กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ (Health and Healthy Care)

กิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการ30 กันยายน 2561
30
กันยายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประเมินผลสำเร็จของโครงการ

  2. รายงานผลการดำเนินโครงการต่อกองทุน อบต.กำแพง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน1.นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะโภชนาการ
-การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเหมาะสมกับวัย

-ลดการรับประทานขนมขบเคี้ยวและน้ำอัดลม

-นักเรียนสามารถเลือกชนิดอาหารที่จะรับประทานได้เหมาะสมกับร่างกายตนเอง โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อร่างกาย ซึ่งการปฏิบัตินี้มีความสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ส่งผลให้น้ำหนักลดลง ร่างกายเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรง มีกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน

2.นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปาก

-ได้รู้จักวิธีการแปรงฟันที่ถูกต้อง

-การเลือกใช้อุปกรณ์การดูแลสุขภาพช่องปากให้เหมาะสมกับช่วงวัย

-นักเรียนแปรงฟันอย่างถูกวิธี ช่วยลดวามเสี่ยงต่อฟันผุ โรคเหงือก และปัญหาเกี่ยวกับฟันอื่นๆ เมื่อนักเรียนไม่มีปัญหาฟันผุ สุขภาพช่องปากนักเรียนก็จะดี

3.นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขวิทยา

-การดูแลสุขภาพกายตั้งแต่หัวจรดเท้า

-การรักษาความสะอาดของร่างกายในวัยเด็กให้เหมาะสมกับช่วงวัย

-ให้ครู และผู้ปกครองช่วยกันตรวจสอบสุขวิทยานักเรียนเบื้องต้นเป็นประจำ

-การทำความสะอาดร่างกายเป็นประจำ ช่วยลดการเกิดโรคผิวหนังให้กับนักเรียน ทำให้อวัยวะต่างๆ ของร่างกายทำงานอย่างปกติ และมีประสิทธิภาพ ทำให้ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ

4.นักเรียน ผู้ปกครอง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก

-ได้รู้จักวิธีการป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออก เช่น การทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย

-ได้รับความรู้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นของผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก

-ร่วมกับชุมชน กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงและลูกน้ำยุงลาย รอบบริเวณโรงเรียนและบริเวณบ้านอย่างต่อเนื่องทุกๆสัปดาห์ โดยการเปลี่ยนน้ำในโอ่งหรือน้ำในถัง คว่ำภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ชามเก่า กระป๋อง กะลา เพื่อป้องกันยุงลายวางไข่ นอกจากนี้ยังใส่ทรายอะเบทลงในถังน้ำเพื่อทำงายไข่ยุงอีกด้วย

5.การติดตามและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็ก

-ได้คัดเลือกนักเรียนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์เข้ารับการควบคุมการบริโภคอาหาร

-ได้จัดเมนูอาหารเพื่อสุขภาพให้กับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกิน

-ขอความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียนในการควบคุมการบริโภคอาหารในขณะอยู่ที่บ้าน

-นักเรียนสามารถเลือกชนิดอาหารที่จะรับประทานได้เหมาะสมกับร่างกายตนเอง โดยเลือกอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าต่อร่างกาย ซึ่งการปฏิบัตินี้มีความสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย ส่งผลให้น้ำหนักลดลง ร่างกายเจริญเติบโตเหมาะสมกับวัย มีสุขภาพแข็งแรง มีกำลังในการทำกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน

6.นักเรียนรู้วิธีการกำจัดเหา และมีสุขภาพกายที่เหมาะสม

-นักเรียนสามารถนำสมุนไพรในท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการกำจัดเหาได้

-นักเรียนสามารถดูแลรักษาสุขภาพผลของตนเองให้สะอาด เพื่อป้องกันการเป็นเหาซ้ำอีก

-โดยใช้ใบน้อยหน่ามาใช้ในการกำจัดเหา และตรวจผมของนักเรียนอย่างสม่ำเสมอ

7.นักเรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการด้วยรักและใส่ใจสุขภาพ ไปปรับเปรี่ยนพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต และสามารถแนะนำผู้อื่นในเรื่องการดูแลสุขภาพได้

-การดูแลสุขภาพ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ

ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

1.ร้อยละ 95 ของผู้ปกครองและนักเรียนมีวามรู้ เกี่ยวกับภาวะทุพโภชนาการ สุขภาพช่องปาก สุขวิทยา และป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้

2.ร้อยละ 100 นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการได้รับการเฝ้าระวังและติดตามทุพโภชนาการโดยแยกกลุ่มนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนเกินเกณฑ์ จำนวน 13 คน ให้รับประทานอาหารตามเมนูอาหารที่เหมาะสมกับภาวะโภชนาการของนักเรียน ให้ความรู้และประเมินการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูง ผลปรากฎว่านักเรียนมีน้ำหนักลดลง จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 46.15 มีน้ำหนักเท่าเดิม จำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 23.08 และน้ำหนักเพิ่มขึ้นจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 30.76

3.ร้อยละ 80 นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ปรากฎว่า นักเรียนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 61.54

4.ร้อยละ 80 ของนักเรียนมีสุขภาพฟันที่แข็งแรง

5.ร้อยละ 70 นักเรียนที่เป็นเหา นักเรียนเป็นเหาลดลงจำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00

6.อัตราป่วยของนักเรียนด้วยโรคไข้เลือกออกลดลง เนื่องจากช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชนกับโรงเรียน

7.ผลของการหาค่า HI และ CI ในหมู่บ้าน และโรงเรียนบ้านตูแตหรำ พบว่า ค่า HI เท่ากับ 6 และค่า CI เท่ากับ 3 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่ามาตรฐาน จึงทำให้ไม่เสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออก