งขึ้น เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาทำเป็นอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้รับประทานทุกวัน ทำให้นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารผิด เพื่อสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ตลอดมีสุขอนามัยที่ดีทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา

 

  1. นักเรียนชอบที่จะรับประทานผักมากขึ้น ทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง
  2. นักเรียนมีสุขภาวะโภชนาการน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณ์มาตรฐาน
  3. นักเรียนได้รับประทานผักที่ปลอดสารพิษ