กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวช

กิจกรรมหลัก จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช และภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้ง ระบบ13 กรกฎาคม 2561
13
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนตำบลปันแต
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมหลัก จัดอบรมให้ความรู้แก่ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช และภาคีเครือข่ายในเรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวชทั้งระบบ
งบประมาณ  3,030  บาท  รายการที่ใช้จ่าย 1. ค่าถ่ายเอกสารหนังสือเชิญเข้าร่วมอบรม  จำนวน 60 แผ่น  x 0.50  บาท
เป็นเงิน  30 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้จัดอบรมจำนวน 60 คน x 25 บาท  x 1  มื้อ  เป็นเงิน 1,500 บาท 3. ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1 เมตรx 3เมตร จำนวน 1 ป้าย x
600 บาท เป็นเงิน  600 บาท 4. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมง  x 300  บาท  เป็นเงิน  900  บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม     -จัดอบรม ให้ความรู้เรื่องแนวทางการรักษาและทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน และแนวทางการคัดกรอง/ประเมินภาวะสุขภาพจิตของผู้ป่วยจิตเวช/ซึมเศร้า จากการทดสอบความรู้ของผู้ป่วย/ญาติ/ผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวช/อสม. เรื่องทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน
  2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง   1. จัดตั้งเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนต้นแบบ เพื่อสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงใน ชุมชนโดยให้ความรู้เรื่องการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง การใช้แบบประเมินโรคทางจิตเวช การช่วยเหลือเบื้องต้น และการส่งต่อผู้ป่วย
      2. เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโดยใช้แบบคัดกรองฯ ทั้งในสถานบริการและในชุมชน โดยประสานเครือข่ายใน ชุมชนช่วยส่งต่อผู้ป่วย     3. ให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยโรคจิตเวช และครอบครัวเพื่อลดอัตราการขาดนัด ขาดยา และอาการกำเริบ หลังขาดยา     4. ติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับเครือข่ายในชุมชน เพื่อให้คำแนะนำแก่ครอบครัว หรือผู้ดูแลและประเมินผลการดูแลรักษาโดยใช้แบบคัดกรองฯ ประเมินผู้ป่วย ร่วมด้วย
      5. ประสานการส่งต่อผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคทางจิตเวชหรือผู้ป่วยเก่า อาการกำเริบ ไปยังเครือข่าย ระดับอำเภอ/จังหวัดเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว
      6. จัดทำทะเบียนการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวช และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะทางจิตเวช
      7. จัดกิจกรรมให้ความรู้ด้านสุขภาพจิต การส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในสถานบริการและ ในชุมชน ทุกกลุ่มอายุ กลุ่มที่เผชิญภาวะวิกฤติ และกลุ่มเสี่ยง 3.ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรมก่อนและหลัง   -ผู้เข้าร่วมอบรมก่อนอบรม มีความรู้ร้อยละ 79.23 หลังอบรม มีความรู้ร้อยละ 92.71