กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความตื่นรู้เกี่ยวกับการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอย่างสมเหตุผลแก่คนในชุมชน โดยผ่านเครือข่าย อสม.และแกนนำชุมชน มี อสม.ชุมชนนอกค่ายที่เข้าร่วมโครงการมีทั้งสิ้น 25 คน กรรมการชุมชน 5 คน รวม 30 คน โดยในกิจกรรมแรกได้มีการประชุมเตรียมความพร้อมของทีมเรียนรู้หลักการใช้ยาสมเหตุผล เน้นปัญหาจากการใช้ยาที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคเรื้อรังและวิธีการจัดการเมื่อพบปัญหา รวมถึงการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เหมาะสมกับโรค ซึ่งกิจกรรมนี้จะนำไปสุ่การค้นหา ติดตามการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังในชุมชนนอกค่าย จำนวน 70 ครัวเรือน โดยเครือข่าย อสม. ผลการสำรวจเป้นดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เยี่ยม จำนวน 70 คน แบ่งเป้น เพศชาย 24 รายเพศหญิง 46 ราย 2. สถานภาพของผู้ป่วย แบ่งเป็น พิการ 4 ราย , ดูแลตนเองได้ 67 ราย , ดูแลตนเองไม่ได้ 3 ราย , มีผู้ดูแล 18 , อ่านหนังสือได้ 4 , อ่านฉลากยาไม่ได้ 5 , สูบบุหรี่ 3 , เคยสูบบุหรี่ 5 3. โรคประจำตัวผู้ป่วยที่พบ ได้แก่ เบาหวาน 21 ,ความดัน 42 ,โรคหัวใจและหลอดเลือด 5 ,ไขมันในเลือดสูง 6 , อัมพาต/อัมพฤกษ์ 3 , ภูมิแพ้/หอบหืด 4 ,โรคอื่นๆ จิตเภท 1 4. การรับประทานยา ผู้ป่วยจัดยากินเอง 63 , ผู้อื่นจัดยาให้ 7 5. การเข้ารับการรักษาของผู้ป่วย ไปรับยาตามนัดทุกครั้ง 65 , ไม่เข้ารับการรักษา/ขาดนัด 5 ุ6. ความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย พบว่า กินยาถูกต้อง 67 , กินยาไม่ถูกต้อง 3 , S/E 1 ไม่พบการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น นอกจากการใช้ยาที่ได้รับ ยังพบปัญหาความเชื่อ ความเข้าใจในการใช้ยาของผู้ป่วยยังไม่ถุกต้อง เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการกินยาทำให้เกิดโรคไต เป็นต้น จึงต้องอาศัยการให้ความรู้โดยเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง
ผลจากการจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับ RDU ในชุมชน พบว่า ผู้ป่วย NCD ในชุมชนนอกค่าย รวมถึงผู้ดูแลมีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
โอกาสพัฒนาสำหรับกิจกรรมนี้ คือ การให้ความรู้แบ่งเป้นรายกลุ่มและประเมินความเข้าใจของผุ้ป่วยหลังเข้าร่วมกิจกรรม อาจทำให้มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้ยา เพื่อวางแผนพัฒนาต่อเนื่อง

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ลดลง
0.00 20.00 0.00

 

2 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง ลดลง
0.00 35.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 0
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 0

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน (2) เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เตรียมความพร้อมทีมงานเพื่อดำเนินงานส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุผลในชุมชน (2) สำรวจสถานการณ์ปัญหาการใช้ยาในชุมชน (3) สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ RDU แก่คนในชุมชน (4) ติดตามประเมินผล

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh