กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสนับสนุนกองทุนสุขภาพตำบลโดยพี่เลี้ยง จังหวัดปัตตานี ปี 2560

พี่เลี้ยงลงพื้นที่เยี่ยมติดตามกองทุนสุขภาพตำบลในเขตอำเภอหนองจิก 13 แห่ง คืออบต.เกาะเปาะ, คอลอตันหยง, ดอนรัก, ยาบี, ดาโต๊ะ, ตุยง, ท่ากำชำ, ทต.บ่อทอง, บางเขา, บางตาวา, ปุโละปุโย, ลิปะสะโง, ทต,หนองจิก โดยพี่เลี้ยงนายมะรอกี เวาะเล็ง กับนายแวฮาซัน โตะฮิเล9 พฤษภาคม 2560
9
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย รอมซี สาและ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีเจ้าหน้าที่กองทุนเข้าร่วมประชุมแห่งละ 2 คน ได้แก่ เกาะเปาะ,คอลอตันหยง,ดอนรัก,ดาโต๊ะ,ตุยง,ท่ากำชำ,เทศบาลตำบลบ่อทอง,บางเขา,บางตาวา,ปุโละปุโย,ยาบี,ลิปะสะโง,เทศบาลตำบลหนองจิก, และมีพี่เลี้ยงเข้าร่วมจำนวน 5 คน ได้แก่ นายมะรอกีเวาะเล็ง, นายอัลดุลกอเดร์การีนา, นางประภัสสรขวัญกะโผะ, นายแวฮาซัน โตะฮิเล และนายรอมซีสาและ พูดคุย 2 section คือพี่เลี้ยงบรรยาย และกองทุนนำเสนอตัวเอง พี่เลี้ยงบรรยายในประเด็น 1.การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อ๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงาน และบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารกองทุน 2.สถานการณ์เงินคงเหลือจังหวัดปัตตานี ปี 60และอำเภอหนองจิกโจทย์สำคัญ 2.1ทุกกองทุนสุขภาพตำบลมีแผนการใช้เงินของตนเอง 2.2ทุกหน่วยงานต้องเข้ามาใช้เงินจากกองทุน เช่น โรงพยาบาลชุมชน, รพ.สต., กลุ่มองค์กรชุมชน, ศูนย์ต่างๆ
เป้าหมาย: แผนการใช้เงินดำเนินโครงการให้เงินคงเหลือไม่เกิน 10% (ไม่เกิน 10 ล้านบาท) 3. สิ่งที่เปลี่ยนหลักๆจากเดิม เริ่มตั้งแต่ ปีงบ 60 ได้แก่ 3.1โปรแกรมกองทุนสุขภาพตำบลเดิม http://obt.nhso.go.th ใช้ทั้งประเทศ ปัจจุบัน http://www.localfund.happynetwork.orgค้นจากเว็บ www.google.co.th พิมพ์คำว่า “กองทุนสุขภาพตำบลภาคใต้” ใช้เฉพาะสปสช.เขต 12 สงขลา 7 จังหวัด(สงขลา,ตรัง,พัทลุง,สตูล,ปัตตานี,ยะลา,นราธิวาส)3.2ใช้กลไกพี่เลี้ยงกองทุน(Coaching)ระดับจังหวัด ปัตตานี 18 คน สปสช.เขต 12 สงขลาแต่งตั้ง (กองทุน 1 แห่ง/พี่เลี้ยง 1 คน) พี่เลี้ยง 1 คน/รับผิดชอบกองทุน 3-9 แห่ง 3.3พี่เลี้ยงกองทุน(Coaching)ระดับจังหวัด ทำหน้าที่ทำงานร่วมกับกรรมการกองทุนฯ 3.3.1จัดทำแผนงานกองทุน 3-5 ปี
3.3.2พัฒนา ปรับปรุง คุณภาพโครงการกองทุนฯให้การสนับสนุน 3.3.3ติดตาม ประเมินผลโดยใช้โปรแกรมผ่านเว็บไซต์ งบประมาณ 1.ใช้งบบริหารกองทุน ข้อ7(4) ในการทำแผนและพัฒนาโครงการกองทุนฯละ 5,000 บาท (ค่าวิทยากร 600 บาท/ชม.ค่าเดินทางภายในจังหวัด) 2.การติดตาม ประเมินผล ใช้งบโครงการแต่ละโครงการ เช่น งบวิทยากร
เราจะช่วยกันดูในวันนี้คือ 1.การบันทึกข้อมูล 2.แผนงาน/โครงการ 3.การบริหารจัดการ เช่น การพิจารณาอนุมัติแผนงาน/โครงการ (ประชุมกี่ครั้งแล้ว) 4.การเบิกจ่ายเงิน เช่น การรับเงิน สปสช. เงินสมทบอปท. เงินโครงการต่างๆ 5 ลำดับการพิจารณาอนุมัติและบันทึกโครงการในโปรแกรม - เริ่มจาก 7(4), 7(5), 7(3), 7(1), 7(2)
ผลลัพธ์(Outcome)กองทุนมีการบันทึกข้อมูล ได้แก่ ข้อมูลการเงิน ข้อมูลโครงการ/กิจกรรม เป็นต้น เป็นปัจจุบัน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 26 คน
ประกอบด้วย