กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวผ่อดีดี (PODD)
ตัวชี้วัด :
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 200 200
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] 200 200

บทคัดย่อ*

ปัจจุบันการเกิดโรคต่างๆ มีความรุนแรงและระบาดอย่างกว้างขวางถึงขั้นคร่าชีวิตมนุษย์อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคอุบัติใหม่เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ติดต่อสู่คน เช่น โรคอีโบลา โรคไข้หวัดนก โรคไข้เลือดออก โรคซาร์
โรคพิษสุนัขบ้า โรคโควิด-19 เป็นต้น ในกระบวนการเฝ้าระวังทั้งโรคในคนและโรคในสัตว์ของประเทศไทยได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคยังเป็นระบบการทำงานของภาครัฐเป็นส่วนใหญ่โดยเฉพาะหน่วยงานกระทรวงสาธารณสุขและกรมปศุสัตว์ ซึ่งอาจมีข้อจำกัดด้านโครงสร้างและงบประมาณที่ขับเคลื่อนด้วยราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญในการเฝ้าติดตามเพื่อป้องกันและควบคุมการเกิดโรคระบาดที่มีความสำคัญกับสุขภาพคนในชุมชน ยังไม่มีระบบใดที่ส่งเสริมให้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังโรคในพื้นที่ของตนเอง ระบบการเฝ้าระวังโรคจากสัตว์สู่คนและโรคสัตว์อยู่ภายใต้การทำงานของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว นอกจากนี้ด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหาร เช่น อาหารเสีย บูด เน่า อาหารปนเปื้อนสารเคมี อาหารเป็นพิษ ตลอดจนผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมไปถึงด้านการส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งภาคประชาชนยังไม่มีส่วนร่วมในการรายงานปัญหาอย่างแท้จริง ในยุค Thailand 4.0 เทคโนโลยีดิจิตอลมีบทบาทกับประชาชนทุกกลุ่มวัยค่อนข้างมาก ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการติดต่อสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟนระบบ WiFi ที่ประชาชนใช้กันอย่างกว้างขวาง เพื่อการติดต่อสื่อสารและเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยความรวดเร็วฉับไวทันต่อสถานการณ์ จึงเป็นหนึ่งแนวคิดที่ทำให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐ สถาบันการศึกษา ประชาชนและภาคเอกชน โดยคณะสัตวแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้จัดทำและพัฒนาระบบและโปรแกรมผ่อดีดี (PODD) เพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่ติดต่อถึงคน เพื่อสร้างระบบกลไกความร่วมมือในการบูรณาการการแจ้งเหตุสงสัยการเกิดภัยด้านสาธารณสุข ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชนหมู่บ้านและตำบลให้รวดเร็วทันเหตุการณ์ เพื่อรับมือป้องกัน ควบคุมและบรรเทาปัญหาโรคระบาดในคน สัตว์สาธารณะภัยและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับดิน น้ำ ป่า ด้วยการใช้ระบบและโปรแกรมผ่อดีดี (PODD) ที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือจากหลายภาคส่วนโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่เป็นหน่วยงานใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุดและมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ ให้กับประชาชนตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นระบบเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ภัยสุขภาพ งานกู้ชีพฉุกเฉิน งานด้านความมั่นคงการป้องกันยาเสพติด งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและภารกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนตำบลบกเห็นถึงประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีดิจิตอล ระบบและโปรแกรมผ่อดีดี (PODD) มาประยุกต์ใช้ในชุมชนต่างๆ ทั้ง 17 ชุมชนภายในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบกเพื่อการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาดสัตว์ที่ติดต่อถึงคน ผลกระทบด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ด้านการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รวมไปถึงด้านการส่งเสริมสุขภาพและให้การดูแลช่วยเหลือกลุ่มผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ โดยความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่เป็นอาสาสมัครผ่อดีดี รายงานข้อมูลเหตุต่างๆ ด้วยระบบและโปรแกรมผ่อดีดี (PODD) และเก็บรวบรวมวิเคราะห์ส่งผ่านข้อมูลระหว่างชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดหรือการเกิดเหตุได้ทันที สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีเป้าประสงค์สำคัญคือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีถือเป็นโอกาสอันดีที่เทศบาลนครสุราษฎร์ธานีจะได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการดังกล่าวและจะเป็นผู้นำในการเข้าร่วมพัฒนาระบบและโปรแกรมผ่อดีๆ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและเป็นแบบอย่างแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh