กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการส่งเสริมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพด้วยการเล่นกีฬาฟุตบอล ปี 2566 ได้จัดทำขึ้นในกลุ่มสมาชิกชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 36 คน โดยได้ทำกิจกรรมดังนี้ 1. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการก่อนเข้าร่วมกิจกรรม (วัดความดัน, อัตราการเต้นของหัวใจ,ปัญหาสุขภาพ) เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2566 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสตูล 2.จัดให้มีการออกกำลังกายต่อเนื่องทุกวัน จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ เวลา 17.00 น - 19.00 น. โดยเริ่มกิจกรรมตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 -30 กันยายน 2566 ณ สนามกีฬากลางจังหวัดสตูล 3.ตรวจสุขภาพเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการหลังสิ้นสุดโครงการ 4.ประเมินผล นับจำนวนสถิติการมาเข้าร่วมออกกำลังกายของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละวัน ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมออกกำลังกายมีการออกกำลังกายทุกวันหรืออย่างน้อย 3 วัน / สัปดาห์ จากผลการดำเนินโครงการสมาชิกชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด ที่เข้าร่วมโครงการมีความตระหนักถึงการออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้ง และสามารถค้นหากลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง และให้กลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน และสามารถควบคุมการบริโภคอาหาร และออกกำลังกาย โดยลดการใช้ยาให้น้อยที่สุด โดยพบว่ามีสมาชิกชมรมฟุตบอล VIP คลองขุด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังทั้งหมด 18 คน ค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน จำนวน 12 คน หลังจากเสร็จสิ้นโครงการกลุ่มเป้าหมายที่มาร่วมกิจกรรมตามกำหนด มี 36 คน กลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง มีสุขภาพร่างกายดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด และความดันโลหิตลดลง ส่วนสมาชิกที่มีค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานหลังจากเข้าร่วมโครงการมีค่าดัชนีมวลกายลดลง สมาชิกชมรมฟุตบอล VIP คลองขุดมีทั้งกลุ่มวัยผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ซึ่งสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายในชมรมได้รับจากการร่วมกิจกรรมในกลุ่มวัยผู้ใหญ่นอกจากช่วยป้องกันความเสี่ยงของโรคกลุ่ม NCDs (ความดันโลหิต เบาหวาน หลอดเลือดหัวใจ) ยังเสริมสร้างสมรรถนะในการทำงาน และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและมีรูปร่างที่สวยงาม ส่วนกลุ่มผู้สูงอายุ ช่วยความสมดุลและป้องกันการหกล้ม เพิ่มความคล่องแคล่วและเสริมทักษะในการดูแลตนเอง และได้มีการติดตามและประเมินผล ทำการติดตามกำกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและผลลัพธ์ต่อสุขภาพ และติดตามอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเรื้อรัง หลังจากผ่านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน ถ้ายังมีภาวะเสี่ยงแนะนำให้เข้ารับการตรวจที่หน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่
ตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)
54.00 60.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30 36
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 30
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ตรวจสุขภาพเบื้องต้นผู้เข้าร่วมโครงการ (2) จัดให้มีการออกกำลังกายโดยการเล่นฟุตบอลต่อเนื่องทุกวัน (3) สรุปผลการดำเนินโครงการและตรวจสุขภาพหลังจากเสร็จสิ้นโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh