กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการชุมชนร่วมใจห่วงใยสิ่งแวดล้อม หมู่ที่ 1 บ้านท่าอ้อย ประจำปีงบประมาณ 2566

- อบรมให้ความรู้เรื่องของการคัดเเยกขยะโดยใช้หลัก 3 rs คือการใช้น้อยใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่1 ตุลาคม 2565
1
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งหว้า
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด)
  ระยะเตรียมการ 1. กำหนดโครงการ ประชุมทีมงานเพื่อวางแผนกิจกรรมในการดำเนินโครงการ 2. ดำเนินการเขียนโครงการ 3. นำเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ 4. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ
ระยะดำเนินการ 1. ค้นหากลุ่มเป้าหมาย  ประชาชนในหมู่บ้าน 2. ประชาสัมพันธ์โครงการให้ทราบในหมู่บ้านโดยอาสาสมัครสาธารณสุข 3. ติดต่อวิทยากร 4. อบรมให้ความรู้เรื่องประเภทของขยะ 5. อบรมให้ความรู้การคัดแยกขยะตามประเภท 6. สาธิตการคัดแยกขยะเปียกครัวเรือนด้วยวิธืการทำถังขยะเปียกแบบฝังดิน ระยะประเมินผล 1. สรุปและประเมินผลโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้เกี่ยวกับขยะต่างๆสามารถคัดแยกขยะแต่ละประเภทได้  การแยกขยะให้มีประสิทธิภาพควรเริ่มจากต้นทาง  คือที่บ้านก่อน  สาเหตุที่ต้องคัดแยกขยะ  ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม  ช่วยลดปริมาณขยะลง  เพิ่มรายได้เล็กๆน้อยๆ  และประหยัดงบประมาณ  รู้ขั้นตอนและวิธีการกำจัดขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกในครัวเรือนได้  คือ  เตรียมภาชนะที่มีฝาปิด  นำมาเจาะรูหรือตัดก้น  ขุดหลุมขนาดลึก  2  ใน  3  ส่วนของความสูงภาชนะจากนั้นนำภาชนะใส่ลงในหลุมที่ขุดไว้  นำเศษอาหาร  เศษผัก  ผลไม้  ใบไม้  มาทิ้งในถังที่ฝังไว้  และปิดภาชนะให้มิดชิด เมื่อทิ้งเศษอาหารจนเต็มภาชนะแล้วให้เอาดินกลบแล้วย้ายถังไปทำตามขั้นตอนที่จุดอื่นต่อไป  วิธีนี้ทำให้ลดปริมาณขยะในครัวเรือน  รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนได้