กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่แกนนำสุขภาพในชุมชน  เพื่อร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  ซึ่งมีแกนนำสุขภาพในชุมชนเข้ารับการอบรม  จำนวน  100  คน  เมื่อวันที่  22  ธันวาคม  2559 ณ อาคารคอซิมบี๊  เทศบาลเมืองกันตัง  ฝึกปฏิบัติโดยจัดเป็นฐานให้ความรู้ 5 ฐานพร้อมทำแบบประเมินการเข้าฐาน ดังนี้ ฐานที่  1  การวัดความดันโลหิตที่ถูกวิธีและการแปลผลด้วยนวัตกรรม ฐานที่  2  การเจาะหาน้ำตาลในเลือดจากปลายนิ้วและการแปลผลด้วยนวัตกรรม ฐานที่  3  การวัดรอบเอว การคำนวณค่าดัชนีมวลกายและการแปลผล ฐานที่  4  การปรับพฤติกรรมลดความเสี่ยงต่อโรคด้วยอาหาร ฐานที่  5  การเรียนรู้การออกกำลังกายด้วยยางยืด
  2. มีการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม  ผลการทดสอบมีดังนี้ ประเมินความรู้ผู้เข้ารับการอบรม  ก่อนและหลังการอบรม  ซึ่งใช้แบบประเมินความรู้เรื่อง การวัดความดันโลหิต-การแปลผล,  การตรวจน้ำตาลในเลือด  (ปลายนิ้ว)-การแปลผล,  ดัชนีมวลกายและการวัดรอบเอว-การแปลผล (คำถามแบบกากถูกกากผิดหน้าข้อความ  จำนวน  10 ข้อๆ ละ 1 คะแนน  รวมคะแนนเต็ม  10 คะแนน)  สามารถสรุปผลการประเมินได้  ดังนี้
    • ก่อนการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน  92  ชุด  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10  คะแนน  จำนวน  4  คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  13  คน  8  คะแนน จำนวน 25 คน  7 คะแนน จำนวน 17 คน  6 คะแนน จำนวน 12 คน 5 คะแนนจำนวน 15 คน 4 คะแนน จำนวน 5 คน และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  3  คะแนน  จำนวน  1  คน  จะเห็นได้ว่าก่อนการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  8 คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  27.17  รองลงมาคือ  7  คะแนนและ 5  คะแนน  คิดเป็นร้อยละ  18.47  และ  16.30  ตามลำดับดังตาราง
    • หลังการอบรม  ซึ่งได้รับแบบประเมินคืน  จำนวน 90  ชุด  พบว่าผู้เข้าอบรมได้รับคะแนนสูงสุดอยู่ที่  10 คะแนน  จำนวน  8 คน  รองลงมาคือ  9  คะแนน  จำนวน  19  คน  8  คะแนน  จำนวน 28  คน  7  คะแนน  จำนวน  15  คน  6  คะแนน  จำนวน  14  คน  และคะแนนต่ำสุดอยู่ที่  5  คะแนน  จำนวน  6  คน  จะเห็นได้ว่าหลังการอบรมผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ได้รับคะแนน  8  คะแนนมากที่สุด  คิดเป็นร้อยละ  31.11  รองลงมาคือ  9  คะแนน และ 7 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 21.11 และ  16.66 ตามลำดับ
  3. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขร่วมกับแกนนำสุขภาพชุมชน ออกปฏิบัติงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปหมุนเวียนทั้ง 12 ชุมชนพร้อมคืนข้อมูลให้ประชาชนในชุมชน
  4. บันทึกข้อมูลการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงลงโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย  (HOSXp_PCU)  สรุปผลการดำเนินงานคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตั้งแต่เดือน 1 ตุลาคม 2559 – 31 สิงหาคม 2560
    ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง  ร้อยละ 74.42

- กลุ่มปกติ ร้อยละ 36.07 - กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 35.01 - กลุ่มสงสัย ร้อยละ 3.06 - กลุ่มป่วย ร้อยละ 25.86 ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน ร้อยละ 61.97 - กลุ่มปกติ ร้อยละ 75.75 - กลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 8.83 - กลุ่มสงสัย ร้อยละ 1.21 - กลุ่มป่วย ร้อยละ 14.21

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ตัวชี้วัด :

 

2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง
ตัวชี้วัด :

 

3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา
ตัวชี้วัด :

 

4 เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
ตัวชี้วัด :

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 4073
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน 4,073
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (2) เพื่อให้ประชาชนกลุ่มอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับความรู้ในการจัดการสุขภาพหรือการดูแลสุขภาพตนเอง (3) เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรค Metabolic ได้รับการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง และผู้ที่สงสัยจะป่วยหรือเป็นโรคได้รับการส่งต่อเพื่อรับการรักษา (4) เพื่อให้แกนนำสุขภาพในชุมชนมีความรู้และทักษะ สามารถร่วมดำเนินงานคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh