กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ผลการดำเนินงาน โครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ในตำบลแป-ระ โดยกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้ดำเนินการจัด อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อนำโดยแมลงและรณรงค์ สำรวจ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายพร้อมกันทุกหมู่บ้าน โดยมีประชาชนจากทั้ง 7 หมู่บ้านและทุกภาคส่วน ในตำบลแป-ระ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 331 คน ภายใต้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1.1 การป้องกันโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นภาหะนำโรค 1.1.1 ทุกภาคส่วนในตำบลแป-ระ มีการณรงค์ สำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายพร้อมกัน - จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะนำโรคแก่ประชาชนในพื้นที่ตำบลแป-ระ วันที่ 5 กันยายน 2562 เวลา 09.00 – 12.00 น. ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ มีผู้เข้ารับการอบรม จาก หมู่ที่ 1 – 7 จำนวน 331 คนโดยมีนายสมนึก อาดตันตรา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ และเจ้าหน้าที่ รพ.สต.แป-ระ เป็นวิทยากร
- รณรงค์ สำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลุกน้ำยุงลาย พร้อมกันทั้ง 7 หมู่บ้าน วันที่ 5 กันยายน 2562 เวลา 13.30 – 16.50 น. โดยมี ประชาชนทั้ง 7 หมู่บ้านเข้าร่วม จำนวน 331 คน เจ้าหน้าที่ องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จำนวน 18 คน ร่วมกิจกรรม - กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ร่วมกับ รพ.สต. อสม. และผู้นำชุมชน ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายบริเวณบ้านของตัวเองทุกอาทิตย์ 1.2 ควบคุมจำนวนผู้ป่วยไม่เกิน 99 คน หรือไม่เกิน 994.69 ต่อแสนประชากร
จากการที่กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้ทำกิจกรรมตามโครงการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ในตำบลแป-ระ ปีงบประมาณ 2562 ตลอดทั้งปีงบประมาณ พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสั้นสิ้น 60 ราย ซึ่ง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.33 และสูงกว่าปี 2560 32 รายและเมื่อเปรียบเทียบกับ ปี 2559 ที่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกสูงถึง 196 ราย ประกฎว่า ปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงจาก ปี 2559 134 ราย และใน ปี 2562 ยังพบผู้ป่วยชิคุนกุนย่า ซึ่งเป็นโรคติดต่อจากการนำโดยแมลง ในพื้นที่ตำบลแป-ระ จำนวน 33 ราย ซึ่ง ในปี 2561 พื้นที่ตำบลแป-ระ ไม่พบผู้ป่วยชิคุนกุนย่า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าอัตราการป่วยจะเพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา แต่จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อจากการนำโดยแมลงในพื้นที่ตำบลแป-ระ รวม 93 ราย ยังอยู่ในเกณฑ์ควบคุมไม่เกิน 99 ราย หรือ ไม่เกิน 994.69 ต่อแสนประชากร

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

ปัญหาไข้เลือดออกเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่มีความสำคัญทั้งในระดับประเทศและในระดับชุมชนมาช้านาน อีกทั้งเชื้อไข้เลือดออกที่มีหลายประเภทและมีความรุนแรงที่ต่างกันโดยจรวย สุวรรณบำรุงและคณะ (2554) ได้อธิบายว่าโรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue Hemorrhagic Fever) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะและเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขยากแก่การควบคุมให้ได้ผลสำเร็จ นอกจากนี้กันต์ธมน สุขกระจ่างและคณะ(2559) ยังได้อธิบายอีกว่าการป้องกันและควบคุมโรคที่ได้ผลดีที่สุด คือการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายและการป้องกันไม่ให้ยุงกัด อีกทั้งกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข(2556) ยังมีนวัตกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกโดยวิธีการกำจัดพาหะ การป้องกันประชาชนไม่ให้ถูกยุงกัดตลอดจนการสำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายเพื่อไม่ให้เกิดการขยายพันธ์เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลแป-ระ ได้ดำเนินงานควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแป-ระ โดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ภายใต้กิจกรรมวาระตำบล ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2560 เป็นต้นมา ทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลแป-ระ ลดลง เป็นอย่างมากประสบความสำเร็จ เชิง Outcome และ Output โดยพบว่าจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก ในปี พ.ศ. 2559 มีจำนวน 196 ราย ลดลงเหลือ 28 ราย ในปี พ.ศ. 2560 และมีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี 2561 พบผู้ป่วยจำนวน 52 ราย และในปี 2561 ยังพบผู้ป่วย ชิคุนกุนย่า ซึ่งเป็นโรคติดต่อโดยยุงเป็นพาหะ จำนวน 11 ราย

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh