กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการปฐมพยาบาลและการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับแกนนำด้านสุขภาพ ในเขตเทศบาลตำบลฉลุง

อบรมการให้ความรู้เรื่องการฟื้นคืนชีพ (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติ 4 สิงหาคม 2561
4
สิงหาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อบรมการให้ความรู้เรื่องการฟื้นคืนชีพ (CPR) พร้อมฝึกปฏิบัติ 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แกนนำด้านสุขภาพมีทักษะการฟื้นคืนชีพ (CPR) จากการประเมินทักษะการฟื้นคืนชีพ (CPR) พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) ผู้ป่วยที่หมดสติ โดยทุกคนสามารถฝึกปฏิบัติขั้นตอนการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR)คนหมดสติ คิดเป็น ร้อยละ 100 บรรลุวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 โดยมีเนื้อหาการอบรม ดังนี้ การช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) หรือ การกู้ชีวิต หรือการกู้ชีพ หมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกะทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง   วัตถุประสงค์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ 1. เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ เพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกายและเนื้อเยื่อ 2. ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ ป้องกันสมองตายโดยการทำให้โลหิตไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ 3. คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย คงไว้ซึ่งการไหลเวียนของโลหิตในขณะหัวใจหยุดเต้น เพื่อนำออกซิเจนไปสู่สมอง หัวใจและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 4. ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ดูแลผู้ป่วยให้กลับสู่สภาวะปกติ หลังจากที่หัวใจกลับเต้นใหม่แล้ว ซึ่งเมื่อเราพบคนหมดสติ สิ่งแรกที่ควรมี คือ สติ และสิ่งที่สำคัญ คือ ความปลอดภัยของผู้ให้การช่วยเหลือและผู้ที่ได้รับการช่วยเหลือแล้วจะประเมินสถานการณ์หรือประเมินสภาพผู้ป่วย การประเมินสภาพผู้ป่วยเจ็บเบื้องต้น ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัว โดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บและตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ
๓. ตรวจทางเดินหายใจ นำสิ่งแปลกปลอมและฟันปลอมออกจากปาก แล้วเปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง ของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้แหงนหน้าขึ้น ๔. ตรวจการหายใจ โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก และ ลมหายใจ ใช้หลักตาดู หูฟัง แก้มสัมผัส ๕. ตรวจหาการบาดเจ็บ โดยตรวจตั้งแต่ศีรษะ จรดปลายเท้า
ขั้นตอนการกู้ฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานในผู้ใหญ่ ๑. ตรวจระดับความรู้สึกตัวโดยการเรียกผู้ป่วยเจ็บ และตีที่ไหล่เบา ๆ
๒. ร้องขอความช่วยเหลือ และพลิกผู้ป่วยเจ็บให้นอนหงายราบบนพื้นเรียบแข็ง
๓. ถ้าผู้ป่วยเจ็บไม่ตอบสนอง ให้ช่วยการไหลเวียนโลหิตโดยการกดหน้าอก 30 ครั้ง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที กดลึก ๒ นิ้ว หรือ ๕ เซนติเมตร (ใช้มือข้างหนึ่งวางและใช้มืออีกข้างวางทับ แล้วใช้ส้นมือกดที่กึ่งกลางหน้าอก ) ๔. เปิดทางเดินหายใจ โดยใช้สันมือกดหน้าผาก ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งเชยคางให้หน้าแหงนขึ้น และช่วยหายใจ โดยการเป่าปาก ๒ ครั้ง ครั้งละ ๑ วินาที
๕. หลังจากนั้นให้กดหน้าอกสลับกับการเป่าปาก ด้วยอัตรา ๓๐ ต่อ ๒ (นับเป็น ๑ รอบ) ประเมินผลการกู้ชีพทุก ๕ รอบ (ใช้เวลา ๒ นาที)
ในกรณีที่มีผู้ปฏิบัติการกู้ชีพมาช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ควรสลับหน้าที่ของผู้ที่กดหน้าอก กับผู้ที่เป่าปากทุก ๒ นาที หรือทุก ๕ รอบ หมายเหตุ: ในกรณีไม่สามารถช่วยเป่าปากได้ สามารถใช้การกดหน้าอกอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราเร็วมากกว่า ๑๐๐ ครั้งต่อนาที